การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามแนวคิดการสอนภาษา เพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 3) ทดลองใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ดังนี้ (1) ศึกษาความสามารถในการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ (2) เปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพัฒนามี 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการศึกษาแนวทางในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการสัมภาษณ์ครูผู้เชี่ยวชาญ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 5 คน 2) ขั้นการสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หาคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และทดลองนำร่องเพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน 3) ขั้นการทดลองใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบ การจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น โดยนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบึง จำนวน 32 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัย พบว่า
1. แนวทางในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน ควรมีการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการใช้ภาษาและมีกิจกรรมให้ได้ฝึกพูดภาษา มีการให้ภาระงานที่มีความน่าสนใจและสนุกสนาน เหมาะสมกับช่วงวัยของนักเรียน การวัดและการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ ควรเป็นไปตามกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากล (CEFR) นำมาบูรณาการกับหลักสูตร และบริบทของตน
2. รูปแบบที่ขึ้นประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระ กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ การวัดและการประเมินผล มีกิจกรรมการเรียนรู้ดังนี้ 1) ขั้นนำเสนอเนื้อหา (Presentation) มีขั้นตอนย่อย ได้แก่ (1) การเข้าสู่เนื้อหา (Lead in) (2) การดึงความรู้เดิม (Elicitation) (3) การอธิบาย (Explanation) 2) ขั้นการฝึก (Practice) และ 3) ขั้นการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร (Production) มีขั้นตอนย่อย ได้แก่ (1) ขั้นเตรียมภาระงาน (Pre-task) (2) ขั้นระหว่างการปฏิบัติภาระงาน (During-task) (3) ขั้นหลังปฏิบัติภาระงาน (Post-task) และผลการตรวจสอบคุณภาพรูปที่พัฒนาขึ้น พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีค่าดัชนีประสิทธิผล .5327
3. ผลการใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า
3.1 หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการที่พัฒนาขึ้น นักเรียนมีความสามารถในการสื่อสาร ด้านการฟัง อยู่ในระดับ ค่อนข้างดี ด้านการพูด อยู่ในระดับน่าพอใจ ด้านการอ่าน อยู่ในระดับพอใช้ และด้านการเขียน อยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ ภาพรวมอยู่ในระดับน่าพอใจ
3.2 นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีความสามารถในการสื่อสารหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก
Article Details
เจ้าของบทความมิได้คัดลอก หรือละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใด หากเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าวิธีใด หรือการฟ้องร้องไม่ว่ากรณีใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ กองบรรณาธิการวารสารศึกษาศาสตร์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ให้เป็นสิทธิ์ของเจ้าของบทความที่จะดำเนินการ
References
Angwattanakul, S. (1997). Teaching English. Bangkok: Chulalongkorn University Printing. [in Thai]
Byrne, D. (1986). Teaching oral English. London: Longman.
Ellis, R. (2013). Task-based language teaching: Responding to the critics. University of Sydney Papers in TESOL, 8, 1-27.
Ellis, R. (2003). Task-based research and language pedagogy. Language Teaching Research, 4(3), 193-220.
English Language. (2015). The manual of new English teaching based on the common European framework of reference for languages. Bangkok: np. [in Thai]
Joyce, B., & Weil, M. (2009). Models of teaching (8th ed.). Boston: Pearson.
Jutanun, L. (2001). Teaching English according to the curriculum. Bangkok: The Master Group Management. [in Thai]
Koosha, M., & Yakhabi, M. (2013). Problems associated with the use of communicative language teaching in EFL contexts and possible solutions. International Journal of Foreign Language Teaching and Research, 1(2), 77-90.
Long, M., & Crookes, G. (1992). Three approaches to task-based syllabus design. TESOL Quarterly, 26(1), 89.
National Institute of Educational Testing Service. (2017). The summary of Ordinary National Educational Test (O-NET) of Grade 6 Academic Year 2016. Bangkok: National Institute of Educational Testing Service. [in Thai]
Preedekun, A., Mejang, A., Ngaorungsi, K., & Kaewurai, W. (2010). The development of a listening and speaking English skills instructional model based on communicative approach and brain-based learning principles to enhance communicative competence of Rajabhat University students. Journal of Education Naresuan University, 13(Special Edition), 154-175. [in Thai]
Willis, J. (1996). A framework for task-based learning. Edinburgh: Addison Wesley Longman.
Xiaotong HE. (2014). An analysis of communicative language teaching methodology and its application on language learning in China. Higher Education of Social Science, 6, 100-105.
Zhang, Xiangyang & Hung, Shu-Chiu. (2013). A case study of exploring viability of task-based instruction on college English teaching in big-sized class. Journal of Language Teaching and Research, 4(4), 693-699. doi10.4304/jltr.4.4.
Zuniga, E. C. (2016). Implementing task-based language teaching to integrate language skills in an EFL Program at a Colombian University. PROFILE Issues in Teachers’ Professional Development, 18(2), 13-27.