การพัฒนารูปแบบการธำรงรักษาบุคลากรครูในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา

Main Article Content

ทักดนัย เพชรเภรี
ฉันทนา จันทร์บรรจง
วิทยา จันทร์ศิลา
สำราญ มีแจ้ง

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการธำรงรักษาบุคลากรครูในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพและแนวทางในการธำรงรักษาบุคลากรครูในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา โดยศึกษาสภาพในการธำรงรักษาบุคลากรครูจากเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ในโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่ดี จำนวน 4 แห่ง ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และการศึกษาแนวทางในการธำรงรักษาบุคลากรครู จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ในโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่ดี จำนวน 4 แห่ง และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา 2) การสร้างรูปแบบการธำรงรักษาบุคลากรครูในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา และการตรวจสอบความเหมาะสมของร่างรูปแบบด้วยเทคนิคการสนทนากลุ่มและจากการตรวจสอบเอกสารโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา 3) การประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการธำรงรักษาบุคลากรครูในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 80 คน โดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการศึกษาสภาพและแนวทางในการธำรงรักษาบุคลากรครูในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา 1) สภาพในการธำรงรักษาบุคลากรครูในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา ที่มีแนวปฏิบัติที่ดี พบว่า (1) ระดับบุคคล มีการจัดสวัสดิการค่าตอบแทนที่เป็นธรรม ครูได้รับการยอมรับนับถือ มีความมั่นคงก้าวหน้าในอาชีพ (2) ระดับกลุ่มมีกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ครูมีส่วนร่วมในการทำงาน มีการนิเทศโดยคณะกรรมการ มีบรรยากาศในการทำงานที่อบอุ่น และ (3) ระดับองค์การ มีการกำหนดนโยบายและการบริหารที่ชัดเจน มีการกำหนดลักษณะงานที่ปฏิบัติอย่างเหมาะสม มีการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียน ที่ร่มรื่น สะอาด สวยงาม ปลอดภัย ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ มีคุณธรรมจริยธรรม มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี 2) แนวทางในการธำรงรักษาบุคลากรครูในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา พบว่า มีแนวทางการธำรงรักษาครู 3 ระดับ ดังนี้ (1) ระดับบุคคล ประกอบด้วย การจัดสวัสดิการ การให้ค่าตอบแทน การได้รับการยอมรับนับถือ และการสร้างความมั่นคงก้าวหน้าในอาชีพ (2) ระดับกลุ่ม ประกอบด้วย การสร้างความสัมพันธ์ภายในกลุ่ม การมีส่วนร่วมในการทำงาน การนิเทศโดยคณะกรรมการ การสร้างบรรยากาศในการทำงาน (3) ระดับองค์การ ประกอบด้วย การกำหนดนโยบายและการบริหาร การกำหนดลักษณะงานที่ปฏิบัติ การจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียน และภาวะผู้นำของผู้บริหาร

2. ผลการสร้างรูปแบบการธำรงรักษาบุคลากรครูในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษาประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์ของการธำรงรักษาบุคลากรครู คือ เพื่อให้บุคลากรครูในโรงเรียนเอกชน มีความสุข ความผูกพัน มีความพึงพอใจ และมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในโรงเรียนให้นานที่สุดอย่างมีประสิทธิภาพ 2) หลักการของการธำรงรักษาบุคลากรครู คือ การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง การธำรงรักษาบนความยุติธรรม การกระจายอำนาจทางการบริหาร และการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน 3) แนวทางของการธำรงรักษาบุคลากรครู ใน 3 ระดับ คือ (1) ระดับบุคคล ประกอบด้วย การจัดสวัสดิการ การให้ค่าตอบแทน การได้รับการยอมรับนับถือ และการสร้างความมั่นคงก้าวหน้าในอาชีพ (2) ระดับกลุ่ม ประกอบด้วย การสร้างความสัมพันธ์ภายในกลุ่ม การมีส่วนร่วมในการทำงาน การนิเทศโดยคณะกรรมการ การสร้างบรรยากาศในการทำงาน (3) ระดับองค์การ ประกอบด้วย การกำหนดนโยบายและการบริหาร การกำหนดลักษณะงานที่ปฏิบัติ การจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียน และภาวะผู้นำของผู้บริหาร 4) บทบาทของการธำรงรักษาบุคลากรครู ประกอบด้วย (1) ผู้บริหารระดับนโยบาย (2) องค์กรหรือสมาคมครู ผู้บริหาร (3) ผู้บริหารสถานศึกษา (4) คณะกรรมการบริหารโรงเรียน สมาคมผู้ปกครอง สมาคมศิษย์เก่า และ (5) ครู

3. ผลการประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการธำรงรักษาบุคลากรครูในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา พบว่า รูปแบบมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ: รูปแบบการธำรงรักษาบุคลากรครู/ โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา

 

Abstract

The main purpose of this study was to identify major components of the maintenance model for teachers in private general education school. The research procedure followed three steps: 1) Study condition and approach of maintenance for teachers in private general education school. Study condition of maintenance for teachers through relevant documents and interview of administrators and teacher in 4 private general education schools with good practice. Data were analyzed through content analysis. Study approach of maintenance for teachers through relevant interview of administrators and teacher in 4 private general education schools with good practice and interviewing 7 experts. Data were analyzed through content analysis. 2) constructing of a tentative model , then checking its appropriateness through focus group discussion and check document among 10 experts 3) evaluating the feasibility by 80 school principals and teachers in the field ; data were analyzed , using means and standard deviations.

The results of the research were as follows:

1. The condition and approach of maintenance for teachers in private general education school 1) The Condition of maintenance for teachers in private general education school with good practice there is (1) Individual level; teachers receive fair compensation and benefits with respect to stability and progress in their careers. (2) Group level; group dynamics and teamwork with the work, have supervision by the board and warm working atmosphere. (3) Organization level; school has a clear policy and management, qualify to perform the task properly, environment of school that is safe, sylvan, beautiful and clean, school administrators have leadership, virtue, ethics and human relationships. 2) The Approach of maintenance for teachers in private general education school there is (1) Individual level; welfare, compensation, to be respected and stability and career advancement. (2) Group level; group dynamic, participation in the work, supervision by the Board of Directors, atmosphere in the office. (3) Organization level; policy and management, duties of work performed, environment in the school, administrators have leadership.

2. The maintenance model for teachers in private general education school consists of four components; 1) Objective of maintenance for teachers to ensure that teachers in private schools are teachers, happiness, attachment, satisfaction and motivation for performance in the school as long as possible efficiency. 2) Principles of maintenance for teachers; participation of stakeholders, maintaining justice, administrative decentralization and creating incentives for performance. 3) The Approach of maintenance for teachers there is (1) Individual level; welfare, compensation, to be respected and stability and career advancement. (2) Group level; group dynamic, participation in the work, supervision by the Board of Directors, atmosphere in the office. (3) Organization level; policy and management, duties of work performed, environment in the school, administrators have leadership. 4) Role of maintenance for teachers; executives policies, organization or association of teachers and administrators, school administrators, School Administrative Committee Government Association Alumni Association and teachers.

3. The evaluation of the constructed model yielded the results at a high level of feasibility.

Key words: Maintenance Model for Teachers/ Private General Education School

Article Details

How to Cite
เพชรเภรี ท., จันทร์บรรจง ฉ., จันทร์ศิลา ว., & มีแจ้ง ส. (2014). การพัฒนารูปแบบการธำรงรักษาบุคลากรครูในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา. Journal of Education and Innovation, 15(5), 8–19. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/16114
Section
Research Articles