ทางออกหรือทางอับของโครงการจักรยานยืมเรียนสำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
รายงานวิจัยเรื่อง ทางออกหรือทางอับของโครงการจักรยานยืมเรียนสำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของโครงการจักรยานยืมเรียน 2) ศึกษาปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อการเข้าร่วมโครงการจักรยานยืมเรียนของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร และ 3) ศึกษาความคุ้มค่า ความยั่งยืน ปัญหาอุปสรรค ความคาดหวัง และข้อเสนอแนะของโครงการจักรยานยืมเรียน การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบแผนการศึกษารายกรณี ซึ่งสนามวิจัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยนเรศวร เครื่องมือวิจัย ได้แก่ ตัวผู้วิจัยเอง โดยทำการสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมในกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ได้แก่ ผู้บริหารโครงการ กรรมการบริหารโครงการ ขนส่งมวลชนมหาวิทยาลัยนเรศวร (ขสมน.) เจ้าหน้าที่โครงการ เจ้าหน้าที่บริการ อาจารย์ นิสิตทั้งที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการ ระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2555 ถึงวันที่ 5 กรกฎาคม 2556
ผลการศึกษา พบว่า
1) ข้อมูลพื้นฐานของโครงการจักรยานยืมเรียน ภายหลังจากบริษัทเอกชนหมดสัญญาให้บริการรถไฟฟ้าแก่มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดตั้งโครงการขนส่งมวลชนมหาวิทยาลัยนเรศวร (ขสมน.) ขึ้นใหม่ครอบคลุมทั้งการให้บริการรถไฟฟ้าและจักรยาน ในส่วนของจักรยาน เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2555 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเดินทางไปเรียนของนิสิตลดความแออัดของรถจักรยานยนต์และรถยนต์ ลดมลภาวะเป็นพิษ รักษาสิ่งแวดล้อมให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว และส่งเสริมการออกกำลังกาย โดยมอบหมายให้กองอาคารสถานที่เป็นผู้ดูแล ภายใต้การบริหารงานของคณะกรรมการบริหารโครงการ ขสมน. โดยมีรองอธิการบดีฝ่ายบริหารเป็นประธาน รถจักรยานที่ให้บริการมีจำนวน 500 คัน มีจุดให้บริการจักรยาน 1 แห่ง และมีเจ้าหน้าที่ให้บริการยืม-คืนจักรยานเวรละ 1 คน ให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 07.00-21.00 น. ปัจจุบันมีสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการจักรยานยืมเรียนจำนวน 2,054 คน สถิติการใช้บริการจักรยาน วันละ 100-150 คัน ช่วงที่ใช้จักรยานมากคือ ช่วงเวลา 17.00-20.00 น. ช่วงที่เริ่มโครงการ และช่วงเปิดภาคเรียนที่มีกิจกรรมรับน้องใหม่
2) ปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อการเข้าร่วมโครงการจักรยานยืมเรียนของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้แก่ ปัจจัยจูงใจให้เข้าร่วมโครงการ และปัจจัยจูงใจให้ร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจัยจูงใจให้เข้าร่วมโครงการประกอบไปด้วย 6 ปัจจัยย่อยคือ การออกกำลังกายและการผ่อนคลาย การใช้เป็นยานพาหนะ การประหยัดค่าใช้จ่าย การได้รับอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อน การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และการประชาสัมพันธ์ โดยปัจจัยดังกล่าวล้วนเป็นปัจจัยจูงใจในการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการจักรยานยืมเรียนในครั้งแรก และเมื่อนิสิตได้ใช้บริการจักรยานยืมเรียนไปได้ในระยะหนึ่งแล้ว ได้เกิดความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ ไม่ว่าจะเป็นความพึงพอใจในโครงการ ความพึงพอใจในการบริการ หรือความ พึงพอใจในประโยชน์จักรยานเอง รวมทั้งปฏิกิริยาทางบวกของคนรอบข้าง สิ่งเหล่านี้ต่างเป็นแรงจูงใจที่ทำให้ใช้บริการจักรยานยืมเรียนอย่างต่อเนื่อง
3) ความคุ้มค่า ความยั่งยืน ปัญหาอุปสรรค ความคาดหวังและข้อเสนอแนะของโครงการจักรยานยืมเรียน มีดังนี้
3.1) ความคุ้มค่าของโครงการ โครงการนี้เป็นบริการแก่สังคมที่ยังไม่มีความคุ้มค่า (พิจารณาจากจำนวนการใช้จักรยานของนิสิต) แต่ในระยะยาวจะมีความคุ้มค่า ซึ่งขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องต่อไป ทั้งนี้ การจะทำให้โครงการเป็นที่ยอมรับและปฏิบัติตามต้องใช้เวลา
3.2) ความยั่งยืนของโครงการ โครงการนี้จะยังคงอยู่ต่อไป เนื่องจากเป็นโครงการที่ต้องการให้ประชาคม ชาวมหาวิทยาลัยนเรศวรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น คุณภาพสิ่งแวดล้อมดีขึ้น มลพิษทางอากาศลดลง สิ่งแวดล้อมเป็นสีเขียวมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จะต้องอาศัยเวลาและความร่วมมือจากทุกฝ่าย
3.3) ปัญหาอุปสรรคของโครงการ ได้แก่ เส้นทางจักรยานไม่สะดวกและไม่เพียงพอ จุดให้บริการยืมคืนและจุดจอดจักรยานมีน้อย ช่วงเวลาให้บริการไม่เหมาะสม ชุดนิสิตหญิงไม่เอื้ออำนวย สภาพอากาศตอนกลางวันร้อน การประชาสัมพันธ์ยังไม่ทั่วถึง ความไม่ปลอดภัยในการขับขี่เวลากลางคืน สภาพรถไม่แข็งแรงพอที่จะมีผู้นั่งซ้อนท้าย ค่านิยมติดความสะดวกสบายจากรถจักรยานยนต์และรถยนต์ ค่านิยมทางสังคมของวัยรุ่นที่คิดว่าจักรยานเป็นพาหนะของผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี ผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญกับโครงการจักรยานยืมเรียน ขาดการประสานงานระหว่างผู้รับผิดชอบในระดับต่างๆ ผู้ปฏิบัติงานขาดความรู้ความเข้าใจในการทำงาน และการจัดการฐานข้อมูลไม่เป็นระบบ
3.4) ความคาดหวังและข้อเสนอแนะ ได้แก่ เพิ่มเส้นทางจักรยานรอบมหาวิทยาลัยเพิ่มและกระจายจุดให้บริการยืมคืนจักรยานให้ทั่วถึงมากกว่านี้ ขยายเวลาให้บริการยืมคืนออกไป มีร่มกันแดดเนื่องจากแดดร้อนมาก ติดไฟที่รถจักรยานและเพิ่มไฟส่องสว่างตามถนน ควรมีการประชาสัมพันธ์ที่ทั่วถึงและหลากหลายช่องทาง รณรงค์การใช้จักรยานแทนการใช้รถจักรยานยนต์ การสร้างเจตคติที่ดีต่อการใช้จักรยานและการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย และผู้บริหารควรให้ความสำคัญและให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง
คำสำคัญ : โครงการจักรยานยืมเรียนสำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร
Abstract
The purposes of this research were to study 1) the general condition of the project 2) the motivating factors leading the students to participate in the project 3) the profit, the everlastingness, the difficulty, the expectation and the suggestion of the project. This research used the qualitative research methodology. It has been considered as a case study. Research field was Naresuan University. Research instrument was simple being the researcher herself through a semi-structure interview and a non-participating observation on those people involved with the project : the project executive, the project officials, the servicing officials, the instructors and the students participating as well as not participating in the project. The time span of the study was from September 1, 2012 to July 5, 2013.
The findings were as follow:
1) The general condition of the project. After the end of the private company’s contract on the servicing buses for NU university, the university established a new public transport project covering such public services as electric buses and bicycles, which was inaugurated on June 1, 2012 with the purposes on encouraging the students to go to classes with a potential on reducing the crowdedness of the students’ motorcycles and cars, the air pollution and conserving the greenness of the university’s environment as well as increasing the exercising mind. This had been given to the building department as the one in charge organized by the NU public transport administrative committee (NUPT) with the administrative vice dean as the chairman. There were 500 bicycles on spot for the borrowing service at the only one station under the care of one officer. The service runs from 7 am to 9 pm every day. Today, there are about 2,054 members with the stat of 100-150 bicycles borrowed a day. The peak time was between 5 and 8 pm, at the start of the project and at the beginning of the semester when there are a lot of fleshy welcoming activities
2) The motivating factors leading the NU students to participate in the project were those motivating factors to participate in the project and those motivating factors to participate in the project continuously, which were consisted of 6 minor factors : an exercising and relaxing desire, a vehicle using desire, a cost saving desire, a peer group joining desire, an environment and energy conserving desire and a project promotion. Those were definitely called the motivating factors to firstly participate in the project. After joining the project for a period of time, the students became satisfied with all the project itself, the services or even with the usefulness of the bicycles themselves as well as a great deal of positive reaction of the people around, which led to the continuity of the participation in the project.
3) The profit, the everlastingness, the difficulty, the expectation and the suggestion of the project could be described as :
3.1) The profit of the project. The project was aimed to serve the public; therefore, it was not yet profitable (according to the number of the bicycled used by the students). However, in a long run, it will surely be profitable under the conditions of a good management and the consistency of the project, which requires an acceptance creation and a time-consuming operation
3.2) The everlastingness of the project. This project will be continuously operated due to the aim to create a better living condition and the green environment of NU students. This is yet to take time as well as cooperation from all sides.
3.3) The difficulty of the project was basically the lack of the bicycle routes not covering enough all the destinations. There is only one servicing station resulting in some inconvenience as well as the inconvenient servicing time. For those wearing skirts, it was hardly possible to ride a bicycle and if riding it during the day, it would be very hot and uncomfortable. Moreover, the promotion for the project was so limited, and the bicycles themselves were not properly equipped (no front lights for example) and the bike routes were so poorly lit. To make it worse, the conditions of the bicycles were not very good, so it was hardly possible to travel in two on 1 bicycle. Another negative factor was most students appeared to be lazy feeling that to paddle a bike was too tiring and were unwilling to do, which could also be relevant with the easy-easy preference making most people choose to ride motorcycles or cars. And to ride a motorcycle or a car gave the riders a higher status too, so only the poor would do the riding bicycles. For the executives, they didn’t do hard enough to encourage or promote the project. And often it was found that there was no good cooperation between those in each administrative level responsible for the project. In addition, those in office were not doing the jobs like pro. They organized the data base unsystematically approach.
3.4) The expectation and suggestion were to provide more biking routes around the university as well as more servicing stations (more available to the students in all locations). Moreover, the borrowing and returning bicycles times should be wider. There should also be some shades to help cover those staying at the station, some front and back lights on the bikes including more street lights. For the lack of the promotion, it should be solved by adding more ads in several channels. There should be more aggressive projects to urge the students to turn to bicycles when travelling. Then, the university needs to create more encouragement to the students to see the good sides of using bicycles as well as the cooperation from all sides involved. Besides, the motorcycle use should be discouraged in order to help reduce its number on the roads. Lastly, the executive should work on the project seriously.
Keywords: The project of the bicycle for rent for Naresuan University (NU) students
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.