การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนพิการเรียนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
Abstract
การวิจัย เรื่อง “การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนพิการเรียนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน” มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนพิการเรียนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนพิการเรียนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
2) เพื่อเสนอการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนพิการเรียนร่วมในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อประเมินระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนพิการเรียนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนพิการเรียนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนสถานศึกษาที่เป็นแกนนำในการจัดการเรียนร่วม จำนวน 63 โรงเรียน โดยการเลือกโรงเรียนเรียนร่วมแบบเจาะจง จำนวน 63 แห่ง การศึกษาการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเรียนร่วมที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี จำนวน 3 แห่งและการศึกษาแนวทางระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนพิการเรียนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน 2) การนำเสนอร่างการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนพิการเรียนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยตรวจสอบความเหมาะสมของการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนพิการเรียนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และ 3) การประเมินความเป็นไปได้และความมีประโยชน์ของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนพิการเรียนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดการเรียนร่วม เลือกแบบเฉพาะเจาะจงโรงเรียนร่วมในจังหวัดแพร่ จำนวน 50 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนพิการเรียนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และด้านผลผลิต
2. การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนพิการเรียนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่สร้างขึ้น ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วยบุคลากร งบประมาณ อาคารสถานที่และสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ กระบวนการ ประกอบด้วย การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหา การปกป้องและการคุ้มครอง การช่วยเหลือ และการส่งต่อ ส่วนด้านผลผลิต ประกอบด้วย ความช่วยเหลือทางการศึกษา คุณภาพของนักเรียนและประสิทธิภาพในการจัดการศึกษา การประเมินระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนพิการเรียนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่พัฒนาขึ้นมีความเป็นไปได้และความมีประโยชน์ในการนำไปปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด
DEVELOPMENT OF THE STUDENT CARE SYSTEM FOR DISABLED IN THE INCLUSIVE SCHOOLS OF BASIC EDUCATION
The main objective of this research aimed at developing the student care system for the disabled in the inclusive school of basic education with three specific objectives: 1) studying the needs and the operation of the student care system for disabled in the inclusive schools of basic education, 2) constructing of the student care system for disabled, and 3) evaluating the feasibility and utility of student care system for disabled. The research procedure followed 3 steps; 1) to study the needs and operations of the student care system for disabled in the inclusive school of basic education was conducted by a survey of the opinions of school administrators and teachers in 63 inclusive schools selected by a simple random sampling technique, the observation study of 3 best practice schools of student care system in the inclusive schools and the interview of 9 experts in special education, 2) to construct the student care system for disabled was conducted by a focus group discussion of 9 experts, and 3) to evaluate the feasibility and utility of the student care system for disabled was conducted by holding a seminar for public hearing of the seminar participants from 50 inclusive schools of basic education administrators and teachers, purposely selected the inclusive school in Phrae Province. The findings of the research were: 1) three needed components to operate effective student care system for disabled in the inclusive schools: inputs, process, and outputs, 2) the development of the student care system for disabled in the inclusive schools should be considered in terms of its three components. The input components of staff development, budgeting, building facilities and materials for disabled. The process components consisted of acquaintance of individual student, disable screening, disable development and caring, disable helping, and transferring.His output components consisted of educational assistance, the educational quality of disabled and effectiveness of educational management for disabled. As for the evaluation of the student care system for disabled, it was rated at the highest levels of feasibility and utility.
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.