การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง พระเครื่องเมืองสุพรรณ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่องพระเครื่องเมืองสุพรรณสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งมีขั้นตอน 4 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 วิจัย (research 1) : การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนา (development 1) : การพัฒนาหลักสูตรขั้นตอนที่ 3 วิจัย (research 2) : การทดลองใช้หลักสูตรขั้นตอนที่ 4 พัฒนา (development 2) : การประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับสลาก 1 ห้องเรียนจากจำนวน 4 ห้องเรียน ซึ่งได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนอนุบาลสมเด็จพระวันรัต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) หลักสูตรท้องถิ่นเรื่องพระเครื่องเมืองสุพรรณ 2) แบบสอบถาม จำนวน 1 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนอนุบาลสมเด็จพระวันรัต เกี่ยวกับความต้องการศึกษาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่องพระเครื่องเมืองสุพรรณ 3) แบบสัมภาษณ์ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.764 โดยการประเมินผลก่อนใช้หลักสูตรและหลังใช้หลังสูตร ใช้เวลาครั้งละ 30 นาที 5) แบบประเมินทักษะการปฏิบัติกิจกรรม 6) แบบประเมินความพึงพอใจต่อหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องพระเครื่องเมืองสุพรรณ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการสอบถามความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหลาย ๆ ฝ่ายจำนวน 10 ข้อ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ทราบเรื่องพระเครื่องเมืองสุพรรณร้อยละ 85.00 ไม่เคยเห็นพระเครื่องเมืองสุพรรณ ร้อยละ 87.50 และไม่เคยมีพระเครื่องเมืองสุพรรณ ร้อยละ 97.50 พระเครื่องที่รู้จักคือ พระผงสุพรรณ ร้อยละ 92.50 ต้องการให้มีการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่องพระเครื่องเมืองสุพรรณ ร้อยละ 95.00 เห็นด้วยอย่างยิ่งจัดการเรียนการสอนเรื่องพระเครื่องเมืองสุพรรณ ในโรงเรียน ร้อยละ 72.50 เห็นด้วยอย่างยิ่งในที่จะนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสอนเรื่อง พระเครื่องเมืองสุพรรณ ในโรงเรียน ร้อยละ 60.00 วิธีการใดเหมาะสมที่สุดสำหรับการเรียนการสอนเรื่อง พระเครื่องเมืองสุพรรณคือการสาธิต ร้อยละ 92.50 วิธีการวัดและประเมินผล จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่อง พระเครื่องเมืองสุพรรณ คือ ทดสอบ และต้องการเรียนการจัดทำผลงาน ร้อยละ 100.00
2. การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่องพระเครื่องเมืองสุพรรณ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วย หลักการ จุดหมาย โครงสร้าง ขอบข่ายเนื้อหา เวลาเรียน แนวการจัดการเรียนรู้ สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผล และแผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาสาระของหลักสูตร โดยแบ่งเป็นภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ ซึ่งมีทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียนและนอกห้องเรียน จำนวน 6 แผน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คนทำการประเมินหลักสูตร พบว่า หลักสูตรมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เนื้อหา ระยะเวลาในการทดลองใช้หลักสูตร การประเมินผล และเหมาะสมที่จะนำไปใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งผลการประเมินได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00
3. การทดลองใช้ หลักสูตรท้องถิ่น เรื่องพระเครื่องเมืองสุพรรณ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยนำหลักสูตรไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 ปีการศึกษา 2556 ภาคเรียนที่ 1 โรงเรียนอนุบาลสมเด็จพระวันรัต จำนวน 40 คน ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง ดำเนินการทดลองหลักสูตรตามแผนการจัดการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนมีความสนใจ ตั้งใจปฏิบัติกิจกรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (= 4.64, S.D. = 0.25) สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่น
4. การประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตร พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องพระเครื่องเมืองสุพรรณ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังใช้หลักสูตรสูงกว่าก่อนใช้หลักสูตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 การประเมินผลด้านทักษะการปฏิบัติกิจกรรมโดยภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก ส่วนการประเมินด้านความพึงพอใจ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรท้องถิ่น เรื่องพระเครื่องเมืองสุพรรณ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการปรับปรุงหลักสูตร พบว่า มีข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไขเรื่องของระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมภาคปฏิบัติเวลาน้อยไป จึงปรับเพิ่มชั่วโมงการเรียนการสอนภาคปฏิบัติในแผนการจัดการเรียนรู้ให้มากขึ้น
คำสำคัญ : หลักสูตรท้องถิ่น/ พระเครื่องเมืองสุพรรณ
Abstract
This research was aimed to develop local curriculum on the topic of small Buddha for Prathomsuksa 6 Students. The samples, obtained by simple random sampling, was 40 students from Anubansomdetprawannarat School, under Suphanburi Primary Educational Service Area Office 3, during the first semester of academic year 2013. The instruments consisted of: 1) a local curriculum on the topic of small Buddha, 2) a questionnaire, 3) an interview, 4) a learning achievement test with a reliability of 0.764, 5) an evaluation form of practice skill, and 6) an evaluation form of satisfaction towards curriculum. The data were analyzed in terms of , mean, the standard deviation, t- test, and content analysis. The results from this study are as follow:
1. The research findings were as follows: from studying basic information, and developed the curriculum. All of participants agreed that the school should develop the local curriculum on the topic of small Buddha of Suphanburi and should have suitable activities for students.
2. From the development, the curriculum consisted of principles and objectives, curriculum structure, course description, scope of the contents, period of time, learning approaches, learning plans, instructional media and learning resources, and measurement and evaluation. There were 7 learning plans which consisted of theoretical part and practical part. Experts evaluated that the curriculum was suitable for that school.
3. From trialing the curriculum, the researcher found that the students were interested in the curriculum, paid attention in activities, and were able to apply it to their daily lives.
4. For the evaluation and improvement, the students had higher learning achievement after using the curriculum at a significance level of .05. Their practice skills were rated at the highest level. Their satisfaction towards the curriculum were good. One improvement was that the period of practical part should be increased.
Keywords: Local CurrIculum/ Suphanburi Amulets
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.