ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนจัดการเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 (THE RELATIONSHIP BETWEEN ADMINISTRATORS’ ROLES AND THE TEACHERS’ OPERATION IN INCLUSIVE SCHOOL UNDER PHITSANULOK PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1)

Main Article Content

สุนันธิณีย์ ม่วงเนียม (Sunantinee Moungneam)
จิติมา วรรณศรี (Jitima Wannasri)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนจัดการเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนจัดการเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนจัดการเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนจัดการเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 จำนวน 285 คน โดยวิธีการเลือกผู้บริหารสถานศึกษาแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 75 คน และสุ่มครูผู้สอนโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ตามสัดส่วนจากแต่ละโรงเรียน จำนวน 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ โดยมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.989 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) ผลการวิจัย พบว่า 1) บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนจัดการเรียนรวมอยู่ในระดับมาก โดยบทบาทที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ บทบาทด้านนโยบายและการวางแผน รองลงมา คือ บทบาทด้านการส่งเสริมพัฒนาครูและบุคลากร 2) การปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนจัดการเรียนรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการพัฒนางานและตนเอง รองลงมา คือ ด้านการสร้างความสัมพันธ์และร่วมมือกับชุมชน 3) บทบาทผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนจัดการเรียนรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
(Sunantinee Moungneam) ส. ม., & (Jitima Wannasri) จ. ว. (2018). ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนจัดการเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 (THE RELATIONSHIP BETWEEN ADMINISTRATORS’ ROLES AND THE TEACHERS’ OPERATION IN INCLUSIVE SCHOOL UNDER PHITSANULOK PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1). Journal of Education and Innovation, 21(1), 307–318. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/159894
บท
บทความวิจัย

References

Academic affair and educational standards. (2010). Guideline for learning in the basic education curriculum B.E. 2008 (2nd ed.). Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand. [in Thai]
Ananawee, P. (2010). Principle, theories of educational administration. Bangkok: Motree. [in Thai]
Chinchai, S. (2008). Development of collaborative inclusive model for students with special needs: A case study of an inclusive school in Chiangmai (Master thesis). Bangkok: Srinakharinwirot University. [in Thai]
Kaewnimitchai, W. (2006). The relationship between administrative behavior and the school administration of administrator in Nakhonpathom Municipal School. (Master thesis). Bangkok: Silpakorn University. [in Thai]
Mongkolwanich, J. (2014). Administration of educational organization and personnel (2rd ed.). Bangkok: V print (1991). [in Thai]
Office of the Basic Education Commission. (2013). Guidelines for developing model inclusive schools. Bangkok: OBEC. [in Thai]
Panichpalinchai, T. (2014). Social science research methodology. Phitsanulok: Faculty of Education Naresuan University. [in Thai]
Panthong, W., Kornpuang, A., Pakdeewong, P., & Chanbanchong, C. (2013). A model for the development of student oriented teachers in the school under Jurisdiction of Primary Education Service Areas. Journal of Education Naresuan University, 15(Special), 193-205. [in Thai]
Peincharoen, J. (2013). Role of school administrator to enhance the learning management of teacher according to the basic curriculum of secondary schools in Prathum Thani Province. (Master thesis). Bangkok: Dhurakit Pundit University. [in Thai]
Rothanit, S. (2013). Principle and theories of educational administration. Bangkok: Kaofang. [in Thai]
Runcharuen, T. (2007). Professional in organization and educational administration reform education (4th ed.). Bangkok: Kaofang. [in Thai]
Sanguannam, J. (2010). Theory and practice in educational institution (3rd ed.). Nonthaburi: Book Point. [in Thai]
Srisa-ard, B. (2011). Research for educational administration. Bangkok: Suweeriyasan. [in Thai]
Thampoonpisai, R., Benkarn, P., & Jewpatthanakul, P. (2013). Problem situation and provision management in leading inclusive schools in Narathiwat Educational Service Area Office. Songkha: Hat Yai University. [in Thai]
Wannasri, J. (2010). A field trip study on teacher development in New Zealand. Journal of Education Naresuan University, 12(2), 195-200. [in Thai]
Wongrattana, C. (2007). Statistics for research techniques (10th ed.). Bangkok: Thai Neramitkit Introgressive. [in Thai]
Wonganuchtraroj, P. (2010). Academic administration. Bangkok: Soonsueserm. [in Thai]