รูปแบบการบริหารงานกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

Main Article Content

สุริชา ชาติสุทธิ
อนุชา กอนพ่วง
ฉลอง ชาตรูประชีวิน
ปกรณ์ ประจันบาน

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารงานกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและวัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารงานกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเพื่อประเมินรูปแบบการบริหารงานกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เป็นการประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) การดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพการบริหารงานกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คน 2) การสร้างรูปแบบการบริหารงานกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยการยกร่างรูปแบบการบริหารงานกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารงานกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ด้วยการจัดประชุมสนทนากลุ่ม (Focus group Discussion) โดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน 3) การประเมินรูปแบบการบริหารงานกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพื่อประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ ด้วยการจัดประชุมประชาพิจารณ์ (Public Hearing) และการประเมินเอกสาร โดยกลุ่มผู้ประเมิน จำนวน 60 คน

ผลการวิจัยพบว่า

1) ผลการศึกษาสภาพการบริหารงานกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ขอบข่ายงานกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน และองค์ประกอบที่ 2 กระบวนการบริหารงานกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน

2) ผลการสร้างรูปแบบการบริหารงานกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ขอบข่ายงานกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน ประกอบด้วย 1) งานส่งเสริมข้อมูลและสารสนเทศสถานศึกษาเอกชน  2) งานส่งเสริมและดำเนินการเปลี่ยนแปลงสถานศึกษาเอกชน 3) งานส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาเอกชน 4) งานส่งเสริมการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษาเอกชน 5) งานส่งเสริมด้านการอุดหนุนกองทุนสวัสดิการ 6) งานส่งเสริมการนิเทศการศึกษาสถานศึกษาเอกชน และองค์ประกอบที่ 2 กระบวนการบริหารงานกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน ประกอบด้วย 1)  ด้านการวางแผน (Planning 2) ด้านการจัดองค์กร (Organizing) ได้แก่ (1) การปฏิบัติงานระดับกลุ่ม และ (2) การปฏิบัติงานแบบบูรณาการ ประกอบด้วย (2.1) แผนพัฒนาบุคลากรกลุ่ม (2.2) แผนพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาเอกชน (2.3) แผนปฏิบัติการประจำปี (2.4) การกำกับติดตามและประเมินการบริหารงานสถานศึกษาเอกชน (2.5) การจัดตั้งศูนย์เครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสถานศึกษาเอกชน (2.6) แผนการนิเทศการศึกษา (2.7) แผนการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาเอกชน (2.8) รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 3) ด้านการนำ (Leading) 4) ด้านการติดตามตรวจสอบประเมิน (Checking) และผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นสอดคล้องกันว่า รูปแบบการบริหารงานกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มีความเหมาะสมในอยู่ในระดับมาก

3) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารงานกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กลุ่มผู้ประเมินมีความเห็นสอดคล้องกันว่า รูปแบบการบริหารงานกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาพรวม มีความเป็นไปได้และมีความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมาก  

คำสำคัญ : การบริหารงานกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน/ สถานศึกษาเอกชน

 

Abstract

The main purpose of this research was to present a model for administration of Private School Promotion Section under Primary Educational Service Areas Office. The specific purposes were to study education network and processes of the administration of Private School Promotion Section under Primary Educational Service Areas Office and to evaluate the model of the administration of Private School Promotion Section under Primary Educational Service Areas Office. Research and development methodology were applied. The research followed  3 steps ; 1) studying education network and processes of the administration of Private School Promotion Section under Primary Educational Service Areas Office by synthesis of documents and related researches on private schools administration and interviewing 16 stakeholders and 4 experts, 2) constructing the model for administration of Private School Promotion Section under Primary Educational Service Areas Office by drafting the administration of Private School Promotion Section under Primary Educational Service Areas Office and inspect suitability of the drafted model by focus group discussion of 12 experts and 3) evaluating the feasibility and usefulness of the model for administration of Private School Promotion Section under Primary Educational Service Areas Office by public hearing of 60 participants.

The research findings were as follows:

1. Education network and administrative processes of Private School Promotion Section under Primary Educational Service Areas Office comprised 2 parts ; part 1, work network of the administration of private schools  and part 2, administration processes of private school promotion group.

2. The model for the administration of Private School Promotion Section under Primary Educational Service Areas Office comprised 2 parts ; Part 1, networks of private school promotion group comprised 1) promotion and Information of private school promotion group, 2) promotion and implementation of change of private school promotion group, 3) promotion of the development of education quality of private school promotion group, 4) promotion of Personnel Management of private school promotion group, 5) promoting the welfare fund contributions of private school promotion group and  6) education supervision of private school promotion group. Part 2 organization management comprised 1) group working, 2) integrated operations  consisted of 2.1 personnel development plan of private school promotion group, 2.2) personal development plan of private school promotion group, 2.3) annual operation plan of private school promotion group, 2.4) monitoring and evaluating the administration of private school promotion group, 2.5) establishing network centers for exchanging learning of private school promotion group, 2.6) educational Supervision Plan of private school promotion group, 2.7) educational evaluation plan of private school promotion group, 2.8) annual action report, 3) Leading and 4) checking. The experts indicated that the model for the administration of private school promotion group was at a high level.

3. The result of the evaluation of the constructed model for administration of Private School Promotion Section under Primary Educational Service Areas Office indicated that feasibility and usefulness of the administration of Private School Promotion Section under Primary Educational Service Areas Office was at a high level.

Key words : Administration of Private School Promotion Section/ Private school

Article Details

How to Cite
ชาติสุทธิ ส., กอนพ่วง อ., ชาตรูประชีวิน ฉ., & ประจันบาน ป. (2014). รูปแบบการบริหารงานกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. Journal of Education and Innovation, 15(5), 266–277. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/16397
Section
Research Articles