การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการ ตามแนวคิดการฝึกทางปัญญาจากต้นแบบ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

Main Article Content

สุภาภรณ์ โตโสภณ
วารีรัตน์ แก้วอุไร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการ ตามแนวคิดการฝึกทางปัญญาจากต้นแบบ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนามี 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการที่จำเป็นสำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 2) การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการ ตามแนวคิดการฝึกทางปัญญาจากต้นแบบ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 3) การศึกษาผลการใช้หลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการ ตามแนวคิดการฝึกทางปัญญาจากต้นแบบ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 4) การประเมินหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการ ตามแนวคิดการฝึกทางปัญญาจากต้นแบบ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง กลุ่มทดลองที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาแผนกวิชาการตลาดและการจัดการทั่วไป วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์ จำนวน 24 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบวัดความรู้ความเข้าใจการเป็นผู้ประกอบการ มีลักษณะเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 5 ตัวเลือก
แบบประเมินทักษะการเป็นผู้ประกอบการ มีลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่าที่กำหนดเกณฑ์คุณภาพ 3 ระดับ แบบประเมินคุณลักษณะส่วนบุคคลต่อการเป็นผู้ประกอบการ มีลักษณะเป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่าที่กำหนดเกณฑ์คุณภาพ 3 ระดับ โดยผู้สอนเป็นผู้ประเมิน และแบบประเมินความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบที การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
1. การศึกษาสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการที่จำเป็นสำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พบว่า 1) สมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการ ประกอบด้วย ด้านความรู้ความเข้าใจการเป็นผู้ประกอบการ ได้แก่ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ แบบจำลองธุรกิจ การจัดการธุรกิจ การจัดการตลาด การผลิตและการดำเนินงาน การบริหารทรัพยากรบุคคล การจัดการการเงินและการลงทุน แผนธุรกิจ การติดต่อสื่อสารและเครือข่ายทางธุรกิจ และการบริหารงานและดำเนินงานในองค์การ ด้านทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ได้แก่ ความสามารถในการปฏิบัติงานและความสามารถการมีปฏิบัติสัมพันธ์ และด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลต่อการเป็นผู้ประกอบการ ได้แก่ ด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและด้านอัตมโนทัศน์ 2) แนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการ มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มฝึกให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เน้นการฝึกปฏิบัติ และมีกรณีตัวอย่างประกอบหรือสถานการณ์ที่น่าสนใจ เพื่อให้ผู้เรียนเห็นแบบอย่างที่ดี ผู้สอนเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือแนะนำเมื่อผู้เรียนเกิดปัญหาจนกระทั่งผู้เรียนสามารถปฏิบัติงานจนสำเร็จ และ 3) การวัดและประเมินผล มีการวัดประเมินผลการเรียนรู้ให้ครอบคลุม 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ด้วยแบบทดสอบ ด้านทักษะด้วยแบบประเมินทักษะและด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลด้วยแบบประเมินคุณลักษณะส่วนบุคคล
2. หลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการ ตามแนวคิดการฝึกทางปัญญาจากต้นแบบ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง มีองค์ประกอบ 8 องค์ประกอบ คือ หลักการและเหตุผล จุดประสงค์รายวิชา สมรรถนะรายวิชา คำอธิบายรายวิชา เนื้อหาสาระ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล นำวิธีการสอนตามแนวคิดการฝึกทางปัญญาจากต้นแบบมาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการด้วยกระบวนการ 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การเตรียมการ 2) การเป็นต้นแบบ 3) การเป็นผู้ชี้แนะและการให้ความช่วยเหลือ 4) การสะท้อนคิด 5) การไตร่ตรองความคิด 6) การต่อยอดประสบการณ์ ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า หลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ผลการทดลองใช้ พบว่า หลักสูตรมีความเป็นไปได้ในการนำไปสู่การปฏิบัติ
3. ผลการใช้หลักสูตร พบว่า นักศึกษาที่ได้รับการสอนโดยหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น มีความรู้ความเข้าใจการเป็นผู้ประกอบการหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักศึกษามีทักษะการเป็นผู้ประกอบการหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักศึกษามีคุณลักษณะส่วนบุคคลต่อการเป็นผู้ประกอบการหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินหลักสูตร พบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรในระดับมาก และผู้ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรให้ความเห็นว่า หลักสูตรมีความเหมาะสมในระดับมากทั้งด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ซึ่งหลักสูตรมีความเหมาะสมกับระดับของผู้เรียน มีทฤษฎีรองรับที่ชัดเจน และมีกิจกรรมการเรียนการสอนที่สามารถนำไปใช้พัฒนาผู้เรียนได้

Article Details

How to Cite
โตโสภณ ส. ., & แก้วอุไร ว. (2020). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการ ตามแนวคิดการฝึกทางปัญญาจากต้นแบบ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. Journal of Education and Innovation, 22(2), 275–289. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/125606
บท
บทความวิจัย

References

Bangmo, S. (2012). Entrepreneurship (5th ed.). Bangkok: SK Books. [in Thai]

Chuarattanapong, J. (1996). Curriculum development: The principles and guidelines. Bangkok: Alene Press. [in Thai]

Collins, A., Brown, J. S., & Holum, A. (1991). Cognitive apprenticeship: Making thinking visible. American Educator, 15(3), 6–11, 38–46.

Collins, A., Brown, J. S., & Newman, S. E. (1987). Cognitive apprenticeship: Teaching the craft of reading, writing and mathematics. Cambridge. MA.: Centre for the Study of Reading, University of lllinois.

Frederick, H. H., Kuratko, D. F., & Hodgetts, R. M. (2006). Entrepreneurship: Theory process practice. South Melbourne: Thomson Learning.

Kanchanavasri, S. (2002). Traditional test theory. Bangkok: Faculty of Education Chulalongkorn University. [in Thai]

Kraisit, P. (2006). Education for developing human resources. Rachaburi: Faculty of Education, Chombueng Rajabhat University. [in Thai]

Leeaumnonkul, P. (2010). Research and development of entrepreneur curriculum based on cognitive apprenticeship approach to enhance business competence of upper secondary school student (Doctoral dissertation). Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]

Madilokkovit, C. (1995). Teaching materials on the principles of business education. Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]

Man, T. W. Y., Theresa, L., & Chan, K. F. (2002). The competitiveness if small and medium enterprise

a conceptualization with focus on entrepreneurial competencies. Journal of Business Venturing, 17, 123-142.

Martha, C. Y. (2003). Current trends in business education. In Martha H. R. (Ed.), Effective Method of Teaching Business Education in the 21th Century (pp. 35-41). Reston, VA: National Business Education Association.

Martin, L. (2013). Developing entrepreneurial competencies: an action-based approach and classification in education (Master thesis). Sweden: Chalmers University of Technology.

Mingsamorn, S., Kaewurai, W., Pajanban, P., & Lincharoen, A. (2010). A development of curriculum enhancing the evaluated competencies of school curriculum for personals in the basic of educational. Journal of Education Nareasuan University, 13(Special), 177-196. [in Thai]

Panich, W. (2012). Framework for 21st century learning. Bangkok: Sodsri-Saridwongso Foundation. [in Thai]

Prompichai, S., Pajanban, P., Kaewurai, W., & Suttirat, C. (2011). The development of subject curriculum in a marketing research course to enhance marketing research competence for higher vocational education students. Journal of Education Nareasuan University, 13 (Special), 135-153. [in Thai]

The Office of Educational Council. (2014). The 2014 conference proceeding on educational standards for developing lifelong learning human in the 21st century world. Bangkok: The Ministry of Education. [in Thai]

The Office of Educational Council. (2017). Research and development development of curriculum and instructional management of competency bases in the framework of national qualifications. Bangkok: Prikwarn Graphic. [in Thai]

The Office of Vocational Education Commission. (2012). The policies, goals, and strategies for producing and developing international vocational workforces (2012-2018). Bangkok: The Ministry of Education. [in Thai]

The Office of Vocational Education Commission. (2014). The order of the ministry of education on educational management and evaluation based on higher vocational certificate curriculum (2014). Bangkok: The Office of Vocational Education Commission. [in Thai]

Zimmerer, T. W., & Scarborough, N. M. (2002). Essentials of entrepreneurship and small business management (3rd ed.). New Jersey: Prentice-Hall.