การศึกษาความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อระบบการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุน

Main Article Content

ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การศึกษาความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อระบบการจัดการความรู้ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สำหรับการเรียนรู้แบบนำตนเอง เพื่อมีวัตถุประสงค์เพื่อสอบถามความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อระบบการจัดการความรู้ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สำหรับการเรียนรู้แบบนำตนเอง กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 ที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น จำนวน 3 ฉบับ แบ่งออกเป็น 1. แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบของโครงสร้างเว็บไซต์การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (ฝึกงาน) 2. แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (ฝึกงาน) 3. แบบสอบถามความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อระบบสารสนเทศ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ วิเคราะห์ขอมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) นำเสนอในรูปแบบของตารางประกอบคำบรรยาย

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการสอบถามความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อองค์ประกอบของโครงสร้างเว็บไซต์การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (ฝึกงาน) ประจำปีการศึกษา 2/2554 สำหรับระบบการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต พบว่านิสิตมีความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบและความเป็นไปได้ด้านต่าง ๆ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.97, SD=0.55) และมีข้อเสนอแนะสำหรับองค์ประกอบของโครงสร้างเว็บไซต์การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (ฝึกงาน) นิสิตเสนอแนะว่าควรจะมีระบบบันทึกประจำวันของแต่ละคนที่สามารถ Update ข้อมูลด้วยตนเองในรูปแบบมัลติมีเดียได้ตลอดเวลาและสามารถเชื่อมโยงกับ YouTube หรือโปรแกรมที่สามารถนำเสนอผลงานขอบตนเองได้

2. ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (ฝึกงาน) ประจำปีการศึกษา 2/2554 สำหรับบันทึกการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ นิสิตมีความเห็นเกี่ยวกับเว็บไซต์ในด้านต่างๆ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.95, SD=0.50) และนิสิตมีข้อเสนอแนะภายในเว็บไซต์ควรมีการนำ Google Map มาใช้ในการกำหนดตำแหน่งของหน่วยงาน สถานที่ฝึกงานหรือบริษัทฝึกงานที่นิสิตทุกคนไปฝึกประสบการณ์เพื่อใช้ในการตรวจสอบสภาพแวดล้อม ความเป็นอยู่ ความสะดวกรวดเร็วในการนิเทศสำหรับอาจารย์นิเทศ และที่สำคัญเพื่อเป็นข้อมูลให้สำหรับรุ่นน้องที่ต้องการจะไปฝึกสถานที่นั้น จะได้ทราบรายละเอียดหรือตำแหน่งของหน่วยงานที่จะฝึกประสบการณ์

3. ผลของการสอบถามความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อระบบสารสนเทศในระดับมาก ( = 3.83, SD=0.65) และมีข้อเสนอแนะดังนี้ 3.1) ภายในระบบการจัดการความรู้ ควรจะมีการนำ Social media มาประยุกต์ใช้ในการจัดในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนิสิตกับนิสิต นิสิตกับอาจารย์นิเทศ และนิสิตกับพี่เลี้ยง เพื่อให้กระบวนการติดต่อสื่อสารมีประสิทธิภาพ สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการฝึกประสบการณ์วิชาชีพได้อย่างรวดเร็วและทันเวลา ทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างนิสิตกับนิสิต นิสิตกับอาจารย์นิเทศ และนิสิตกับพี่เลี้ยง 3.2) ควรมีการนำเทคโนโลยี Social media ที่มีเครื่องมือออนไลน์มากมายมาปรับใช้เพื่อพัฒนาระบบการจัดการความรู้ให้เป็นระบบเครือข่าย ที่สามารถลดความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงองค์ความรู้ที่เกิดจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของแต่ละรุ่น เพื่อนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอนอย่างแท้จริง

คำสำคัญ: ความคิดเห็น/ ระบบการจัดการความรู้/ การเรียนรู้แบบนำตนเอง

 

Abstract

This research paper focuses on students’ opinions towards knowledge management system for online instruction whose role is to enhance self-direct learning. The target group of this research work was the 43 graduate students who had been studied Master of Education in Educational Technology and Communications and undertaken professional training in the second semester in Academic Year 2011. Research tools conveyed to obtain data were 3 designed questionnaires: 1) an opinionating questionnaire inquiring the web site components for professional training, 2) a questionnaire collecting opinions towards the web site as a whole, and 3) a questionnaire to obtain satisfaction level of users. Statistical methods used in this research were and standard deviation, which presented in tabulated forms and descriptions.

Research findings reveal that students’ opinions towards the web site components for knowledge management system governed by online instruction is at the value of =3.97, SD=0.55. Students recommend there be an assigned individual user log, which used to track and update personal record and linked to YouTube at all times or a program that enable a user to present his/her own academic presentation. It is also found out that students are greatly satisfied with professional records employed in the web site at the value of = 3.95 and SD=0.50. The focused group suggests the Google Map be used as a potential locator to pinpoint places for professional training. This could be very productive to explore surrounded environments, the neighborhoods, and modes of transportation when a supervisor pays a visit to the place for his/her supervision/ assessment. More importantly, this will serve as key information for other students should he/she plan to conduct professional training at the site, for he/she will have a trusted resource as to what kind of positions and job descriptions at the training place will be like.

Students’ satisfaction towards online instruction is of a high value at =3.83 and SD=0.65. There are 2 particular comments obtained from the audience:

1. Social media should be extensively used and site integration into the web site to achieve a better knowledge management system whether it is a purpose directed to peer to peer, student and supervisor, or student and mentor. This could prove to be an effective channel of communication yielding a number of solutions for unforeseen circumstance during an internship.

2. There should be a careful selection of application available in social media; it should efficiently contribute to development of knowledge management under a single accessible network where stakeholders can equally make use of.

Key words: opinions/ Knowledge Management System/ Self-Directed Learning

Article Details

How to Cite
สิทธิวงศ์ ท. (2014). การศึกษาความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อระบบการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุน. Journal of Education and Innovation, 16(2), 155–164. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/17568
Section
Research Articles
Author Biography

ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์