การพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวัดของเจ้าอาวาสในจังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

ธนวัฒน์ นคะจัด
ระมัด โชชัย
สำราญ มีแจ้ง

Abstract

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวัดของเจ้าอาวาสในจังหวัดกำแพงเพชร 2) พัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวัดของเจ้าอาวาสในจังหวัดกำแพงเพชร 3) การประเมินกลยุทธ์การบริหารงานวัดของเจ้าอาวาสในจังหวัดกำแพงเพชร โดยมีเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพและปัญหางานวัดของเจ้าอาวาส และปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการบริหารงานวัดของเจ้าอาวาส โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ผู้บริหาร และ
ศาสนบุคคลในวัดในจังหวัดกำแพงเพชร 2) พัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวัดของเจ้าอาวาสในจังหวัดกำแพงเพชร ดำเนินการยกร่างกลยุทธ์ โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้บริหาร เจ้าอาวาส และตัวแทนองค์การ ตรวจสอบกลยุทธ์โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ 3) ประเมินความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์ที่ปรับปรุงแล้วของกลยุทธ์การบริหารงานวัดของเจ้าอาวาส โดยใช้แบบสอบถาม

        ผลการวิจัยพบว่า

        1. สภาพการบริหารงานวัดของเจ้าอาวาสที่ปฏิบัติมาก ได้แก่ ด้านการวางแผน เช่น มีการกำหนดรายละเอียดแผนงานด้านจัดสรรทรัพยากร และอุปกรณ์  ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม และด้านการนำ มีการบริหารศาสนบุคคลด้านการบริหารงานวัดได้อย่างเหมาะสม ทำให้ศาสนบุคคลมีศักยภาพในการดำเนินงาน ส่วนปัญหาการบริหารงานวัดของเจ้าอาวาส พบว่า ปัญหาเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานวัดของเจ้าอาวาสแก่ศาสนบุคคล ชุมชน องค์การ และสถาบันอื่น ผลการวิเคราะห์ พบว่า ด้านศาสนบุคคล ด้านสังคม ด้านผู้บริหาร ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง และด้านวัสดุอุปกรณ์ เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อสภาพการบริหารและการจัดการของเจ้าอาวาส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.1

        2. กลยุทธ์การบริหารงานวัดของเจ้าอาวาสในจังหวัดกำแพงเพชร ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นกลยุทธ์ เป้าประสงค์กลยุทธ์ มาตรการ และตัวชี้วัด กลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ 1) พัฒนาการวางแผนบริหารงานวัดให้เป็นระบบ 2) พัฒนาระบบกระบวนการวางแผนงานวัด โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน บรรพชิต ประชาชน และเอกชน 3) พัฒนาโครงสร้างองค์การงานวัดให้ชัดเจนและมีความเชื่อมโยง 4) พัฒนาเจ้าอาวาสและคณะกรรมการบริหารงานวัดอย่างต่อเนื่อง 5) พัฒนาระบบกลไกการติดตาม และประเมินผลงานวัดแบบมีส่วนร่วม 6) ยกระดับการพัฒนาความพร้อมด้านศาสนศึกษา และการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่สมาคมอาเซียน 7) ประสานเครือข่ายพุทธบริษัท 4 เพื่อการบริหารงานวัดของเจ้าอาวาส 8) ปรับปรุงระบบกลไกการติดตามและประเมินผลการบริหารงานวัด

        3. ผลการประเมินกลยุทธ์การบริหารงานวัดของเจ้าอาวาสในจังหวัดกำแพงเพชร พบว่า กลยุทธ์ส่วนใหญ่มีความสอดคล้องในระดับมากที่สุด ความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

 

Abstract

        The purposes of this research were 1) to study conditions and the problems of the temple management of the abbots in Kamphaengphet province, 2) to develop the temple management strategies of the abbots in Kamphaengphet province, 3) to assess the temple management strategies of the abbots in Kamphaengphet province. The data collection was as follows; 1) a study of the conditions and the problems of the abbort and the concerned factors of the temple management was conducted by using a questionnaire and interviewing the adminstrators and Buddhist people in Kamphaengphet province temples, 2) the strategy development for temple management of the abbots in Kamphaengphet was conducted in the form of a workshop for the administrators, the abbots, and the organization representatives, and the strategy was examined by the connoisseurship, 3) assessing consistency, propriety, feasibility, and utility of the rectified strategies of the temple management of the abbots.

        The findings were as follows :

        1. The conditions of the temple management of the abbots revealed as follows; the planning aspect revealed that there were a proper resource planning and materials allocation. The leading aspect revealed that personnel administration was appropriate. For the problems of the temple management, it was found that the problems on the knowledge promotion about the temple management of the abbots to the people, community, organization, and other institutes, especially the aspects of Buddhist people, society, administrator, economy, politics, and material affected the management of the abbots with the statistical significance at .01

        2. The strategies of the temple management of the abbots in Kamphaengphet Consisted of vision, mission, strategic issues, goals, measures, and indicators. The developed strategies consisted of 1) the systematic development of temple administrative planning, 2) the development of the temple administrative planning process with an emphasis on the participation of the community, monks, people, and non-government sectors, 3) the development of the clear temple organization structure, 4) the development of the abbots and the temple management committee, 5) the development of the system and the mechanism

for monitoring and participatory assessment of the temple works, 6) the development of the readiness of the religious study and the dissemination of Buddhism to Asean community, 7) the cooperation of the four Buddhist communities for the abbots’ temple management, 8) the improvement of the system and the mechanism for monitoring and assessing the temple administration.

        3. The results of the temple management strategies of the in Kamphaengphet were found the consistency, the propriety, and the feasibility of the most strategies were at a high level, but the utility of the strategy was at the highest level.

Article Details

How to Cite
นคะจัด ธ., โชชัย ร., & มีแจ้ง ส. (2014). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวัดของเจ้าอาวาสในจังหวัดกำแพงเพชร. Journal of Education and Innovation, 16(4), 188–199. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/21968
Section
Research Articles