ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาในพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมาร์

Main Article Content

อดิเรก ฟั่นเขียว
ทวนทอง เชาวกีรติพงศ์
ปาจรีย์ ผลประเสริฐ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา ความคาดหวังและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 2) พัฒนายุทธศาสตร์ และ 3) ประเมินยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาในพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมาร์ ซึ่งการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยและพัฒนา โดยแบ่งวิธีดำเนินการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาบริบทของการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยการสำรวจเอกสาร การสอบถามผู้มีส่วนได้เสียและการสัมภาษณ์ผู้บริหาร 2) การพัฒนายุทธศาสตร์โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อม การยกร่างยุทธศาสตร์และการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ และ 3) การประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญและประชาพิจารณ์หน่วยงานในพื้นที่ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า

1) พื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมาร์ประกอบด้วย 5 อำเภอชายแดนจังหวัดตากและเขตเมียวดี ประเทศเมียนมาร์ มีการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอดและวิทยาลัยการอาชีพแม่สอด รับนักศึกษาทั้งภาคปกติและภาคพิเศษ มีการทำวิจัย มีการให้บริการวิชาการวิชาชีพในลักษณะโครงการและหลักสูตรอบรมระยะสั้น มีการบริหารจัดการตามพันธกิจของตนเอง แต่การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมชุมชนยังทำได้จำกัด ปัญหาของการจัดการศึกษา พบว่า หลักสูตรยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของพื้นที่ชายแดนได้ บุคลากรมีศักยภาพจำกัด งานวิจัยในพื้นที่น้อย และการให้บริการวิชาการวิชาชีพทำได้จำกัด ผู้มีส่วนได้เสียคาดหวังให้รับผู้ต้องการศึกษาในพื้นที่ทุกกลุ่ม ต้องการบัณฑิตที่มีทักษะการใช้ภาษาเมียนมาร์ ต้องการผู้สอนที่มีศักยภาพและสามารถเป็นที่พึ่งด้านวิชาการได้ เกิดงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ตามที่ต้องการและสามารถเข้าถึงการให้บริการวิชาการวิชาชีพที่หลากหลายได้ ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องสำคัญ พบว่า ปัจจัยภายใน ได้แก่ การได้รับสนับสนุนงบประมาณและทรัพยากร ทำเลที่ตั้งของสถาบันที่เหมาะสม และศักยภาพของผู้สอนที่มีจำกัด ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ค่านิยมของผู้ต้องการเรียนและผู้ปกครองที่ต้องการเรียนนอกพื้นที่ นโยบายเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ระเบียบว่าด้วยการรับนักศึกษาต่างชาติ สภาพเศรษฐกิจผันผวน ค่านิยมของสังคมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ การสนับสนุนจากชุมชนท้องถิ่นและโอกาสการพัฒนาทางเศรษฐกิจของพื้นที่ชายแดน

2) ยุทธศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย สภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็ง 5 ข้อ จุดอ่อน 13 ข้อ โอกาส 15 ข้อ และอุปสรรค 5 ข้อ และยุทธศาสตร์มี 8 องค์ประกอบ ได้แก่ วิสัยทัศน์ ค่านิยมร่วม พันธกิจ 6 ข้อ เป้าประสงค์ 6 ข้อ ประเด็นยุทธศาสตร์ 6 ข้อ กลยุทธ์ 20 ข้อ ตัวชี้วัด 20 ข้อ และมาตรการ/แนวทางพัฒนา 21 ข้อ

3) คุณภาพของยุทธศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น พบว่า ภาพรวมมีคุณภาพในระดับมาก โดยมีความสอดคล้องในระดับมาก ความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ความเป็นไปได้ในระดับมากและความเป็นประโยชน์ในระดับมาก

คำสำคัญ: ยุทธศาสตร์/ การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา/ พื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมาร์

 

Abstract

The purposes of this research were 1) to study conditions, problems, expectations, and factors, 2) to develop the strategy, and 3) to assess the strategy of higher education management in Thailand-Myanmar border area. It was the research and development. The research method was divided into 3 steps: 1) the context study with document analysis, questionnaires for the stakeholders and administration interviews, 2) the workshop for environment analysis, the workshop to set up the draft of strategies and connoisseurship (seminar-based experts), and 3) the assessment of the quality of the strategies by experts and public hearing in the unincorporated areas. The data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, and content analysis. The results of the research revealed that:

1) Thailand-Myanmar border area consisted of five districts in Tak province and Myawaddy district in Myanmar country, where the higher education was managed by Kamphaeng Phet Rajabhat University Mae Sot and Mae sot Industrial and Community Education College. They offered both the regular and special programs, conducted research and provided academic/professional services in the project and short training courses, which were managed by their own mission. However, the services regarding preservation of arts and culture in the community remain limited. The problems of education management, including the courses did not meet the needs of the border area, personnel had limited capacity, insufficient research in the area, providing and organizing academic/professional services were limited. The stakeholders expected to recruit those who wanted to study at the institutions in all areas, to graduate with Myanmese language, to gain the instructors who have the potential, are able to be academic reliance, generate research that can be utilized as needed and easily accessible to the various academic/professional services. The important factors related to the internal factors include the allocation of the budget and resources, the suitable location of the institute, and the limitation of the potential instructors. For the external factors, they included the values of students and their parents preferring to have students study outside the residential area, policy loans for education, regulations concerning admission of foreign students, the fluctuations of the economy, social values ethnic diversity, the local community, and the opportunities for the economic development of the border area.

2) The strategy that was developed included the environment (5 items in strengths and 13 items in weaknesses), the opportunities (15 items), and the threats (5 items). The strategy had 8 components: vision, shared value, missions (6 items), objectives (6 items), strategic issues (6 items), strategies (20 items), indicators (20 items), and measures/guidelines for development (21 items).

3) The quality of the overall strategy was at a high level, their congruity was at a high level, their propriety was at the highest level, their feasibility was at a high level, and their utility was at a high level.

Key words: Strategy/ Higher Education Management/ Thailand-Myanmar Border Area

Article Details

How to Cite
ฟั่นเขียว อ., เชาวกีรติพงศ์ ท., & ผลประเสริฐ ป. (2014). ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาในพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมาร์. Journal of Education and Innovation, 16(2), 59–69. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/17537
Section
Research Articles