รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน ของครูประถมศึกษาเขตภาคเหนือตอนล่าง

Main Article Content

สุรสิทธิ์ ลาภอินทรีย์
มานิตย์ ไชยกิจ
ทิพยวรรณ กิตติพร
ปกรณ์ ประจันบาน

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความเสี่ยงในการปฏิบัติงานของครูประถมศึกษา เขตภาคเหนือตอนล่าง โดยดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสี่ยงในการปฏิบัติงานของครูประถมศึกษา เขตภาคเหนือตอนล่าง ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความเสี่ยงในการปฏิบัติงานของครูประถมศึกษา เขตภาคเหนือตอนล่าง ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความเสี่ยงในการปฏิบัติงานของครูประถมศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง คือครูจากสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 640 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์เส้นทาง

ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน ของครูประถมศึกษาเขตภาคเหนือตอนล่าง มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่าสถิติ x2 = 140.11, p = .072, df = 117,x2/df = 1.20, GFI = 0.99, AGFI = 0.94, RMR = 0.35 และ RMSEA = 0.018 โดยปัจจัยทีส่งผลต่อความเสี่ยงในการปฏิบัติงานของครูประถมศึกษา เขตภาคเหนือตอนล่าง สามารถอธิบายความแปรปรวนในความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน ของครูประถมศึกษา เขตภาคเหนือตอนล่าง และมีอิทธิพลต่อความเสี่ยงในการปฏิบัติงานของครูประถมศึกษา เขตภาคเหนือตอนล่าง ดังนี้

1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรง ต่อความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน ของครูประถมศึกษา เขตภาคเหนือตอนล่าง อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือปัจจัยมาตรฐานการปฏิบัติงาน มี ขนาดอิทธิพลสูงที่สุดเท่ากับ -.30 รองลงมาคือปัจจัยด้านชีวสังคม มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ -.14

2. ไม่มีปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อม ต่อความเสี่ยงในการปฏิบัติงานของครูประถมศึกษา เขตภาคเหนือตอนล่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ปัจจัยที่มีอิทธิพลรวม ต่อความเสี่ยงในการปฏิบัติงานของครูประถมศึกษา เขตภาคเหนือตอนล่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ปัจจัยด้านมาตรฐานการปฏิบัติงานปัจจัยด้านชีวสังคม และปัจจัยด้านสมรรถนะครู มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ -.30, -.10 และ -.09 ตามลำดับ

คำสำคัญ : รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, ความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน, ครูประถมศึกษา, ภาคเหนือตอนล่าง

 

Abstract

The purpose of this study was to develop a causal relationship model of risk taking of working performances among the primary school teachers in lower northern area of the country. The study was conducted in three consecutive stages. Stage one was the in-depth interview with six primary school teachers and the review of literature to find factors affecting performance risk the primary teachers. Stage two was the building of a causal relationship model of performance risk of the primary teachers in lower northern area. This stage was conducted by content analysis of related studies and by focus group interview with nine experts in this field. The third stage was done to verify the congruence between the newly-built model and empirical data obtained from 640 primary school teachers working in the fundamental institutes in lower northern area. The sampling of the representatives applied multi-staged sampling technique. The analysis was done by descriptive statistics, correlation coefficient analysis, and path analysis.

The results of the study revealed that the newly-built causal relationship model of factors affecting performance risk was congruent with the empirical data obtained from those 640 respondents in the study (x2 = 140.11, p= .072, df = 117,
x2 /df = 1.20, GFI = 0.99, AGFI = 0.94, RMR = 0.12 RMSEA = 0.018).

This could be explained in terms of variances of risk taking in work performances of primary school teachers in lower northern area as follows:

1. The direct factor affecting performance risk of the primary teachers in lower northern area which were significant at 0.5 level were standard working factor, which yielded the highest value of -.30. The second highest value of -.14 was biosocial factor.

2. All the indirect factors affecting performance risk of the primary school teachers in lower northern area were not statistically significant at 0.5 level.

3. The total factors affecting performance risk of the primary school teachers in lower  northern area which was significant at 0.5 level were standard working factor, biosocial factor, and competency factor, and with the values of -.30, -.10, and -.09 respectively.

Article Details

How to Cite
ลาภอินทรีย์ ส., ไชยกิจ ม., กิตติพร ท., & ประจันบาน ป. (2014). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน ของครูประถมศึกษาเขตภาคเหนือตอนล่าง. Journal of Education and Innovation, 15(5), 248–257. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/16394
Section
Research Articles