การพัฒนากลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2

Main Article Content

จรัญ พะโยม
ทวนทอง เชาวกีรติพงศ์
ปาจรีย์ ผลประเสริฐ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเสี่ยงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2 2) ศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2 และ 4) ประเมินกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2 ดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1. ความเสี่ยงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2 พบว่า โดยภาพรวมมีความเสี่ยงของการปฏิบัติงานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาความเสี่ยงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานรายด้าน พบว่า ส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยในระดับปานกลาง มีเพียงด้านเดียวที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย คือ ด้านกฎหมาย/ระเบียบ

2. สภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2 สรุปผล ได้ดังนี้

2.1 สภาพการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์มีการกำหนดวัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยงที่เฉพาะเจาะจงในแต่ละกิจกรรม/โครงการ สอดคล้องกับเป้าหมาย พันธกิจของกลยุทธ์ สามารถปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์เป้าหมายได้ ด้านการบ่งชี้เหตุการณ์ มีการนำข้อมูลที่มีผลกระทบต่อความเสี่ยงที่เคยเกิดขึ้นในอดีต มากำหนดระบุเหตุการณ์ความเสี่ยง ด้านการประเมินความเสี่ยงมีการนำข้อมูลของการเกิดความเสี่ยงมาประเมินความเสี่ยงด้านการตอบสนอง ความเสี่ยงมีการจัดระบบการบริหารจัดการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ด้านกิจกรรมควบคุมมีการกำหนดนโยบายและกระบวนการปฏิบัติงาน เพื่อให้มั่นใจว่าได้มีการจัดการความเสี่ยงในสถานศึกษา และด้านการติดตามผลมีการแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศ กำกับและติดตามการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษา กำหนดให้มีการประชุมรายงานผลและสรุปผล เพื่อนำผลมาวิเคราะห์ปรับปรุงแก้ไขในปีต่อไป

2.2 ปัญหาการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวมปัญหาการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับน้อย และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีปัญหาการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับน้อย แต่ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์ เป็นด้านที่มีปัญหามากกว่าด้านอื่นๆ คือ สถานศึกษาบางส่วนกำหนดวัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยงที่ไม่สอดคล้องกับพันธกิจ เป้าประสงค์ มาตรฐานการศึกษา และมาตรฐานของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)

2.3 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษา พบว่า ปัจจัยภายใน 7 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านยุทธศาสตร์ 2) ด้านโครงสร้างองค์การ 3) ด้านระบบงาน 4) ด้านทักษะ 5) ด้านค่านิยมร่วม 6) ด้านบุคลากรในองค์การ และ 7) ด้านรูปแบบการบริหาร ส่วนปัจจัยภายนอก 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านพฤติกรรมลูกค้า 2) ด้านการเมืองและกฎหมาย 3) ด้านสภาพเศรษฐกิจ 4) ด้านสภาพสังคม และ 5) ด้านเทคโนโลยี

3. กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2 ประกอบด้วย 1 วิสัยทัศน์ 1 พันธกิจ 4 เป้าประสงค์ 4 ประเด็นกลยุทธ์ 11 กลยุทธ์ 22 ตัวชี้วัด และ 48 มาตรการ

4. ผลการประเมินกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2 พบว่า วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ประเด็นกลยุทธ์
กลยุทธ์ ตัวชี้วัด และมาตรการ มีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก และมากที่สุด

คำสำคัญ: กลยุทธ์/ การพัฒนากลยุทธ์/ การจัดการความเสี่ยง/ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2

 

Abstract

The purposes of this research were (1) to study risks in basic education schools under Kamphaeng Phet Primary Educational Service Area Office 1 and 2, (2) to study conditions, problems and factors regarding risk management in Kamphaeng Phet Primary Educational Service Area Office 1 and 2, (3) to develop risk management strategies in basic education schools under Kamphaeng Phet Primary Educational Service Area Office 1 and 2, and (4) to evaluate risk management strategies in basic education schools under Kamphaeng Phet Primary Educational Service Area Office 1 and 2. Data were collected by means of questionnaire, focus group discussion, workshop, and connoisseurship. The data were analyzed through the applications of percentage, mean, standard deviation, and content analysis.

The findings could be given as follows:

1. The average of risks in basic education schools under Kamphaeng Phet Primary Educational Service Area Office 1 and 2 was overall at a moderate level. However, the average of risks regarding laws and regulations was at a low level.

2. Conditions, problems, and factors regarding risk management in Kamphaeng Phet Primary Educational Service Area Office 1 and 2 were as follows;

2.1 The conditions of risk management in terms of objective establishment, found that specific objectives of risk management established in accordance with each activity/project, goal and mission of strategies could be accomplished. In terms of event identification, data regarding risks of past events were identified risk events. In terms of risk assessment, data of risk occurrence were assessed. In terms of risk response, the administration system was created according to the Ministry of Education Act of B.E. 2546. With regard to control activities, policies and operational processes were set to assure the application of risk management in the schools. Finally, in terms of follow up, the supervisory committee was appointed to direct and monitor risk management applied in the schools by board providing meetings, reports and result conclusions to be analyzed and improved in the following year.

2.2 Problems of risk management were overall at a low level and the same as each aspect. However, the objective establishment had more problems than others; some schools set the objectives that were not corresponding with mission, goals, educational standards and standards of Office for National Education Standards and Quality Assessment (ONESQA).

2.3 The factors regarding risk management in basic education schools were categorized in to internal factors and external factors; internal factors e.g. 1) strategy, 2) organizational structure, 3) work system, 4) skill, 5) shared value, 6) personnel and 7) administration model; external factors e.g. 1) customer behavior, 2) politics and legal, 3) economic condition, 4) social condition and

5) technology.

3. Risk management strategies in basic education schools Kamphaeng Phet Primary Educational Service Area Office 1 and 2 consisted of 1 vision, 1 mission, 4 goals, 4 strategic issues, 11 strategies, 22 indicators, and 48 measures.

4. The result evaluation of risk management strategies in basic education schools under Kamphaeng Phet Primary Educational Service Area Office 1 and 2, found that visions, missions, goals, strategic issues, strategies, indicators and measures had consistency, appropriateness, probabilities and utilities at a high and the highest levels.

Key words: Strategy/ Strategy Development/ Risk Management/ Kamphaeng Phet Primary Educational Service Area Office 1 and 2

Article Details

How to Cite
พะโยม จ., เชาวกีรติพงศ์ ท., & ผลประเสริฐ ป. (2014). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2. Journal of Education and Innovation, 16(2), 22–34. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/17534
Section
Research Articles