กรณีศึกษาการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ประถมศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็กแห่งหนึ่ง

Main Article Content

สิรินภา กิจเกื้อกูล

Abstract

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้นำเสนองานวิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก ที่มีครูวิทยาศาสตร์เพียง 1 คน ผู้วิจัยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติ ขั้นสังเกต และขั้นสะท้อนผล ร่วมกับการนิเทศการสอนที่เน้นการปฏิบัติ และการสะท้อนผลเชิงลึกระหว่างครูกับผู้วิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะของครู เป็นเวลา 2 ปี ผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยการสังเกตชั้นเรียนแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และการวิเคราะห์เอกสาร ผลการวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์เชิงพรรณา และการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ทำให้พบว่า การเปิดโอกาสให้ ครู สะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ของตนเองร่วมกับผู้วิจัยและผู้บริหารสถานศึกษา ช่วยให้ครูสามารถพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ได้ถึงระดับที่ ครู สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการนิเทศไปปฏิบัติลงสู่ชั้นเรียนได้จริง งานวิจัยยังพบอีกว่า ผู้บริหารสถานศึกษา เป็นบุคคลที่สำคัญที่สุด ที่จะผลักดันให้การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของ ครู ประสบความสำเร็จในทางปฏิบัติ

คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้/ วิทยาศาสตร์/ ประถม/ ครู/ วิจัยเชิงปฏิบัติการ

 

Abstract

This article presents qualitative research that aimed to develop science teaching competency of the teacher at a small primary school in Phitsanulok, Thailand. To develop the science teaching competency, the researcher had used the process of collaborative action research including 4 steps. There were Plan, Act, Observe and Reflect. Also the process was combined with teaching supervision focusing on teaching practices and with deep reflections between the teacher and the researcher on learning management, for two years. The researcher had collected data by using participant classroom observations, semi-structured interviews and document analysis. Results of content analysis, descriptive analysis and triangulation showed that opening many chances for the teacher to reflect their own teaching practices with the researcher and the head of school expressively enhanced the science teaching competency. The teacher was able to implement new knowledge and experience from the teaching supervision into the real classroom. The research also found that the head of school was the most important person in development of the science teaching competency of the teacher pragmatically.

Key words: teaching/ science/ primary/ teacher/ action research

Article Details

How to Cite
กิจเกื้อกูล ส. (2014). กรณีศึกษาการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ประถมศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็กแห่งหนึ่ง. Journal of Education and Innovation, 16(2), 165–173. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/17570
Section
Research Articles
Author Biography

สิรินภา กิจเกื้อกูล