รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการทำงานเป็นทีมของบุคลากร ทางการศึกษา ผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

Main Article Content

ประโยชน์ คล้ายลักษณ์
ฉันทนา จันทร์บรรจง จันทร์บรรจง
ภาณุวัฒน์ ภักดีวงศ์
อนุชา กอนพ่วง

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการทำงานเป็นทีมของบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสมผสานของการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ (Mixed Methods Research) จำแนกการวิจัยเป็นขั้นตอน ดังนี้ การวิจัยขั้นที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยแบบสอบถาม เพื่อทราบความต้องการองค์ประกอบ และวิธีการพัฒนาสมรรถนะการทำงานเป็นทีม จากบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติหน้าที่ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 350 คน ขั้นตอนที่ 2 เป็นการพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการทำงานเป็นทีม จากข้อมูลการวิจัยขั้นตอนที่ 1 โดยผู้วิจัย แล้วตรวจสอบรับรองรูปแบบที่พัฒนาขึ้นถึงความเหมาะสมของรูปแบบ.โดยผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาหลักสูตร นักวิชาการด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา หรือผู้แทน จำนวน 7 คน และขั้นตอนที่ 3 เป็นการตรวจสอบประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการทำงานเป็นทีม ของบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในประเด็นความเหมาะสม ความสอดคล้อง ความเป็นไปได้ และความถูกต้องครอบคลุม โดยการสนทนากลุ่มอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้

1. บุคลากรผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ต้องการพัฒนาสมรรถนะด้านการทำงานเป็นทีมในมิติเกี่ยวกับ การกำหนดเป้าหมายร่วมกัน การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ การไว้เนื้อเชื่อใจ และการยอมรับนับถือ โดยต้องการวิธีการพัฒนาสมรรถนะในลักษณะการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การฝึกอบรม และการฝึกปฏิบัติงานกับผู้เชี่ยวชาญ

2. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการทำงานเป็นทีมของบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มีลักษณะเป็น หลักสูตรการฝึกอบรม และคู่มือการฝึกอบรมที่ประกอบด้วยโครงสร้างสำคัญ 6 ส่วน ได้แก่ หลักการและเหตุผล จุดมุ่งหมายของหลักสูตร โครงสร้างหลักสูตร เนื้อหาหลักสูตรและกิจกรรมการฝึกอบรม กระบวนการฝึกอบรม การวัดและประเมินผลการฝึกอบรม

3. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการทำงานเป็นทีมของบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่พัฒนาขึ้น ได้รับการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ปฏิบัติในลักษณะเห็นชอบถึงความเหมาะสม ความสอดคล้อง ความเป็นไปได้ และความถูกต้องครอบคลุม ในระดับมาก

คำสำคัญ: การพัฒนาสมรรถนะ/ การทำงานเป็นทีม/ บุคลากรทางการศึกษา

 

Abstract

This research aimed at developing teamwork competency of educational personnel in the office of primary education areas. The specific objectives were: 1) to identify the needs for teamwork competency of educational personnel in the office of primary education areas 2) to create a model for development of teamwork competency of educational personnel in the office of primary education areas, and 3) to validate the model for development of teamwork competency of educational personnel in the office of primary education areas.

The research methodology was based on mixed methods. The assessment of needs for teamwork competency used an opinion survey of 350 samples from educational personnel in the office of primary education areas throughout the country. The designing and validating of the teamwork competency development model relied on qualitative methods.

The findings:

1. Teamwork competencies development of educational personnel in the office of primary education service areas was highly needed in 5 domains; common objectives, creative communication, participation, trust, and respect. The most required methods for development of teamwork competencies were workshop, training, and counterpart.

2. The model for development of teamwork competencies of educational personnel in the office of primary education areas was the Teamwork Development Curriculum composed of 6 parts: Principles and Rationale; Program Objectives; Program Structure; Training Activities; and Measure and Evaluation of the Training.

3. The experts agreed that the model for development of teamwork competencies of educational personnel in primary education area offices was highly appropriate, concurrent, feasible, and correct.

Key words: competency development/ teamwork/ educational personnel

Article Details

How to Cite
คล้ายลักษณ์ ป., จันทร์บรรจง ฉ. จ., ภักดีวงศ์ ภ., & กอนพ่วง อ. (2014). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการทำงานเป็นทีมของบุคลากร ทางการศึกษา ผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. Journal of Education and Innovation, 15(5), 136–145. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/16366
Section
Research Articles