รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา; THE DEVELOPMENT OF MANAGEMENT MODEL FOR CULTIVATING THE DESIRED CHARACTERISTICS FOR STUDENTS IN SCHOOL UNDER THE OFFICE OF THE PRIMARY...

Main Article Content

จำเนียร แสงเสนา (Jamnian Saengsena)
วิทยา จันทร์ศิลา (Vithaya Jansila)

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาใช้วิธีศึกษาสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practice) จำนวน 4 แห่ง และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา 2) สร้างรูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยนำผลการศึกษาจากขั้นที่ 1 มายกร่างแล้วตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบด้วยเทคนิคการสนทนากลุ่ม โดยผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา จำนวน 9 คน และ 3) การประเมินความเป็นไปได้และความมีประโยชน์ของรูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 60 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพและแนวทางการบริหารของสถานศึกษา จำเป็นต้องมีนโยบายและแผนการดำเนินงานโดยกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายและภารงานด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ชัดเจน มีแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ผู้บริหาร ครูมีความมุ่งมั่น ทุ่มเทในการปฏิบัติงาน โดยใช้หลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
2. รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้/สื่อ และสภาพแวดล้อม 2) กระบวนการ ประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์การ การลงมือปฏิบัติ การควบคุม และการประเมินผล 3) ผลผลิต ประกอบด้วย ความรับผิดชอบ รับฟังผู้อื่น ความซื่อสัตย์ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความกตัญญูกตเวที ความมีระเบียบวินัย ความพอเพียง จิตอาสา มุ่งมั่นทำงาน ความรักชาติ ความมีเมตตา กรุณาและความขยันหมั่นเพียร
3. การประเมินรูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพบว่ามีความเป็นไปได้ และความมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด


THE DEVELOPMENT OF MANAGEMENT MODEL FOR CULTIVATING THE DESIRED CHARACTERISTICS FOR STUDENTS IN SCHOOL UNDER THE OFFICE OF THE PRIMARY EDUCATIONALSERVICE AREA


This research main purpose was to develop a management model for cultivating desirable characteristics of the students in the schools under office of the primary educational service area. The research was conducted through 3 phases as follows: 1) studying states and ways if school management to cultivate desirable characteristics of the students 4 best practice schools and interviews of 7 educational experts. Data analysis used context analysis, 2) constructing a management model for cultivating desirable characteristics of the students, based on the results of data in phase 1 and validating them by group discussion of 9 educational experts, and 3) evaluating the feasibility and usefulness for cultivating desirable characteristics of the students by the purposely selected sample of 60 directors and teachers of elementary basic schools. Statistics used for data analysis were mean and standard deviation. The results of the research were as follows:
1. States and ways of school management, policies and action plans are stated in school, guided clearly by visions, mission, goals and tasks in desirable characteristics development. School offered learning sources facilitating public desirable characteristics activities. Directors and teachers are committed and devoted to the goal and tasks on the principles of participation by stakeholders from all sectors.
2. The constructed management model for cultivating desirable characteristics of the students in the schools consists of 3 components: 1) Inputs, consisting of administrators, curriculums and learning management, sources of learning/media, and environments. 2) Transforming process, consisting of planning, organizing, implementing, controlling, and evaluating. 3) Outputs, consisting of responsibility, sensitivity, honesty, generosity, gratitude, disciplines, sufficiency, public-mindedness, commitment, national loyalty, mercy, and perseverance.
3. The evaluation of the constructed management model for cultivating desirable characteristics of the students yielded the positive feedback at the highest level of perceived feasibility and usefulness.

Article Details

How to Cite
(Jamnian Saengsena) จ. แ., & (Vithaya Jansila) ว. จ. (2018). รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา; THE DEVELOPMENT OF MANAGEMENT MODEL FOR CULTIVATING THE DESIRED CHARACTERISTICS FOR STUDENTS IN SCHOOL UNDER THE OFFICE OF THE PRIMARY. Journal of Education and Innovation, 20(3), 24–34. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/140650
Section
Research Articles

References

Buteau, G. E. (1998). Discourse of moral issues in a third grade classroom (elementary school, public education, ethics). Boston.
Hersey, P. W., & Blanchard, D. E. (2001). Management of organizational behavior: Leading human resources (8th ed.). Upper Saddel River, NJ.: Prentice Hall.
Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (2001). Educational administration theory research practice (6th ed.). New York: Mc Graw Hill.
Huffman, K. (2002). Psychology in action (6th ed.). New York: John Wiley & Sons.
Jumsai na Ayudhaya, A. (2007). Moral leads knowledge: Integrated teaching model with the value of human dignity. Bangkok: Office of the Education Council. (in Thai)
Office of the Education Council. (2007). Developing moral in Thai education system. Bangkok: V.T.C. Communication. (in Thai)
Office of the National Economic and Social Development Board. (2012). The eleventh national economic and social development plan (2012-2016). Bangkok: V.J. Printing. (in Thai)
Office of the National Education Commission. (2002). The national education plan (2002 - 2016). Bangkok: Prikwarn Graphic. (in Thai)
Perathoranich, P. (2009). Teacher’s role in teaching morality and ethics. Journal of Rangsit University: Teaching & Learning, 3(2), 74-77. (in Thai)
Sadtayatham, P. (2013). The ethics of teaching for youth. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)
Sanguanam, J. (2008). Theory and practice in educational institution (2nd ed.). Bangkok: Book point. (in Thai)
Vungsriphisal, P. (2008). Developing a model and education management guideline for alien children. Bangkok: V.T.C. Communication. (in Thai)