รูปแบบการบริหารความเสี่ยงทางการกีฬาและนันทนาการในโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

Main Article Content

รักษิต สุทธิพงษ์
ภาณุวัฒน์ ภักดีวงศ์
ฉลอง ชาตรูประชีวิน
เอื้อมพร หลินเจริญ

Abstract

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างรูปแบบการบริหารความเสี่ยงทางการกีฬาและนันทนาการในโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพ ความต้องการ และแนวทางการบริหารความเสี่ยงทางการกีฬาและนันทนาการในโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารความเสี่ยงทางการกีฬาและนันทนาการในโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบการบริหารความเสี่ยงทางการกีฬาและนันทนาการในโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

        ผลการวิจัยพบว่า

        1. ผลการศึกษาสภาพการปฏิบัติงานด้านการบริหารความเสี่ยงทางการกีฬาและนันทนาการในโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ซึ่งมี 8 ด้าน คือ 1) ด้านสภาพแวดล้อมภายใน 2) ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์ 3) ด้านการระบุความเสี่ยง 4) ด้านการประเมินความเสี่ยง 5) ด้านการตอบสนองต่อความเสี่ยง 6) ด้านกิจกรรมการควบคุม 7) ด้านสารสนเทศและการสื่อสาร และ 8) ด้านการติดตามประเมินผล ทุกด้านมีสภาพการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับน้อย

        2. ผลการสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารความเสี่ยงทางการกีฬาและนันทนาการในโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา พบว่ามี รูปแบบการบริหารความเสี่ยงทางการกีฬาและนันทนาการในโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) นโยบายการบริหารความเสี่ยงทางการกีฬาและนันทนาการ 2) วัตถุประสงค์การบริหารความเสี่ยงทางการกีฬาและนันทนาการ 3) คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงทางการกีฬาและนันทนาการ 4) กระบวนการบริหารความเสี่ยงทางการกีฬาและนันทนาการ มี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การระบุความเสี่ยงทางการกีฬาและนันทนาการ 2) การประเมินความเสี่ยงทางการกีฬาและนันทนาการ 3) การตอบสนองต่อความเสี่ยงทางการกีฬาและนันทนาการ 4) กิจกรรมการควบคุมความเสี่ยงทางการกีฬาและนันทนาการ 5) สารสนเทศและสื่อสารการบริหารความเสี่ยงทางการกีฬาและนันทนาการ 6) การติดตามประเมินผลการบริหารความเสี่ยงทางการกีฬาและนันทนาการ

        3. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารความเสี่ยงทางการกีฬาและนันทนาการในโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา พบว่า รูปแบบการบริหารความเสี่ยงทางการกีฬาและนันทนาการในโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีความเป็นประโยชน์ และมีความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ : รูปแบบการบริหารความเสี่ยง/ การบริหารความเสี่ยงทางการกีฬาและนันทนาการ/ โรงเรียนสาธิต

 

Abstract

        The main objective of this research was to investigate a risk management model for sports and recreation in the demonstration schools under OHEC. The research was conducted by three steps: Firstly to explore the conditions, needs and guidelines of risk management for sports and recreation in the demonstration schools under OHEC. Secondly to propose and validate a draft model for risk management in sports and recreation in the demonstration schools under OHEC, and thirdly to evaluate the risk management model.

        The results of this research were as follows :

        1. In exploring the conditions, needs and guidelines of risk management in the demonstration schools under OHEC, there were 8 elements for consideration namely 1) Internal environment. 2) Risk management objectives. 3) Risk identification. 4) Risk evaluation. 5) responses to risk. 6) Control of risk. 7) Information and communication. 8) Risk follow up. All these elements of risk management were operated at low levels.

        2. The validated draft model of risk management for sports and recreation in the demonstration schools under OHEC included 4 components namely: 1) The policy of school risk management. 2) The objectives of school risk management. 3) The administrative committee of risk management. 4) The process of risk management. The process of risk management composed six procedures namely: 1) to identify risk of sports and recreational activities. 2) to evaluate risk of sports and recreational activities. 3) to response to risk of sports and recreational activities. 4) to control risk of sports and recreational activities. 5) to inform and communicate risk management. 6) to follow up and evaluate risk management.

        3. The evaluation of risk management model of the demonstration schools under OHEC revealed that the utility and possibility were at high levels.

Keywords : Risk management model/ risk management of sports and recreation/ the demonstration schools

Article Details

How to Cite
สุทธิพงษ์ ร., ภักดีวงศ์ ภ., ชาตรูประชีวิน ฉ., & หลินเจริญ เ. (2014). รูปแบบการบริหารความเสี่ยงทางการกีฬาและนันทนาการในโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. Journal of Education and Innovation, 16(4), 55–70. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/21942
Section
Research Articles