กลยุทธ์การบริหารจัดการศึกษากึ่งสงเคราะห์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดตาก (THE ADMINISTRATIVE STRATEGY FOR SEMI-WELFARE EDUCATION OF BASIC SCHOOLS IN TAK PROVINCE)

Main Article Content

สรวิชญ์ เรือนแก้ว (Sorawith Rueankeaw)
สุนทรี ดวงทิพย์ (Soontaree Doungtipya)

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารการจัดการศึกษากึ่งสงเคราะห์ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดตาก วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัย 2) ศึกษากลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จ 3) พัฒนากลยุทธ์ และ 4) ทดลองใช้และประเมินกลยุทธ์ วิธีการวิจัย โดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การวิเคราะห์เอกสาร การประชุม เชิงปฏิบัติการ การสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ การทดลองใช้กลยุทธ์ การสนทนากลุ่ม การใช้แบบประเมินกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพการบริหารการจัดการศึกษากึ่งสงเคราะห์ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดตาก มีการวางแผนสำหรับจัดการศึกษา การประสานงานเพื่อให้การดำเนินงานตามแผนบรรลุผล การกำกับดูแล ติดตาม ตรวจสอบผลการดำเนินงาน ปัญหาการบริหารการจัดการศึกษากึ่งสงเคราะห์ พบว่าข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาที่ใช้ประกอบการวางแผนไม่ทันสมัย ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการจัดการศึกษากึ่งสงเคราะห์ พบว่า มีปัจจัยภายใน 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านทรัพยากรบุคคล ด้านทรัพยากรทุน และด้านทรัพยากรวิทยาการ และปัจจัยภายนอก 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านนโยบาย ด้านเศรษฐกิจ ด้านเทคโนโลยี และด้านสังคม
2. กลยุทธ์การบริหารการจัดการศึกษากึ่งสงเคราะห์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ประสบความสำเร็จ พบว่า กลยุทธ์การให้โอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ กลยุทธ์การดูแลช่วยเหลือนักเรียน กลยุทธ์การบริหารงานโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายอุปถัมภ์ กลยุทธ์การพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ กลยุทธ์การสร้างขวัญกำลังใจให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา
3. การพัฒนากลยุทธ์การบริหารการจัดการศึกษา กึ่งสงเคราะห์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดตาก ประกอบด้วย 1 วิสัยทัศน์, 3 พันธกิจ, 3 เป้าประสงค์, 3 ประเด็นกลยุทธ์, 7 กลยุทธ์, 16 ตัวชี้วัด และ 25 มาตรการ
4. การทดลองใช้และผลการประเมินกลยุทธ์ การบริหารการจัดการศึกษากึ่งสงเคราะห์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดตาก พบว่า โรงเรียนที่ทดลองใช้กลยุทธ์สามารถนำกลยุทธ์ ไปใช้ดำเนินงานได้จริง และรูปแบบของกลยุทธ์ มีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมาก


THE ADMINISTRATIVE STRATEGY FOR SEMI-WELFARE EDUCATION OF BASIC SCHOOLS IN TAK PROVINCE


The purposes of this research was to develop the administrative strategy for semi-welfare education of basic schools in Tak Province. The research study followed 4steps; 1) Problem and factors study, 2) successfully strategy study, 3) development of strategy, and 4) Experimentation and Evaluation of strategy. Using various research instruments as a questionnaire survey, structured interview, document analysis, workshop, connoisseurship, experimentation, focus group discussion, and assessment. The statistics used were frequency, percentage, mean, standard deviation, and content analysis. The results of this research revealed the followings:
1. The characteristics of semi-welfare educational administration in Tak Province were compose of planning, co-ordination, controlling and reporting. The only administrative problem found was obsolete data concerning found the school information. As for the factors concerning the school administration, there were 3 internal factors namely; personel resource, financial resource, knowledge management. There were also 4 external factors namely; policy, economy, technology and community.
2. The administrative strategy of those best-practiced semi-welfare schools in Tak Province revealed that the schools have had the strategies of education with good quality for all strategy, student care strategy, effective school, management strategy, supporting network strategy, learning and environment development strategy and environment development strategy and staff encouragement strategy.
3. The proposed strategic model for semi-welfare education of basic schools in Tak Province consisted of 1 vision statement, 3 missions, 3 objectives, 3 principle strategies, 7 strategies, 16 indicators and 25 measures.
4. The experimentation of the administrative strategy for semi-welfare schools in Tak Province was proved applicable for actual school administration. Evaluation of the model in conformity, suitability, possibility and usability were all rated at high levels.

Article Details

How to Cite
(Sorawith Rueankeaw) ส. เ., & (Soontaree Doungtipya) ส. ด. (2019). กลยุทธ์การบริหารจัดการศึกษากึ่งสงเคราะห์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดตาก (THE ADMINISTRATIVE STRATEGY FOR SEMI-WELFARE EDUCATION OF BASIC SCHOOLS IN TAK PROVINCE). Journal of Education and Innovation, 21(2), 311–326. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/179977
Section
Research Articles

References

1. Bangmo, S. (2011). Organization and management (5th ed.). Bangkok: Withayapat. [in Thai]
2. Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.
3. Ministry of Education. (2012). The eleventh national education development plan (2012 - 2016). Retrieved March 25, 2014, from https://www.thailibrary.in.th/2014/02/13/thai-edu-master-plan-11/ [in Thai]
4. Rujicheep, P., Wongnaya, S., Pongpinya-opas, S., & Kannil, S. (2016). Strategies for developing life skills of the student in the schools under the office of Kamphaengphet Elementary Education Area 1 and Area 2. Journal of Education Naresuan University, 18(2), 131-141. [in Thai]
5. Tak Primary Educational Service Area Office 2. (2014). Action plan 2014. (Copy). [in Thai]