การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องพะยูนและหญ้าทะเล สำหรับโรงเรียนชายฝั่งจังหวัดตรัง

Main Article Content

ณัฐทิตา โรจนประศาสน์
วิภาวรรณ ตินนังวัฒนะ
ประเสริฐ ทองหนูนุ้ย

Abstract

บทคัดย่อ

การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องพะยูนและหญ้าทะเลใช้ทฤษฎีเชิงระบบ ประกอบด้วย 1) ปัจจัยนำเข้า (Input) คือ องค์ความรู้เรื่องพะยูนและหญ้าทะเลที่ผสมผสานความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านกับความรู้ทางวิชาการ 2) กระบวนการ (Process) คือ ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นมี 5 ขั้นตอน คือ การสร้างหลักสูตรท้องถิ่น การตรวจสอบหลักสูตรท้องถิ่น การทดลองใช้และนิเทศติดตาม การประเมินหลักสูตรท้องถิ่น และการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรท้องถิ่น 3) ผลผลิต (Output) คือ หลักสูตรท้องถิ่น และครู 4) ผลลัพธ์ (Outcome) คือ นักเรียน ผลการศึกษานำเสนอใน 2 ด้าน ดังนี้ ด้านผลผลิต มี 3 ประเด็น คือ 1) ได้หลักสูตรท้องถิ่นเรื่องพะยูนและหญ้าทะเลที่มีคุณภาพ 2) ความรู้ของครูหลังเข้าร่วมพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น สูงกว่าก่อนเข้าร่วมพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น 3) ครูมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องพะยูนและหญ้าทะเลอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านผลลัพธ์ มี 2 ประเด็น คือ 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์เรื่องพะยูนและหญ้าทะเลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, 2, 4, 6 (ค่าเฉลี่ย 9.52, 8.31, 8.14, 8.61 ตามลำดับ) และมัธยมศึกษาปีที่ 2 (ค่าเฉลี่ย 7.95) สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม (p=0.000, 0.000, 0.000, 0.000, 0.000 ตามลำดับ) ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3, 5 (ค่าเฉลี่ย 7.06, 7.25 ตามลำดับ) และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, 3 (ค่าเฉลี่ย 7.12, 7.38 ตามลำดับ) ไม่แตกต่างจากเกณฑ์ (p=0.848, 0.204, 0.588, 0.270 ตามลำดับ) 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องพะยูนและหญ้าทะเลทะเลในระดับมาก

คำสำคัญ: การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น/ พะยูนและหญ้าทะเล/ โรงเรียนชายฝั่ง

 

Abstract

Development of local curriculum regarding dugong and seagrass was based on system theory which composed of 4 main components: 1) input was dugong and seagrass knowledge which mixed between indigenous and academic knowledge; 2) process was five steps in local curriculum development: creating, verifying, trying out and monitoring, evaluating, and improving local curriculum; 3) outputs were local curriculum and teachers; and 4) outcome was student. Two main results of this study were as follows. In terms of output, there were 3 main findings: 1) local curriculum about dugong and seagrass had good quality; 2) teachers’ knowledge about dugong and seagrass in posttest was higher than the pretest from participation in local curriculum development; and 3) teachers’ satisfaction towards local curriculum about dugong and seagrass was in high level. In terms of outcome, there were 2 main findings: 1) learning achievement in science subject regarding dugong and seagrass of primary students in class 1, 2, 4, 6 (mean 9.52, 8.31, 8.14, 8.61, respectively) (p=0.000, 0.000, 0.000, 0.000, 0.000, respectively) and secondary students in class 2 (mean 7.95) was higher than 70% of total scores, moreover, learning achievement of primary students in class 3, 5 (mean 7.06, 7.25, respectively) and secondary students in class 1, 3 (mean 7.12, 7.38, respectively) was not different from criteria (p=0.848, 0.204, 0.588, 0.270, respectively), and 2) students’ satisfaction towards local curriculum about dugong and seagrass was in high level.

Key words: Local curriculum development/ Dugong and seagrass/ Coastal school

Article Details

How to Cite
โรจนประศาสน์ ณ., ตินนังวัฒนะ ว., & ทองหนูนุ้ย ป. (2014). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องพะยูนและหญ้าทะเล สำหรับโรงเรียนชายฝั่งจังหวัดตรัง. Journal of Education and Innovation, 16(2), 35–47. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/17535
Section
Research Articles