รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนระดับประถมศึกษา ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

Main Article Content

สุระ อ่อนแพง
ปัญญา สังขวดี
วิทยา จันทร์ศิลา
สำราญ มีแจ้ง

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนระดับประถมศึกษาในสถาน ศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนคือ 1) การ ศึกษาคุณธรรมจริยธรรมและการบริหารเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เอกสาร ศึกษากระบวนการบริหารโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี 6 แห่ง และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน 2) การสร้างรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนระดับประถมศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยอาศัยผลการศึกษาในขั้นตอนที่ 1 และตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบฯ โดยวิธีสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน 3) การประเมินรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยการสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากผู้บริหารและครูถึงความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ในการนำรูปแบบไปใช้ จำนวน 60 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนระดับประถมศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่สร้างขึ้น มี 3 องค์ประกอบ ดังนี้  องค์ประกอบที่ 1 คุณธรรมจริยธรรมนักเรียนระดับประถมศึกษา 14 ประการ 1) ความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2) ความเมตตากรุณา 3) ความซื่อสัตย์สุจริต 4) ความมีระเบียบวินัย 5) ความขยันหมั่นเพียรและมุ่งมั่นการทำงาน 6) ความกตัญญูกตเวทีและรักความเป็นไทย 7) ความรับผิดชอบ 8) ความอดทนอดกลั้น 9) ความเคารพและอ่อนน้อมถ่อมตน 10) ความพอเพียง 11) ความมีจิตสาธารณะ 12) ความยุติธรรม 13) ความสามัคคี 14) ความใฝ่เรียนรู้ องค์ประกอบที่ 2 วิธีการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน มี 4 วิธี ดังนี้ 1) การบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ 2) การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมโดยผู้ปกครองมีส่วนร่วม 4) การจัดกิจกรรมพัฒนาตามวิถีชีวิตในชุมชน องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการบริหารเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม มี 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การทบทวนพันธกิจ 2) การวางแผน 3) การดำเนินงาน 4) การติดตามประเมินผล 5) การรายงานผลการประเมินรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่สร้างขึ้น มีความเป็นไปได้ในระดับมาก และความมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

คำสำคัญ: คุณธรรมจริยธรรมนักเรียนระดับประถมศึกษา/ รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม

 

Abstract

The main purpose of this study was to develop a management model for developing the students’ morality and ethics in schools under the Primary Educational Service Areas. The process of the research followed 3 steps ; 1)studying morality and ethics , and ways of the cultivation by analyzing relevant documents, studying the management process of 6 best-practice schools ,and interviewing 5 experts. 2) constructing a tentative management model for developing the students’ morality and ethics in schools based upon the results from the research of step 1 and validating the model through group discussion of 10 experts. 3) evaluating the feasibility and usefulness of the constructed management model through the seminar with 60 administrators and teachers. The statistics employed for data analysis were means and standard deviation.

The results found that: the management model for developing the students’ morality and ethics in schools under the Primary Educational Service Areas consisted of 3 components: component 1 : the students’ morality and ethics, embracing : 1) a love of nation, religion and dynasty 2) mercy and kindness 3) honesty 4) discipline 5) diligence and perseverance 6) gratitude and love of Thai-ness 7) responsibility 8) endurance and tolerance 9) respect and humbleness 10) a sense of sufficiency 11) service mind  12) justice 13) esprit de corps, and 14) learning mind ; component 2 : 4 strategies of developing morality and ethics : 1) integrating morality and ethics into learning management 2) conducting learner developing activities; 3) guardians-involved activities according to the school mission; 4) development activities in everyday life of the community and component 3 : 5 - step process of the model management, embracing; 1) reviewing the school mission 2) planning  3) implementing 4) accessing, and 5) reporting.

The evaluation of the management model yielded the results at a high level of feasibility and the highest level of usefulness.

Key words: Primary Students’ Ethics/ The Development Models of the Students’ Ethics 

Article Details

How to Cite
อ่อนแพง ส., สังขวดี ป., จันทร์ศิลา ว., & มีแจ้ง ส. (2014). รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนระดับประถมศึกษา ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. Journal of Education and Innovation, 15(5), 258–265. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/16396
Section
Research Articles