ความตระหนักในจริยธรรมการวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความตระหนักในจริยธรรมการวิจัย และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตระหนักในจริยธรรมการวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 285 คน ซึ่งเลือกอย่างเจาะจงจากคณะศึกษาศาสตร์/ ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัฐ 2 แห่ง และมหาวิทยาลัยเอกชน 1 แห่งในกรุงเทพฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุด้วยวิธี Stepwise
ผลการวิจัย พบว่า 1) นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามีความตระหนักในจริยธรรมการวิจัยในภาพรวมที่ระดับค่อนข้างสูง (Mean= 4.32, S.D.= 0.44) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามีความตระหนักในจริยธรรมการวิจัยในระดับค่อนข้างสูงทุกขั้นตอน เรียงตามลำดับคะแนนเฉลี่ยได้ดังนี้ ขั้นก่อนดำเนินงานวิจัยสูงที่สุด (Mean= 4.43, S.D.= 0.53) รองลงมา คือ ขั้นระหว่างดำเนินงานวิจัย (Mean= 4.32, S.D.= 0.47) และขั้นหลังดำเนินงานวิจัย (Mean= 4.24, S.D.= 0.46) และ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตระหนักในจริยธรรมการวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ได้แก่ ผลการเรียน การรับรู้เรื่องการส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย และประสบการณ์การเรียนรู้จริยธรรมการวิจัย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้สามารถร่วมกันพยากรณ์ความตระหนักในจริยธรรมการวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้ร้อยละ 48.7
คำสำคัญ: จริยธรรมการวิจัย/ ความตระหนัก/ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา/ คณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์
Abstract
The purposes of this research were 1) to study the levels of graduate students’ awareness of research ethics; and 2) to study the factors influencing their awareness of research ethics. A survey was conducted by means of questionnaires given to 285 graduate students who were purposively selected from three faculties of education of 2 public and 1 private universities in Bangkok. Descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis were used to analyze the data collected.
The results indicated that: 1) Overall, they had a slightly high level of awareness of research ethics (Mean= 4.32, S.D.= 0.44). When considering their awareness of research ethics in each step of research process, it was found that they had a slightly high level of awareness of research ethics in all steps by the highest level of research ethics awareness was before conducting research (Mean= 4.43, S.D.= 0.53), followed by during conducting research (Mean= 4.32, S.D.= 0.47) and after conducting research (Mean= 4.24, S.D.= 0.46). 2) 48.7% of the variance in their awareness of research ethics could be predicted from the combination of three factors: grade point averages, perceptions of promoting research ethics, and learning experiences of research ethics.
Keywords: Research Ethics/ Awareness/ Graduate Students/ Faculty of Education
Article Details
เจ้าของบทความมิได้คัดลอก หรือละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใด หากเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าวิธีใด หรือการฟ้องร้องไม่ว่ากรณีใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ กองบรรณาธิการวารสารศึกษาศาสตร์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ให้เป็นสิทธิ์ของเจ้าของบทความที่จะดำเนินการ