โมเดลเชิงสาเหตุของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18

Main Article Content

กุลริสา นาคนวล (Kunlisa Naknuan)
ไพรัตน์ วงษ์นาม (Prirat Wongnam)
สมพงษ์ ปั้นหุ่น (Sompong Panhoon)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2556 ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำนวน 1,590 โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้มีจำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ แบบทดสอบวัดความฉลาดทางเชาว์ปัญญา และแบบสอบถามปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ การตรวจสอบความตรงของโมเดลใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างโดยใช้โปรแกรม Mplus 5.21 ผลการวิจัย พบว่า
1. โมเดลเชิงสาเหตุของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามสมมติฐาน ประกอบด้วยตัวแปรแฝงทั้งหมด 8 ตัวแปร ได้แก่ ความรู้พื้นฐานเดิมสภาพแวดล้อมทางบ้าน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ ความฉลาดทางเชาว์ปัญญา ความฉลาดทางอารมณ์ อัตมโนทัศน์ และเวลาที่ใช้ในการศึกษาเพิ่มเติม
2. การตรวจสอบและปรับปรุงโมเดล พบว่า ตัดตัวแปรเจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ออกจากโมเดลเชิงสาเหตุของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
3. การตรวจสอบและปรับปรุงโมเดลให้สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า มี 7 ตัวแปร ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้แก่ ความรู้พื้นฐานเดิม สภาพแวดล้อมทางบ้าน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความฉลาดทางเชาว์ปัญญา ความฉลาดทางอารมณ์ อัตมโนทัศน์ และเวลาที่ใช้ในการศึกษาเพิ่มเติม พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ได้ร้อยละ 72 ตัวแปรเวลาที่ใช้ในการศึกษาเพิ่มเติมมีอิทธิพลทางตรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ ตัวแปรสภาพแวดล้อมทางบ้าน อัตมโนทัศน์ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และความฉลาดทางอารมณ์ มีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนวิชาฟิสิกส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรความรู้พื้นฐานเดิมมีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
(Kunlisa Naknuan) ก. น., (Prirat Wongnam) ไ. ว., & (Sompong Panhoon) ส. ป. (2018). โมเดลเชิงสาเหตุของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18. Journal of Education and Innovation, 19(4), 39–50. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/108478
บท
บทความวิจัย

References

Department of Educational Research. (2000). Research and development of developing Thai children competencies. Bangkok: Ministry of Education. (in Thai)
Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2004). A basic science teacher handbook in science learning area. Bangkok: Kurusapa Printing Ladphrao. (in Thai)
Kaensar, S. (2011). The causal factors influencing chemistry learning achievement of Matthayomsueksa 5 students Sri Sa Ket province (Master thesis). Maha Sarakham: Mahasarakham University. (in Thai)
Piumsomboon, P. (2003). Evaluation research: Principle and process. Bangkok: National Institute of Development Administration. (in Thai)
Prajongjit, V. (2011). The Causal Factors Influencing to Students? Learning achievement on science for Mathayomsuksa 6 students under The Jurisdiction of Chaiyaphum Educational Service Area Office 1 (Master thesis). Chaiyaphum: Chaiyaphum Rajabhat University. (in Thai)
Ruengsinchaiwanit, M. (2007). The causal factors influencing mathematics learning achievement of Matthayomsueksa 3 students (Master thesis). Maha Sarakham: Mahasarakham University. (in Thai)
Tangvanichcharoen, N. (2012). The causal factors influencing physics achievement of Matthayomsuksa 5 stuents in Nongbualamphu province (Master thesis). Maha Sarakham: Mahasarakham University. (in Thai)
Wiratchai, N. (1999). LISREL Model: Analytical statistics for classical and behavioral research. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)