การพัฒนาหลักสูตรหน่วยการเรียนรู้สาระสังคมศึกษา เรื่อง เมืองพัทยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

สกุลวัฒน์ รัชนีกร (Sakulawat Ratchaneekorn)
สภณภัทร ศรีแสงยงค์ (Saponnapat Srisanyong)
สฎายุ ธีระวณิชตระกูล (Sadayu Teeravanittrakul)

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรหน่วยการเรียนรู้สาระสังคมศึกษาเรื่อง เมืองพัทยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอักษรพัทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 35 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย 1) หลักสูตรหน่วยการเรียนรู้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบประเมินความภาคภูมิใจในความเป็นท้องถิ่นผ่านการนำเสนอชิ้นงาน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า
1. หลักสูตรหน่วยการเรียนรู้สาระสังคมศึกษา เรื่อง เมืองพัทยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น เป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพสูง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาผู้เรียนได้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรหน่วยการเรียนรู้เรื่อง เมืองพัทยา หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน
ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการประเมินความภาคภูมิใจในความเป็นท้องถิ่น ของผู้เรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง เมืองพัทยา ผ่านการนำเสนอชิ้นงาน พบว่า ระดับความภาคภูมิใจของผู้เรียนสามารถแสดงออกถึงความรัก ความภาคภูมิใจในความเป็นท้องถิ่นของเมืองพัทยาได้เป็นอย่างดี

THE CURRICULUM DEVELOPMENT OF LEARNING UNIT IN SOCIAL STUDIES STRANDS ON PATTAYA CITY FOR GRADE FOUR STUDENTS

The purpose of this study was to develop the curriculum of learning unit on Pattaya city in social study, for grade four students. The sample consisted of 35 students chosen as the cluster random sampling from Aksorn Pattaya School in the second semester of 2015. The research instruments included the unit of curriculum, teaching plans, an achievement test and an evaluation form of local pride in the presentation work. The statistics used in this study were percentage, mean, standard deviation and t-test (Paired Samples T-Test)
The results of this research were as follows:
1. The development of unit curriculum of Pattaya city in social study, religion and culture groups for grade four students was a high quality with a reasonable level at a high level and could be used for teaching to develop learners.
2. The Post-Test mean score of achievement was significant higher than the Pre-Test mean score at the statistical at .05
3. The assessment of local pride in the presentation work had the overall average score of high level, shown that students could express their love and pride through their work as well.

Article Details

How to Cite
(Sakulawat Ratchaneekorn) ส. ร., (Saponnapat Srisanyong) ส. ศ., & (Sadayu Teeravanittrakul) ส. ธ. (2017). การพัฒนาหลักสูตรหน่วยการเรียนรู้สาระสังคมศึกษา เรื่อง เมืองพัทยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. Journal of Education and Innovation, 19(3), 329–342. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/100972
Section
Research Articles