การพัฒนาระบบการบริหารเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

Main Article Content

สมศักดิ์ เอี่ยมดี
มานิตย์ ไชยกิจ
กาญจนา เงารังษี
สุมาลี จันทร์ชลอ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างระบบการบริหารเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่มีประสิทธิผล โดยมีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาองค์ประกอบของระบบการบริหารเครือข่ายการมีส่วนร่วม โดยการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน 2) การสร้างและพัฒนาระบบการบริหารเครือข่ายการมีส่วนร่วม โดยยกร่างระบบฯ เชิงทฤษฎีและตรวจสอบโดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน และประเมินความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้อง 3) การทดลองใช้ระบบการบริหารเครือข่ายการมีส่วนร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 จำนวน 1 แห่ง ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ,
รองผู้อำนวยการ และผู้อำนวยการกลุ่ม จำนวน 18 คน 4) การประเมินผลการใช้ระบบการบริหารเครือข่ายการมีส่วนร่วม ในด้านความสำเร็จ ความพึงพอใจ และความต่อเนื่อง โดยใช้แบบสอบถามกับผู้เกี่ยวข้อง รวม 18 คน สถิติที่ใช้ค่าเฉลี่ย (\bar{x}) ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบที่มีประสิทธิผลของระบบการบริหารเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เป็นเครือข่ายผสมผสานระหว่างบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งอย่างไม่เป็นทางการและเป็นทางการช่วยการทำงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ประกอบด้วย 1) องค์การของเครือข่าย 2) การจัดการเครือข่าย 3) การใช้ประโยชน์จากเครือข่าย 4) การธำรงรักษาเครือข่าย

2. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารเครือข่าย โดยผู้เชี่ยวชาญพบว่ามีความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้องในระดับมากที่สุด ยกเว้น องค์ประกอบที่ 3 การใช้ประโยชน์จากเครือข่ายความเป็นไปได้ และองค์ประกอบที่ 4 การธำรงรักษาเครือข่าย ความเป็นไปได้ ความถูกต้องในภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

3. ผลการประเมินผลการใช้ระบบการบริหารเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ความสำเร็จในภาพรวมมีความสำเร็จในระดับมากที่สุด การพัฒนาระบบสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับเครือข่ายการจัดการศึกษาได้มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ความพึงพอใจภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด การพัฒนาระบบมีการจัดศูนย์ประสานงาน ติดต่อสื่อสาร และพัฒนาความรู้และทักษะระหว่างสมาชิกมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ความต่อเนื่องภาพรวมมีความต่อเนื่องในระดับมากที่สุด การพัฒนาระบบมีการกำหนดคู่มือการบริหารงานอย่างชัดเจนสามารถนำไปปฏิบัติได้มีค่าเฉลี่ยสูงสุด

คำสำคัญ : การพัฒนาระบบบริหารเครือข่าย/ การมีส่วนร่วม

 

Abstract

The purpose of this study was to develop an efficient participative education networks system under the management of primary educational service area offices. The methodology includes four steps as follows: 1) study the elements of the participative education networks system by synthesizing related documents and research, as well as interviewing eight experts, 2) create and develop the participative networks management system by drafting a theoretical system, holding a seminar with seven experts, and evaluating the benefits, feasibility, appropriateness, and accuracy, 3) experiment the participative education networks system under the management of primary educational service area 2, Kampaengpet provincial office with 18 subjects—the school director, deputy director, and group directors, and 4) evaluate the use of the participative networks  management system in terms of success, satisfaction, and continuity by using questionnaires with 18 subjects. The statistics used were mean, percentage, and standard deviation.

The findings showed that:

1. The efficient participative education networks system under the management of primary educational service area offices is an integrated network between people and information technology both formally and informally. In addition, the system also helped create efficient and effective work performance in 1) networks organization, 2) networks management, 3) networks benefit, and networks maintenance.

2. The results of networks management model evaluation by the experts were beneficial, feasible, appropriate, and accurate at the highest level. However, the overall networks benefit and feasibility of the third element, as well as the networks maintenance, feasibility, and accuracy of the fourth element were influential to the evaluation at a high level.

3. The overall evaluation results of the use of participative education networks systemunder the management of primary educational service area offices evaluation were successful at the highest level. The development of the system could appropriately be adapted to education networks at the highest level. Also, the overall satisfaction was at the highest level. The development of the system, the organization of coordination center for information exchange, knowledge and skill development among the members, was at the highest mean score. The overall continuity was at the highest level, and the system development, the development of the management handbook, which could be used in real world, was also at the highest mean score.

Key words: Networks Management System Development/ Participation

Article Details

How to Cite
เอี่ยมดี ส., ไชยกิจ ม., เงารังษี ก., & จันทร์ชลอ ส. (2014). การพัฒนาระบบการบริหารเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. Journal of Education and Innovation, 15(5), 216–224. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/16391
Section
Research Articles