รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

ชาญณรงค์ อินอิว
อนุชา กอนพ่วง
ปกรณ์ ประจันบาน

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งกระบวนการวิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ มีขั้นตอนการดำเนินงาน 3 ขั้นตอน ดังนี้ คือ ขั้นตอนที่ 1 เป็นการสร้างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสังเคราะห์จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วยกเป็นร่างรูปแบบ ต่อจากนั้นจึงปรับเป็นรูปแบบเชิงสมมติฐานตามความเห็นของครู ครอบครัวครู และผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาครู โดยกระบวนการสัมภาษณ์ ขั้นตอนที่ 2 เป็นการตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบเชิงสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามตัวแปรต่างๆ จากครูจำนวน 920 คน และนำข้อมูลพื้นฐานมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม SPSS แล้ววิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรด้วยโปรแกรม LISREL และขั้นตอนที่ 3 เป็นการนำเสนอรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ตามความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ

ผลการวิจัย พบว่า

1. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่สร้างขึ้น ประกอบด้วยตัวแปรแฝง จำนวน 7 ตัว ซึ่งสามารถวัดได้จากตัวชี้วัดและตัวแปรสังเกตได้ จำนวน 47 ตัว

2. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เมื่อปรับปรุงโมเดลแล้วมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยตัวแปรแฝงอื่นๆ ในรูปแบบสามารถอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพชีวิตการทำงานของครู ได้ร้อยละ 93 (Chi-Square = 438.30, df = 484,
P-value = 0.93, GFI = 0.98, AGFI = 0.95, RMR = 0.024,
RMSAE = 0.00)

3. นำเสนอรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยพิจารณาจากค่าอิทธิพลที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูตามเกณฑ์การตรวจสอบความเป็นไปได้ในบริบทอำนาจหน้าที่ของสถานศึกษา มี 2 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 อิทธิพลทางตรง ได้แก่ ปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะตัวของครู

 

 

และรูปแบบที่ 2 อิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวม ได้แก่ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะการบริหารจัดการในองค์การ และปัจจัยด้านภาระงานสายสนับสนุนการสอน ซึ่งการนำเสนอรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของครู ประกอบด้วย จุดมุ่งหมาย จำนวน 7 ข้อ กิจกรรม จำนวน 9 กิจกรรม และตัวชี้วัด จำนวน 7 ตัวชี้วัด

คำสำคัญ: ครู/ คุณภาพชีวิตการทำงาน

 

Abstract

The objective of this research was to build a model of quality of work life of teachers in basic education schools. The research methodology was a mixture of quantitative and qualitative Procedures. The research procedure was comprised of 3 phases : phase 1 – the formulation of an initial hypothetical model of factors affecting quality of work life of teachers in basic education schools, based upon related documentary analysis, in-depth interview of experts in teaching, multi-case studies, and the verification and modification of the initial hypothetical model through the Focus Group Interviews ; phase 2 – test the goodness of fit of the modified model in the empirical data through quantitative research. Data was collected from 920 teachers on the basis of the variables in a causal model of factors affecting quality of work life of teacher in basic education schools. The SPSS programs were used to analyze the data. And the LISREL program was used to analyze descriptive statistics. ; phase 3 – control a model of quality of work life of teachers in basic education schools with that model through Focus Group Discussion.

The research results revealed that:

1. A model of quality of work life of teachers in basic education schools consisted of 7 latent variables measured from 47 observed variables.

2. A model of quality of work life of teachers in basic education schools was fitted with the empirical data. Most latent variables in the model could explain 93% of the variation in quality of work life of teachers. (Chi-Square = 438.30, df = 484,
P-value = 0.93, GFI = 0.98, AGFI = 0.95, RMR = 0.024,
RMSAE = 0.00)

3. A model of development of quality of work life of teachers in basic education schools was proposed by controllable with context of school and some effect. That composes of 2 models; type 1 model: individual person was direct effect on quality of work life of teachers, type 2 model: environment, administrational organization, and other educational task were indirect effect and total effect on quality of work life of teachers. Models were 7 objectives, 9 activities, and 7 indicators.

Key words: Teacher/ Quality of Work Life

Article Details

How to Cite
อินอิว ช., กอนพ่วง อ., & ประจันบาน ป. (2014). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. Journal of Education and Innovation, 15(5), 113–123. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/16364
Section
Research Articles