การพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัยของครูตามแนวคิดของไวก๊อตสกี้ โดยใช้หลักการเป็นหุ้นส่วน

Main Article Content

สุทธิพงศ์ บุญผดุง

Abstract

บทคัดย่อ

        งานวิจัยเรื่องการพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัยของครูตามแนวคิดของไวก๊อตสกี้โดยใช้หลักการเป็นหุ้นส่วน มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ (1) วิเคราะห์และเปรียบเทียบระดับสมรรถนะในการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนตามระดับที่เป็นจริงกับระดับที่คาดหวังของครู ในด้านการระบุปัญหาของการวิจัย ด้านการดำเนินการวิจัย และด้านการวิเคราะห์ข้อมูล ก่อนและหลังการพัฒนาสมรรถนะด้านการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนตามแนวคิดของไวก็อตสกี้โดยใช้หลักการเป็นหุ้นส่วน (2) เปรียบเทียบระดับสมรรถนะในการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูในด้านการระบุปัญหาของการวิจัยด้านการดำเนินการวิจัย และด้านการวิเคราะห์ข้อมูลหลังการพัฒนาสมรรถนะด้านการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนตามแนวคิดของไวก็อตสกี้โดยใช้หลักการเป็นหุ้นส่วนกับเกณฑ์สมรรถนะร้อยละ 85 (3) ประเมินสมรรถนะการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูด้านการระบุปัญหาของการวิจัย ด้านการดำเนินการวิจัย และด้านการวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยเทคนิคเชิงคุณภาพ ได้แก่ การเขียนสะท้อนความคิด การสัมภาษณ์ และการตรวจสอบจากผลงานวิจัย หลังการพัฒนาสมรรถนะด้านการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนตามแนวคิดของไวก็อตสกี้โดยใช้หลักการเป็นหุ้นส่วน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่คณะครูโรงเรียนแสงหิรัญวิทยาและโรงเรียนวัดราชโกษา ที่เข้าร่วมโครงการวิจัยดังกล่าว ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ซึ่งได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจงและด้วยความสมัครใจ จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบแบบประเมินสมรรถนะการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนของครู เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (CVI = 0.80 - 1.00) และความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.971 ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับสมรรถนะการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูตามที่คาดหวังสูงกว่าตามที่เป็นจริง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยเมื่อวิเคราะห์สมรรถนะที่เป็นจริงในการทำวิจัยเชิงปฏิบัติในชั้นเรียนของครูพบว่ายังมีรายการและประเด็นที่ครูยังเกิดความคลาดเคลื่อนและเข้าใจอยู่หลายประเด็น เช่น ปัญหาการวิจัยไม่ชัดเจน เขียนคลุมเครือ ไม่ตรงประเด็นที่จะแก้ไขหรือพัฒนานักเรียน การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ไม่เฉพาะเจาะจง และขั้นตอนการวิจัยที่ไม่ตรงประเด็นต่อการแก้ปัญหาการวิจัย (2) ระดับสมรรถนะการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูหลังการพัฒนาสมรรถนะตามแนวคิดของไวก็อตสกี้โดยใช้หลักการเป็นหุ้นส่วนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 85 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยเมื่อวิเคราะห์สมรรถนะของครูหลังการพัฒนาพบว่าครูมีระดับสมรรถนะในระดับดีทั้งในด้านการระบุปัญหาการวิจัย การดำเนินการวิจัย และการวิเคราะห์ข้อมูล (3) ผลการประเมินสมรรถนะการทำวิจัยเชิงปฏิบัติในชั้นเรียนของครู พบว่า ครูเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่พึงประสงค์ มีความรู้ ทักษะ และความรู้สึกที่ดีต่อการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน

คำสำคัญ: วิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน/ หลักการเป็นหุ้นส่วน/ สมรรถนะวิจัย

 

Abstract

        This research paper examines the effect of using Vygotsky’s ZPD and partnership principle as a tool to enhance the in-service teacher’s classroom action research competency in terms of identifying research problem, setting research methodology, and analyzing data. The thesis of this paper were to (a) analyze and compare the in-service teacher’s actual developmental level and potential developmental level of classroom action research competency, (b) compare the in-service teacher’s competency of classroom action research to criterion of 85%, and (c) evaluate qualitative data, received from reflective writing, interview, and review of classroom action research report, in order to examine the development of the in-service teacher’s classroom action research competency after using Vygotsky’s ZPD and partnership principle. The purposive participants were forty-one in-service teachers of Sang Hiran Withaya School and Wat Raja Kosa School, who participated in the research development training in semester 2 of 2011. Data were gathered by using classroom action research competency evaluation form with five rating scales. The evaluation form was approved as content validity and reliability (CVI=0.80-1.00, α=0.971). Finding indicated that (a) potential developmental level of the in-service teacher was higher than actual developmental level with the significance of 0.05. The study additionally found that the in-service teachers were utterly mystified in some aspects of performing classroom action research. For instance, the in-service teachers were unable to identify research problem, clarify explanation with appropriate language, keep in track of research theme, specify clear research objectives, and design approbate research methodology.  Furthermore, after using Vygotsky’s ZPD and partnership principle as a tool to enhance classroom action research competency, the in-service teachers could develop their competency to be higher than criterion of 85% with the significance of 0.05. Lastly, finding revealed that the in-service teacher’s competency in classroom action research reached research expectation as they showed that they have possessed knowledge, skills, and positive viewpoint in performing classroom action research.

Keywords: Classroom Action Research/ Partnership/ Research Competency

Article Details

How to Cite
บุญผดุง ส. (2014). การพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัยของครูตามแนวคิดของไวก๊อตสกี้ โดยใช้หลักการเป็นหุ้นส่วน. Journal of Education and Innovation, 16(4), 22–33. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/21938
Section
Research Articles