การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะของนักเรียนในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

วิภาวี ศิริลักษณ์
ปกรณ์ ประจันบาน
เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย

Abstract

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โดยทำการสังเคราะห์แนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทักษะของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 จากนั้นให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่ศึกษาเกี่ยวกับทักษะศตวรรษที่ 21 จำนวน 9 คน พิจารณาตรวจสอบความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้โดยใช้แบบสอบถามเพื่อคัดเลือกองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ทักษะของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 จำนวน 2 ฉบับ  และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ทักษะของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ที่สร้างขึ้น  โดยทำการเก็บข้อมูลกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 จำนวน 540 คน ด้วยแบบประเมินทักษะศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนมัธยมศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ และคำนวณค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ จากนั้นทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองด้วยโปรแกรมลิสเรล 

        ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบของทักษะของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 มีทั้งสิ้น 5 องค์ประกอบ ได้แก่  องค์ประกอบที่ 1 ทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์ องค์ประกอบที่ 2 ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา องค์ประกอบที่ 3 ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี องค์ประกอบที่ 4 ทักษะการสื่อสาร และองค์ประกอบที่ 5 ทักษะชีวิตและอาชีพ โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.85 – 0.98 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกองค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ทักษะของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 มีทั้งสิ้น 24 ตัวบ่งชี้ ดังนี้  องค์ประกอบที่ 1 ทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง  0.49 – 0.52 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา ประกอบด้วย 4 ตัวบ่งชี้ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.43 – 0.54 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 3 ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ประกอบด้วย 6 ตัวบ่งชี้  มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.47 – 0.61 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 4 ทักษะการสื่อสาร ประกอบด้วย 4 ตัวบ่งชี้ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.48 – 0.63 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบที่ 5 ทักษะชีวิตและอาชีพ ประกอบด้วย 7 ตัวบ่งชี้ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง  0.46 – 0.59 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกตัวบ่งชี้  และโมเดลองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ทักษะของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

 

Abstract

        The objective of this research was to develop student’s skills indicators of 21st century through developing components and skills indicators by synthesized the conceptually related articles and subsequently 9 experts specializing in youth development about 21st century skills evaluated 2 vol. questionnaires. The validity was checked and the assessment forms for skills indicators with 540 high school students in Secondary Educational Service Area Office 39 were utilized. Data were analyzed by using the statistics as frequency distribution, median, inter-quartile range, percentage, mean, standard deviation, and coefficient of correlation by statistical package and second-order confirmatory factor analysis by LISREL program.

        From the research results, The appropriate components of student’s skills in 21st century included 5 components that are Creative thinking skills, Critical thinking and problem solving skills, Information media and technology skills, Communication skills, and Life and career skills, with factor loading between 0.85 to 0.98 and statistically significant at the .05 level for all components. So the appropriate indicators of student’s skills in 21st century included 24 indicators as follows; Creative thinking skills included 3 indicators with factor loading between 0.49 to 0.52 and statistically significant at the .05 level for all indicators, Critical thinking and problem solving skills included 4 indicators with factor loading between 0.43 to 0.54 and statistically significant at the .05 level for all indicators, Information media and technology skills included 6 indicators with factor loading between 0.47 to 0.61 and statistically significant at the .05 level for all indicators, Communication skills included 4 indicators with factor loading between 0.48 to 0.63 and statistically significant at the .05 level for all indicators, and Life and career skills included 7 indicators with factor loading between 0.46 to 0.59 and statistically significant at the .05 level for all indicators. And the model of the components and skills indicators fitted to the empirical data.

Article Details

How to Cite
ศิริลักษณ์ ว., ประจันบาน ป., & พานิชย์ผลินไชย เ. (2014). การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะของนักเรียนในศตวรรษที่ 21. Journal of Education and Innovation, 16(4), 155–165. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/21953
Section
Research Articles