รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดทำแผนกลยุทธ์ของนักวิเคราะห์นโยบายและแผน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

Main Article Content

รุ่งทิพย์ แผลงฤทธิ์
ภาณุวัฒน์ ภักดีวงศ์
ฉลอง ชาตรูประชีวิน
อนุชา กอนพ่วง

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะที่ต้องการจำเป็นและวิธีการพัฒนาสมรรถนะการจัดทำแผนกลยุทธ์ของนักวิเคราะห์นโยบายและแผน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดทำแผนกลยุทธ์ของนักวิเคราะห์นโยบายและแผน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบ และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบ เป็นการวิจัยและพัฒนา มี 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาสมรรถนะที่ต้องการจำเป็นและวิธีการพัฒนา จากการวิเคราะห์เอกสาร สำรวจจากนักวิเคราะห์นโยบายและแผน จำนวน 298 คน และสัมภาษณ์จากผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน จำนวน 18 คน 2) สร้างรูปแบบ โดยนำผลการสังเคราะห์ข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 มายกร่างรูปแบบและเอกสารประกอบการใช้รูปแบบได้แก่ ชุดฝึกอบรมและคู่มือ ตรวจสอบร่างรูปแบบ และเอกสารประกอบการใช้รูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน แล้วจึงปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ 3) ทดลองใช้รูปแบบ กับนักวิเคราะห์นโยบายและแผน จำนวน 10 คน 4) ประเมินรูปแบบโดยศึกษาความคิดเห็นต่อความเป็นประโยชน์และความเหมาะสม จากกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกับขั้นตอนที่ 3 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. สมรรถนะที่ต้องการจำเป็น ประกอบด้วย 1) ด้านความรู้ มี 1 องค์ประกอบ คือ ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผนกลยุทธ์ 2) ด้านทักษะ มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การคิด การนำเสนอที่ประชุม และการทำงานเป็นทีม 3) ด้านเจตคติ มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ความรับผิดชอบ ความอดทน และความเสียสละ ส่วนวิธีการพัฒนาสมรรถนะ มี 4 วิธี ได้แก่ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การปฏิบัติในงาน การสอนงาน และการศึกษาด้วยตนเอง

2. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดทำแผนกลยุทธ์ของนักวิเคราะห์นโยบายและแผน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และเอกสารประกอบ ได้แก่ ชุดฝึกอบรมและคู่มือที่มีโครงสร้างขององค์ประกอบ PIE Model มี 3 หลักการ ได้แก่ 1) วางแผนเป็น (Planning : P) 2) เข็นแผนออก (Implementation : I) และ 3) บอกผลของแผนได้ (Evaluation : E) โดยผ่านกระบวนการพัฒนา 3 กิจกรรม คือ 1) สร้างความรู้ความเข้าใจ (Knowledge Creation) 2) นำไปใช้ปฏิบัติ (Action Operation) และ 3) ทบทวนปรับเปลี่ยนผลงาน (Revise Performance) และเอกสารประกอบรูปแบบมีเนื้อหาสาระ 4 ส่วน ได้แก่ 1) การศึกษาข้อมูลสภาพของหน่วยงานและการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของหน่วยงาน 2) การกำหนดทิศทางของหน่วยงาน 3) การกำหนดกลยุทธ์ การกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จแผนกลยุทธ์ และการนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ และ 4) การติดตามและการประเมินผลแผนกลยุทธ์ ผลการตรวจสอบทั้งร่างรูปแบบและเอกสารประกอบ พบว่า มีความเป็นประโยชน์และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

3. ค่าคะแนนความรู้ หลังใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบ

4. ผลการประเมินรูปแบบมีความเป็นประโยชน์และความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และปรับปรุงรูปแบบจากการทดลองใช้เพื่อให้เหมาะสมกับการพัฒนาสมรรถนะการจัดทำแผนกลยุทธ์ของนักวิเคราะห์นโยบายและแผน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต่อไป

คำสำคัญ: รูปแบบการพัฒนา/ สมรรถนะ/ แผนกลยุทธ์

 

Abstract

The purpose of this research was 1) to study the needs for competencies and development of strategic planning competencies of plan and policy analysts in primary educational service area offices, 2) to develop a model, 3) to experiment the drafted model and 4) to improve the model. Research and Development methodology included 4 steps. Step 1) to study the needs for competencies and development of strategic planning competencies by documentary analysis, to servey by plan and policy analysts of 298 samples, and to interview planning and policy group of directorory and plan and policy analysts of 18 samples. Step 2) a model was drafted by analysis and synthesis of the study results in the first step, to draft training kit and training manual, and evaluated by 9 experts. Step 3) the model was experimented by 10 plan and policy analysts, to evaluate a model by serveying the opinion of usefulness and appropriateness, and to interview the samples. Step 4) to improve the model by the study result in the third step. The study revealed that:

1. The needs for competencies include 1) knowledge, one component: knowledge of strategic planning. 2) skill, three components: thinking, presentation meeting and teamwork. 3) attitude, three components: responsibility, endurance, sacrifice. And the development of strategic planning competencies included 4 methods: workshop, on the job training, coaching and independent self-study.

2. The model, training kit and training manual included PIE model or three main components: Planning, Implementation and Evaluation. They were develop process by 3 activities: 1) knowledge creation 2) action operation and 3) revised performance. The document of trainning model included 4 parts: 1) the study data of organization status and unit environment analysis, 2) organization direction, 3) strategic formulation, strategic key indicators of plan and strategic implementation, and 4) strategic monitoring and evaluation. The model was evaluated, it was found that usefulness and feasibility with high level.

3. The average scores of post-tests from knowledge strategic planning competencies questionaire was higher than pretests.

4. The training model was evaluated, it was found that usefulness and appropriateness with high level, and the model was improved from the study result in the third step, it should be applied for the development of strategic planning competencies of plan and policy analysts in primary educational service area offices.

Key words: Development Model/ Competency/ Strategic Planning

Article Details

How to Cite
แผลงฤทธิ์ ร., ภักดีวงศ์ ภ., ชาตรูประชีวิน ฉ., & กอนพ่วง อ. (2014). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดทำแผนกลยุทธ์ของนักวิเคราะห์นโยบายและแผน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. Journal of Education and Innovation, 16(2), 92–103. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/17540
Section
Research Articles