รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในโรงเรียนประถมศึกษา
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในโรงเรียนประถมศึกษาวิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นที่คือ 1) การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในโรงเรียนประถมศึกษา โดยการสังเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 2) การสร้างรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในโรงเรียนประถมศึกษา โดยใช้ผลวิเคราะห์ข้อมูล จากการวิจัยในขั้นตอนที่ 1 และตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในโรงเรียนประถมศึกษา ด้วยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และ 3) การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในโรงเรียนประถมศึกษา โดยการสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาระดับประถมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 386 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า
รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในโรงเรียนประถมศึกษาประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ขอบข่ายการบริหารการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญประกอบด้วย 10 งาน ได้แก่ การบริหารหลักสูตร การจัดการการเรียนรู้ทีเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การบริหารสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี การวัดผลประเมินผล การวิจัยและพัฒนา การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ การแนะแนว การพัฒนาบุคลากร ด้านการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน การประสานความร่วมมือกับชุมชนและองค์กรอื่น 2) กระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ประกอบด้วย 8 ขั้น ได้แก่ การสร้างความรู้สึกเร่งด่วน การสร้างทีมผู้นำการเปลี่ยนแปลง การสร้างวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง การวางแผนการเปลี่ยนแปลง การดำเนินการเปลี่ยนแปลงการสร้างชนะระยะสั้น การสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และการรักษาการเปลี่ยนแปลงให้คงอยู่ 3) บุคคลที่มีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้ ประกอบไปด้วย 4 กลุ่ม คือ ผู้กำกับการเปลี่ยนแปลงคือ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ผู้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงคือรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่และศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารการเปลี่ยนแปลงคือผู้บริหารสถานศึกษา และผู้เปลี่ยนแปลงคือครูผู้สอนและนักเรียน
การประเมินรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในโรงเรียนประถมศึกษา ที่พัฒนาขึ้นมีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดและความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ : การบริหารการเปลี่ยนแปลง/ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
Abstract
The main objective of this research is to develop a change management model for child-centered learning management in primary schools. The research method followed 3 steps: 1) studying state and ways for change management of child-centered learning management in primary schools by analysis and synthesis the related documents, and interviewing the administrators and teachers and the seminar among a group of experts. 2) making a draft of a tentative model for change management of child-centered learning management in primary schools and check its appropriateness by group discussion among 9 experts , and 3) evaluating its feasibility and usefulness of the drafted a change management model of child-centered learning management in primary schools by surveying the opinions of 386 school administrators in lower - northern Thailand. The statistics employed for data analysis is average and standard deviation. The research results found:
The developed change management model for child-centered learning management in primary schools consists of 3 components: 1) The scope of the administrative tasks in change management of child-centered learning management consist of 10 components : curriculum management, change management of child-centered learning management, information technology management, measurement, the research and development (R&D), learning sources development, guidance systems, personnel development for learning management, internal quality assurance development and coordination for cooperation from community and other organizations 2) The process of change management for child-centered learning management in primary schools consists of 8 components : creating the urgency feeling, building the guide team, defining their own vision, planning of change, doing by change plan, creating the short-term success, creating the change continuously, and making the change lasting. 3) Key roles for the change management consist of the director of the primary education service area as a change monitor, the deputy director and supervisors as a change supporter, the school administrators as a change manager and the all of teachers and students as a change target.
The change management model for child-centered learning management in primary schools was evaluated at the highest level of in practicality and usefulness.
Key words: model for change management/ child-centered learning management
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.