กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพชีวิตครูและบุคลากรทางการศึกษาหลังการเกษียณ อายุราชการในเขตภาคเหนือตอนล่าง

Main Article Content

อภิสิทธิ์ มั่นศักดิ์
เรขา อรัญวงศ์
สำราญ มีแจ้ง

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตครูและบุคลากรทางการศึกษาหลังเกษียณอายุราชการ ในเขตภาคเหนือตอนล่าง (7 จังหวัด : กำแพงเพชร ตาก สุโขทัย พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ และพิจิตร) 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพชีวิตครูและบุคลากรทางการศึกษาหลังเกษียณอายุราชการ ในเขตภาคเหนือตอนล่าง 3) เพื่อประเมินกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพชีวิตครูและบุคลากรทางการศึกษาหลังเกษียณอายุราชการ ในเขตภาคเหนือตอนล่าง การวิจัยกระทำเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาคุณภาพชีวิตครูและบุคลากรทางการศึกษาหลังเกษียณอายุราชการในเขตภาคเหนือตอนล่าง กระทำโดยการใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง 375 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาที่เกษียณอายุราชการ และจากการสนทนากลุ่ม ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาที่เกษียณอายุราการนอกเหนือกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 12 คน 2) พัฒนากลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพชีวิตครูและบุคลากรทางการศึกษาหลังเกษียณอายุราชการ ในเขตภาคเหนือตอนล่างโดย 2.1) วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (SWOT Analysis) จัดทำร่างกลยุทธ์ โดยประชุมเชิงปฏิบัติการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญที่มาจาก ผู้บริหารสถานศึกษา อาจารย์ผู้สอนในมหาวิทยาลัย ครูผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษาจำนวน 30 คน 2.2) ตรวจสอบร่างกลยุทธ์โดยจัดสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญโดยมีผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 คน 3) ประเมินกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพชีวิตครูและบุคลากรทางการศึกษาหลังเกษียณอายุราชการ ในเขตภาคเหนือตอนล่าง กระทำโดยสอบถามผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารกลยุทธ์และนักวิชาการจำนวน 17 คน โดยการใช้แบบสอบถาม แบบ Rating scale ประเมินด้านความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1) คุณภาพชีวิตครูและบุคลากรทางการศึกษาหลังเกษียณอายุราชการ ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ทั้ง 5 ด้าน กล่าวคือ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านความมั่นคงในชีวิตในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ถึงระดับมาก 2) กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพชีวิตครูและบุคลากรทางการศึกษาหลังเกษียณอายุราชการ ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วย 12 กลยุทธ์ 33 ตัวชี้วัด และ 28 มาตรการ/แนวทางในการพัฒนา 3) ผลการประเมินคุณภาพของกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพชีวิตครูและบุคลากรทางการศึกษาหลังเกษียณอายุราชการในเขตภาคเหนือตอนล่าง โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่าในด้านความสอดคล้องของวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ประเด็นกลยุทธ์ กลยุทธ์ ตัวชี้วัด และมาตรการ/แนวทางในการพัฒนา มีความสอดคล้องกันในระดับมากถึงมากที่สุด และการประเมินในด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ มีผลการประเมินในระดับมาก และมากที่สุด แสดงให้เห็นว่ากลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้

คำสำคัญ : กลยุทธ์การพัฒนา/ คุณภาพชีวิตครูและบุคลากรทางการศึกษา/ การเกษียณอายุราชการ

 

Abstract

The objectives of this research were: 1) to study quality of life development for teachers and educational personnel after government retirement in the lower northern area. 2) to develop strategies for quality of life development for teachers and educational personnel after government retirement in the lower northern area and 3) to evaluate the strategies for quality of life development for teachers and educational personnel after government retirement in the lower northern area. This research was conducted in 3 steps. 1) To study quality of life development for teachers and educational personnel after government retirement in the lower northern area, were examined by using a questionnaire from the opinion of 375 subjected and consisted principals by focus group discussion of 12 samples. 2) To develop strategies for quality of life development for teachers and educational personnel after government retirement in the lower northern area were workshop 2 times by SWOT analysis and TOWS Matrix for make strategies by 30 experts. In addition, continue to criticize and comment with connoisseurship by 8 experts. 3) Assessing the consistency, propriety, feasibility, and utility of the development strategy by 17 experts. The data were analyzed using percentage, standard division and content analysis.

Result of the study:

1. The quality of life development for teachers and educational personnel after government retirement in the lower northern area in 5 parts are body, mind, relations social, environment, and certain in life found that conditions were at a moderate to high level.

2. The quality of life development for teachers and educational personnel after government retirement in the lower northern area consisted of: 2.1) The developed strategies consisted of a vision, 1 mission, 5 goals, 5 strategies items, 12 strategies, 29 measures or guidelines and 37 indicators. 2.2) The developed strategies consisted of 5 strategies items as follows: 1) health promotion policy of the state, 2) the development of mental health by teaching religious principles. (Self-esteem) and receiving mental health care, 3) support the creation of networks to promote social relationships, 4) promoting environmental safety according to international, and 5) to promote the welfare and development of welfare income for stability in life.

3. The result of strategy’s consistency, propriety, feasibility, and utility assessment found that the strategy’s consistency was at a high and the highest level, the feasibility was at a high level, and the propriety and utility were at a high and the highest level respectively.

Key words: Strategy of the Quality of Life/ Development for Teachers and Educational Personnel/ Government Retirement

Article Details

How to Cite
มั่นศักดิ์ อ., อรัญวงศ์ เ., & มีแจ้ง ส. (2014). กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพชีวิตครูและบุคลากรทางการศึกษาหลังการเกษียณ อายุราชการในเขตภาคเหนือตอนล่าง. Journal of Education and Innovation, 16(2), 1–10. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/17533
Section
Research Articles