การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์แบบเน้นประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมความซื่อสัตย์สำหรับเด็กปฐมวัย
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบเน้นประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความซื่อสัตย์สำหรับเด็กปฐมวัย การดำเนินการวิจัยเป็นแบบวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ ขั้นที่ 2 สร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์ ขั้นที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ และขั้นที่ 4 ศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ เด็กปฐมวัย โรงเรียนญาณนเรศว์รพัฒนาพิทยาคม อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ทำการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ใช้เวลาในการทดลองรวมทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ โดยใช้แบบแผนการวิจัย One – Group Pretest – Posttest Design ทำการเก็บข้อมูลด้วยแบบประเมินความซื่อสัตย์สำหรับเด็กปฐมวัย และแบบสังเกตพฤติกรรมความซื่อสัตย์สำหรับเด็กปฐมวัย แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบที (t – test แบบ dependent)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านเห็นความสำคัญของการพัฒนาความซื่อสัตย์ในเด็กปฐมวัย เพราะเป็นวัยที่มีความสำคัญในการพัฒนาจริยธรรม เป็นระยะที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาในทุกด้าน ครูควรเน้นพัฒนาความซื่อสัตย์ด้วยการสอนเด็กให้พูดความจริง ไม่โกหก รักษาคำพูด ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ไม่เอาของคนอื่นมาเป็นของตนเอง มีความยุติธรรม การพัฒนาความซื่อสัตย์ในเด็กปฐมวัย ควรมีการใช้วิธีการที่หลากหลาย จัดประสบการณ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม การสร้างกิจกรรมให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์ สอนแบบธรรมชาติ ใช้ประสบการณ์จริง สถานการณ์จริง ให้เด็กมีโอกาสฟัง เดิน สัมผัส ทดลอง เน้นการลงมือกระทำ ฝึกในเรื่องของชีวิตประจำวันและโยงให้เข้ากับจริยธรรมที่ครูต้องการพัฒนา
2. รูปแบบการจัดประสบการณ์ที่พัฒนาขึ้น คือ รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบเน้นประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความซื่อสัตย์สำหรับเด็กปฐมวัย มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ สาระ กระบวนการจัดประสบการณ์ และการประเมินผล โดยกระบวนการจัดประสบการณ์ มี 4 ขั้นตอน ตามกระบวนการของ CTCA คือ 1) สร้างประสบการณ์รูปธรรม (Concrete experience) 2) ร่วมคิดร่วมทำ (Think pair share) 3) สรุป (Conclusion) และ 4) นำไปใช้ (Application) เมื่อนำไปใช้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพ พบว่า โดยภาพรวมรูปแบบ การจัดประสบการณ์ มีความเหมาะสมในระดับมาก คู่มือการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และเมื่อนำไปทดลองนำร่อง พบว่า รูปแบบการจัดประสบการณ์ที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสม สามารถนำไปใช้ทดลองได้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ พบว่า ความซื่อสัตย์หลังการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าก่อนจัดประสบการณ์อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
4. เด็กปฐมวัยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่พัฒนาขึ้น เด็กอยากเรียนรู้และมีความสนใจในกิจกรรมที่ครูจัดให้เด็กได้ร่วมกิจกรรมกับครู โดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย สนองตอบความต้องการของตนเอง และยังส่งเสริมความซื่อสัตย์ให้กับเด็กปฐมวัย
คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบการสอน/ รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบเน้นประสบการณ์/ ความซื่อสัตย์
Abstract
The purpose of this study were; 1) to study basic information for the development of the experiential model, 2) develop and assess the quality of the model, 3) try out and examine the results of using model, 4) investigate the satisfaction of pre-school children towards the experiential model. The research procedure comprised of 4 steps of research and development processes. 1) studying basic information of experiential model development, 2) construct and studying experiential model qualities, 3) studying experiential model implementation and 4) studying the satisfaction of pre-school children towards the experiential model.
The samples in this study were one class of 4-5 years old, kindergarten student in Yanarate Pattana Pittayakom School, Watbot Phitsanuloke Province, in second semester, academic year 2011, There were 25 students by purposive sampling technique. The experimentation, a one group pretest – posttest design, provided week for 8 weeks. The research tools were test of knowledge about honesty and honest behavior observation. The data was analyzed by t-test dependent.
The results of the research were found that:
1. All specialists attended the development to honesty for pre-school children because the age has the most important to develop morality in all respect.
The teacher emphasized the honesty enhancing with teaching to speak the truth, speak seriously, get the justice, not exploit, and not keep theirs to mine. The honesty, enhancing in pre-school children should integrate the various method comprised the direct-indirect experienced building, group interactive activity, real life learning, and real situation related activity.
2. The developed model consisted of 5 components; principles, objectives, contents, teaching and learning process, assessment and evaluation. The experiential model has in the line of CTCA that has 4 stages as follow 1) concrete experience, 2) think pair share, 3) conclusion and 4) application. When the model was verified quality specialist. They found that the model of experienced building was properly in high-level while the manual of experienced building was properly in the highest level. When they used the model to pilot study, found that experienced building model was suitably and apply well for pre-school children.
3. The honesty after learned by the experiential model was significantly higher than before at .05.
4. The pre-school children have a satisfaction toward the experiential model. The pre-school children want to learn and interesting in activities with teacher provide, meet their own needs, and enhance to honesty for pre-school children.
Keywords: The development of instructional model/ Instructional model to the emphasis on experience/ Honesty
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.