การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง รู้รักษ์หิน ถิ่นแม่ฮ่องสอน ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

พรสวัสดิ์ สองแคว (Pornsawad Songkhwae)
อังคณา อ่อนธานี (Angkana Onthanee)

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง รู้รักษ์หิน ถิ่นแม่ฮ่องสอน ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 75/75
2) ศึกษาผลการใช้หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง รู้รักษ์หิน ถิ่นแม่ฮ่องสอน ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดย 2.1) เพื่อศึกษาการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ระหว่างเรียน
2.2) เพื่อเปรียบเทียบการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน 2.3) เพื่อประเมินกระบวนการสร้างชิ้นงานของนักเรียน แบบแผนการวิจัย คือ One Group pretest-posttest Design กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านสบป่อง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 13 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง รู้รักษ์หิน ถิ่นแม่ฮ่องสอน แบบบันทึกภาคสนาม แบบทดสอบการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ แบบประเมินการตรวจชิ้นงาน ผลการวิจัย พบว่า
1. ได้หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง รู้รักษ์หิน ถิ่นแม่ฮ่องสอน ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 79.21/76.30 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75
2. ผลการใช้หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง รู้รักษ์หิน ถิ่นแม่ฮ่องสอน ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า
2.1 ผลการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ระหว่างการเรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนตอบและถามคำถามโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ มีการสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม อธิบายผลการทดสอบและวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยนำความรู้ ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และการงานอาชีพและเทคโนโลยีมาช่วยในกระบวนการสร้างชิ้นงาน ตามกระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม
2.2 นักเรียนมีคะแนนการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.3 นักเรียนมีผลการประเมินกระบวนการสร้างชิ้นงานจากหน่วยการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับดี

DEVELOPMENT OF STEM LEARNING UNITS TO ENHANCE SCIENTIFIC LITERACY IN THE TOPIC OF PRESERVATION LAND AND ROCK OF MAEHONGSON FOR PRATHOMSUKSA 6 STUDENTS

The purposes of this study were to 1) construct and identify the efficiency of STEM learning units to enhance scientific literacy in the topic of Preservation land and rock of Mae Hong Son for Prathomsuksa 6 students the criterion were at 75/75, and 2) to study the effect of STEM learning units to enhance scientific literacy in the topic of Preservation land and rock of Mae Hong Son for Prathomsuksa 6 students by 2.1) studying scientific literacy during the STEM learning units, 2.2) comparing the scientific literacy, before and after learning with STEM learning units, and 2.3) evaluating the building process work pieces form during the STEM learning units. The research instruments contained with the learning units in the topic of Preservation land and rock of Mae Hong Son, Field notes, the scientific literacy test and the building process work pieces assignments form. A research design is One-Group Pretest-Posttest Design. The results of the study were as follows;
1. The STEM learning units were effective at 79.21/76.30 be in line for 75/75.
2. The results of using STEM learning units to enhance scientific literacy in the topic of Preservation land and rock of Mae Hong Son for Prathomsuksa 6 students were
2.1 The results of scientific literacy during the learning activity by STEM learning units revealed that the students showed scientific literacy capability by create scientific questions and answers, searched more information, explain results and analyze the problems by scientific, mathematical and technology comprehension to fix the problems fallowed engineering design process.
2.2 The ability in scientific literacy after using the STEM learning units is higher than before learning at significance level of .05.
2.3 Students were assessed score form the building process work pieces form during the STEM learning units at overall was at good level.

Article Details

How to Cite
(Pornsawad Songkhwae) พ. ส., & (Angkana Onthanee) อ. อ. (2017). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง รู้รักษ์หิน ถิ่นแม่ฮ่องสอน ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. Journal of Education and Innovation, 19(3), 210–224. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/100933
Section
Research Articles