รูปแบบการบริหารกิจกรรมจิตสาธารณะในโรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

Main Article Content

บุญเรือง กันกรด
เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย
สมบัติ นพรัก นพรัก
สำราญ มีแจ้ง

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารกิจกรรมจิตสาธารณะในโรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา โดยมีการดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการบริหารกิจกรรมจิตสาธารณะในโรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ด้วยการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบ และสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนที่เป็นแบบอย่างที่ดีเกี่ยวกับแนวทางการบริหารกิจกรรมจิตสาธารณะในโรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจำนวน 5 โรงเรียน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารกิจกรรมจิตสาธารณะในโรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา โดยการยกร่างรูปแบบ และตรวจสอบรูปแบบตรวจสอบความเหมาะสมของร่างรูปแบบการบริหารกิจกรรมจิตสาธารณะในโรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา โดยการอภิปรายกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน ขั้นตอนที่ 3 การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์รูปแบบการบริหารกิจกรรมจิตสาธารณะในโรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา โดยการสำรวจความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบจำนวน

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

รูปแบบการบริหารกิจกรรมจิตสาธารณะในโรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ที่สร้างขึ้นและได้รับการตรวจสอบความเหมาะสมจากผู้ทรงคุณวุฒิมี 4 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 นโยบายการบริหารกิจกรรมจิตสาธารณะ ซึ่งมี 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) การกำหนดนโยบาย วิสัยทัศน์ พันธะกิจ เป้าประสงค์ ของการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 2) คณะกรรมการ การบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3) แผนพัฒนาสถานศึกษากิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์การบริหารกิจกรรมจิตสาธารณะ ซึ่งมี 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) ส่งเสริมการจัดกิจกรรมโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้ดำเนินการเองเน้นคิดวิเคราะห์และใช้ความคิดสร้างสรรค์ 2) ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนบำเพ็ญประโยชน์ ครอบครัว ชุมชน โรงเรียน 3) ส่งเสริมจิตสำนึกในการบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมวิถีชีวิตประเพณีและวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง 4) ส่งเสริมให้มีเครือข่ายความร่วมมือ กิจกรรมจิตสาธารณะกับสถานศึกษาและหน่วยงานของรัฐและเอกชน องค์ประกอบที่ 3 ขอบข่ายการจัดกิจกรรมจิตสาธารณะ ซึ่งครอบคลุมกิจกรรม 5 ประเภท คือ 1) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 2) กิจกรรมการรณรงค์ 3) กิจกรรมการช่วยทำงานเพื่อสังคม  4) กิจกรรมช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ 5) กิจกรรมการให้กำลังใจผู้เสียสละเพื่อสังคม องค์ประกอบที่ 4 กระบวนการบริหารกิจกรรมจิตสาธารณะ ซึ่งมี 45 องค์ประกอบย่อย

ผลการประเมินรูปแบบการบริหารกิจกรรมจิตสาธารณะ ในโรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พบว่า มีความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก

Abstract

This research was intended to develop a model for the management of public-minded activities in the school under the Office of Secondary Education Service Area. The research followed 3 steps: First, studying state of the management of public-minded activities by exploring the opinions of the administrators and teachers in change and interviewing the administrators of 5 selected benchmark schools for management of public- minded activities; second, drafting a model for the management of public-minded activities, by using the results from step-one research. The validation of the drafted model was made through group-discussion among 9 experts; third, evaluating the feasibility and usefulness of the constructed model by exploring the opinions of the school directors and teachers involved.

This is the research finding The constructed model for management of public – minded activities in the school, validated for its appropriateness by the experts, consists of 4 components: component 1: policy for the management of public – minded activities with 3 associated guideline activities: 1) Setting policy, vision, mission, goals of the management of activities for developing students, 2) Committee of the management of the management of activities for developing students, 3) school development plans on guidance activities, student activities, activities for social and public benefits, component 2: Objectives for the management of public – minded activities with 4 associated activities: 1) promoting management of the activities, initiated by students analytic and creative thinking. 2) promoting the management of teaching learning activities to cultivate in the learners the spirit of behaving beneficial to families, communities, and schools. 3) promoting the cultivation of the awareness in self – conducting behavior beneficial to folkways, customs and culture, continuously 4 promoting the establishment of cooperation networks for public – minded activities among schools and external agencies of government and private sectors, component 3: scope of the management of public – minded activities covers 5 categories: 1) Activities for developing learners 2) Activities for campaigning of public – minded awareness 3) Activities for public services 4) Activities for alleviating the sufferings of the victims of natural disasters 5 Activities for encouraging those who sacrificed for society. Component 4: process of the management of public – minded activities with 45 associated activities.

The evaluation of the constructed model for the management of public – minded activities in the school yielded the results at the highest level of feasibility and usefulness.

Article Details

How to Cite
กันกรด บ., พานิชย์ผลินไชย เ., นพรัก ส. น., & มีแจ้ง ส. (2014). รูปแบบการบริหารกิจกรรมจิตสาธารณะในโรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. Journal of Education and Innovation, 15(5), 103–112. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/16363
Section
Research Articles