กลยุทธ์การสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่าง

Main Article Content

อำนาจ บุญทรง
ฉลอง ชาตรูประชีวิน
ภาณุวัฒน์ ภักดีวงศ์
อนุชา กอนพ่วง

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนากลยุทธ์การสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่าง ดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้ 1) การศึกษาสภาพแวดล้อมและแนวทางการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่าง โดยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่างและการสอบถามผู้อำนวยการโรงเรียนและครูในโรงเรียนขนาดเล็ก 2) การสร้างกลยุทธ์การสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่าง โดยนำผลการวิจัยที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 ร่างกลยุทธ์และตรวจสอบความเหมาะสมโดยการจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา และ 3) การประเมินกลยุทธ์การสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่าง โดยการจัดประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

1. ผลการศึกษาสภาพแวดล้อมและแนวทางการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่าง พบว่า

1.1 สภาพแวดล้อมภายในมีปัจจัยที่เป็นจุดอ่อนมากกว่าจุดแข็งและสภาพแวดล้อมภายนอกมีปัจจัยที่เป็นอุปสรรคมากกว่าโอกาส

1.2 แนวทางการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่างในภาพรวม สรุปเป็น 5 ด้าน 1) ด้านการบริหารจัดการมี 12 แนวทาง 2) ด้านการจัดการเรียนรู้มี 7 แนวทาง 3) ด้านการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการพัฒนาโรงเรียนมี 8 แนวทาง 4) ด้านการพัฒนาบุคลากรมี 10 แนวทางและ 5) ด้านการระดมทรัพยากรมี11 แนวทาง

2. การสร้างกลยุทธ์การสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่างได้ผลออกมาเป็น 5 ประเด็นกลยุทธ์ 12 กลยุทธ์ 46 มาตรการ 68 ตัวชี้วัด ดังนี้ ประเด็นกลยุทธ์ที่ 1 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์ 11 มาตรการ 16 ตัวชี้วัด ประเด็นกลยุทธ์ที่ 2 สร้างโอกาสทางการศึกษาและลดปัญหาการออกกลางคัน ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์ 8 มาตรการ 15 ตัวชี้วัด ประเด็นกลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ 14 มาตรการ 20 ตัวชี้วัด ประเด็นกลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาศักยภาพผู้บริหารและครูในโรงเรียนขนาดเล็ก ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์ 6 มาตรการ 10 ตัวชี้วัด ประเด็นกลยุทธ์ที่ 5 เสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์ 7 มาตรการ 7 ตัวชี้วัด ประเด็นกลยุทธ์ในภาพรวมได้รับการตรวจสอบว่ามีความเหมาะสม

3. ผลการประเมินกลยุทธ์การสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสำหรับโรงเรียน ขนาดเล็กของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่าง พบว่า ในภาพรวมมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ : กลยุทธ์/ โรงเรียนขนาดเล็ก/ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

 

Abstract

The main objective of this research was to develop strategies supporting learners quality development for small-sized schools of primary educational service area offices in lower northern Thailand. The research procedure followed 3 steps; 1) studying environments and methods supporting learners quality development for the small-sized schools by synthesizing documents and interviewing related persons in primary educational service area offices in lower northern Thailand. 2) constructing strategies supporting learners quality development for the small-sized schools by adopting the research results of the first step to draft strategies and check appropriateness by group discussion of educational expertists, and 3) evaluating strategies supporting learners quality development for the small-sized schools by setting seminar for public hearing of related persons.

The research results were as follows;

1. The study of the environments and methods supporting learners quality development for the small-sized schools of primary educational area offices in lower northern Thailand revealed:

1.1 The internal environments posted more weaknesses factors than strengths factors; likewise, external environments presented more threats than opportunities.

1.2 Guidelines for supporting learners quality development for the small–sized schools were grouped into 5 areas: 1) administration management with 12 guidelines. 2) learning management with 7 guidelines. 3) Participation with 8 guidelines. 4) personal development with 10 guidelines. 5) pooling resources with 11 guidelines.

2. The development of strategies supporting learners quality development for the small-sized schools of primary educational area offices in lower northern Thailand produced 5 strategic issues associated with overall 12 strategies, 46 measures and 68 key performance indicators as below; Strategic issue 1: increasing management efficiency of the small–sized schools, consisting of 2 strategies, 11 measures and 16 key performance indicators. Strategic issue 2: creating educational opportunities and reducing the drop-out problems, consisting of 2 strategies, 8 measures and 15 key performance indicators. Strategic issue 3: improving students quality to meet basic education standards, consisting of 4 strategies, 14 measures and 20 key performance indicators. Strategic issue 4: developing administrators and teachers competency in the small-sized schools, consisting of 2 strategies, 6 measures and 10 key performance indicators. Strategic issue 5: rewarding and raising morale of administrators and teachers in the small-sized schools; consisting of 2 strategies, 7 measures and 7 key performance indicators. All five strategic issues have been validated as appropriate.

3. The evaluation of strategies supporting learners quality development for the small-sized schools yielded the overall result at a high level of feasibility.

Key words: Strategies/ Small-sized School/ Primary Educational Service Area Offices

Article Details

How to Cite
บุญทรง อ., ชาตรูประชีวิน ฉ., ภักดีวงศ์ ภ., & กอนพ่วง อ. (2014). กลยุทธ์การสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่าง. Journal of Education and Innovation, 15(5), 78–90. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/16361
Section
Research Articles