รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษา

Main Article Content

สุรพงษ์ แสงสีมุข
จิติมา วรรณศรี
วิทยา จันทร์ศิลา
สำราญ มีแจ้ง

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสมรรถนะของครูและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครู โดยการศึกษาเอกสาร และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) การสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครู โดยการยกร่างรูปแบบ และตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบด้วยการประชุมสนทนากลุ่ม 3) การประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครู โดยการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยปรากฏผลดังนี้

1. ผลการศึกษาสมรรถนะของครู และแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พบว่า สมรรถนะของครู มี 10 สมรรถนะ และแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครู มี 2 ด้าน คือ กระบวนการพัฒนาสมรรถนะของครู มี 6 ขั้น และวิธีการพัฒนาสมรรถนะของครู มี 4 วิธี

2. ผลการสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พบว่า

2.1 รูปแบบประกอบด้วยสมรรถนะของครู 10 สมรรถนะ คือ การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา การจัดการเรียนรู้และบริหารชั้นเรียน การใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและนวัตกรรมการศึกษา การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ จิตวิทยาครูและการพัฒนาผู้เรียน คุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ การพัฒนาตนเองและวิชาชีพ ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม และการสื่อสารและการจูงใจ และแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครู มี 2 ด้าน ได้แก่ กระบวนการพัฒนาสมรรถนะของครู มี 6 ขั้น คือ ขั้นการกำหนดความต้องการจำเป็นในการพัฒนา ขั้นการกำหนดจุดมุ่งหมายในการพัฒนา ขั้นการวางแผนพัฒนา ขั้นการดำเนินการตามแผนพัฒนา ขั้นการประเมินและปรับปรุงกระบวนการพัฒนา และขั้นการกำกับติดตามกระบวนการพัฒนา และวิธีการพัฒนาสมรรถนะของครู มี 4 วิธี คือ การสอนงานโดยพี่เลี้ยง การฝึกอบรมแนะนำงาน การฝึกปฏิบัติจริง และการปฏิบัติจริงในโรงเรียน

2.2 ผลการตรวจสอบรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

3. ผลการประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พบว่า มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ: การพัฒนาสมรรถนะ/ สมรรถนะของครู

 

Abstract

The purpose of this research was to develop teachers’ competency model for the school under the jurisdiction of primary educational service area office. The procedure of research and development followed 3 steps:  step 1 studying teachers’ competencies and teachers’ competencies development guidelines, through study of document and interviews of experts, data were analyzed through content analysis. Step 2 construction of a model for competency development of teacher in school, the tentative model was validated for its appropriateness through focus group discussion, data were analyzed through content analysis. Step 3 to evaluate model for competency development of teacher in school, for its feasibility by public hearing of those who are involved. Content analysis was employed for analyzing data, means and standard deviation.The results of the research were as follows:

1. The results was studying of teachers’ competency and teachers’ competency guidelines in school under the jurisdiction of primary educational service area office, consists of the following components; teachers’ competency to have 10 competencies and teachers’ competency guide lines development, there were teachers’ competency development process and teachers’ competency development techniques such as; six steps process and four techniques of teachers’ competency development.

2. The results of construct a model for competency development of teacher in school under the jurisdiction of primary educational service area office was as follow:

2.1 Teachers’ competency to have 10 competencies such as: schools’ curriculum development, learning and classroom management, use of information technology and educational  innovation, educational measurement and evaluation, research for learning development, teaching psychology and students development, morals and professional ethics, profession and self-development, leadership and team work, and communication and motivation. There were six steps of teachers’ competency development process; setting necessary requirement for development, objectives for development, doing for development plan, plan action, evaluation and improvement of development processes, and monitoring of development processes. There were four  techniques of  teachers’ competency development; coaching by mentoring techniques, job instruction training techniques, authentic practice  techniques and authentic practicing techniques in schools.

2.2 The results qualified persons indicated that the suitability of teachers’ competency development model in school under the jurisdiction of primary educational service area office was at high level.

3. The results of evaluates a model for competency development of teacher in school under the jurisdiction of primary educational service area office, was as follow: the possibility were at a high level.

Key words: Competency Development/ Teachers’ Competency

Article Details

How to Cite
แสงสีมุข ส., วรรณศรี จ., จันทร์ศิลา ว., & มีแจ้ง ส. (2014). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษา. Journal of Education and Innovation, 16(2), 119–128. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/17542
Section
Research Articles