กลยุทธ์การจัดการกีฬาเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของนิสิตนักศึกษา

Main Article Content

ทวีศักดิ์ สว่างเมฆ
ปัญญา สังขวดี
ฉลอง ชาตรูประชีวิน
ปกรณ์ ประจันบาน

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนากลยุทธ์การจัดการกีฬาเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ การวิจัยมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาความคิดเห็นและสภาพแวดล้อมเกี่ยวกับการจัดการกีฬาเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จำนวน 33 แห่ง และสถาบันอุดมศึกษาที่มีวิธีการปฏิบัติที่ดี จำนวน 3 แห่ง 2) การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของกลยุทธ์การจัดการกีฬาเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ โดยวิธีการนำข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 มายกร่างกลยุทธ์การจัดการกีฬาเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์ด้วยเทคนิคการสนทนากลุ่ม โดยผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษาจำนวน 9 คน และ 3) การประเมินความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ การจัดการกีฬาเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ โดยผู้บริหารฝ่ายกิจการนิสิตนักศึกษา จำนวน 101 คน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการกีฬาเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของนิสิตนักศึกษาในสถาบัน อุดมศึกษาของรัฐ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

2. กลยุทธ์การจัดการกีฬาเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่สร้างขึ้นมี 4 กลยุทธ์ ดังนี้ 1) กลยุทธ์พัฒนาการบริหารจัดการกีฬาให้มีประสิทธิภาพ 2) กลยุทธ์จัดการงบประมาณด้านการจัดการกีฬา 3) กลยุทธ์สร้างสภาพแวดล้อมและปัจจัยที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ 4) กลยุทธ์สร้างเครือข่ายการจัดการกีฬาเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ

3. การประเมินกลยุทธ์การจัดการกีฬาเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้อยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ: การจัดการกีฬา/ การสร้างเสริมสุขภาพ/ กลยุทธ์การจัดการกีฬา

 

Abstract

This research aims to construct strategies for the development of sport management for health promotion of students in state institutions of higher education. The research was conducted in 3 phases. First, a study opinions and environments of sport management for health promotion of students in the 33 state institutions of higher education, and 3 best practice state institutions of higher education. Second, drafting and checking qualities of strategies based on the results of data from phase 1 and validating them by group discussion with 9 educational experts. Third, evaluation of the possibility of validated strategies by a selected group of 101 administrators from the division of student affairs administration. The results are shown as follows;

1. Opinions about sport management for health promotion were at a high level.

2. Strategies were also developed, based on the data, in the following 4 areas of these programs: (1) administration and management efficiency and effectiveness, (2) management of sport budgets, (3) creating supportive environments and other factors contributing to health promotion, and (4) creating networks of Administrators and other participants in sport management for health promotion.

3. The strategies developed of sport management for health promotion were evaluated at a high level of practicality.

Key words: Sport Management/ Health Promotion/ Strategies for Sport Management

Article Details

How to Cite
สว่างเมฆ ท., สังขวดี ป., ชาตรูประชีวิน ฉ., & ประจันบาน ป. (2014). กลยุทธ์การจัดการกีฬาเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของนิสิตนักศึกษา. Journal of Education and Innovation, 16(2), 140–154. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/17566
Section
Research Articles
Author Biographies

ทวีศักดิ์ สว่างเมฆ

ปัญญา สังขวดี

ฉลอง ชาตรูประชีวิน

ปกรณ์ ประจันบาน