รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูใหม่ในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ A COMPETENCIES DEVELOPMENT MODEL OF NOVICE TEACHER IN 21ST CENTURY BASED ON SCHOOL AS LEARNING ORGANIZATION

Main Article Content

ธนกฤต อั้งน้อย
อนุชา กอนพ่วง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูใหม่ในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ วิธีดำเนินการวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นของครูใหม่ในศตวรรษที่ 21 และแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะ ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้กลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ได้แก่ ครูใหม่จำนวน 312 คน ครูพี่เลี้ยงจำนวน 279 คน และผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 286 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบตรวจความเหมาะสมร่างรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 291 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบประเมินความเป็นไปได้และความมีประโยชน์ของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า สมรรถนะที่จำเป็นของครูใหม่ในศตวรรษที่ 21 มีจำนวน 15 สมรรถนะ จำแนกเป็น3 กลุ่มสมรรถนะ ดังนี้ 1) กลุ่มสมรรถนะหลัก ประกอบด้วย 3 สมรรถนะ ดังนี้ สมรรถนะการทำงานเป็นทีม สมรรถนะการพัฒนาตนเอง และ สมรรถนะด้านจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู 2) กลุ่มสมรรถนะประจำสายงาน ประกอบด้วย 5 สมรรถนะ ดังนี้ สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ สมรรถนะการพัฒนาทักษะและคุณลักษณะของผู้เรียน สมรรถนะการบริหารจัดการชั้นเรียน สมรรถนะด้านภาวะผู้นำครู และสมรรถนะการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ 3) กลุ่มสมรรถนะส่วนบุคคล ประกอบด้วย 7 สมรรถนะ ดังนี้ สมรรถนะด้านความฉลาดทางอารมณ์ สมรรถนะด้านสื่อและเทคโนโลยีสมรรถนะด้านความฉลาดทางสังคม สมรรถนะด้านการคิดแบบมีวิจารณญาณและคิดแก้ปัญหา สมรรถนะด้านความคิดสร้างสรรค์ และสมรรถนะด้านความรู้ โดยที่รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูใหม่ในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ สามารถดำเนินการโดยแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับองค์การ ระดับกลุ่ม และระดับบุคคล โดยมีกระบวนการพัฒนา 5 ขั้นตอน คือ 1) ประเมินความต้องการจำเป็น 2) วัตถุประสงค์การพัฒนา 3) วิธีการพัฒนา 4) แนวทางการดำเนินการพัฒนา และ 5) ประเมินผลการพัฒนา ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูใหม่ในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ผู้อำนวยการโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเห็นว่าในการนำรูปแบบไปใช้มีความเป็นไปได้ และมีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
อั้งน้อย ธ., & กอนพ่วง อ. . (2020). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูใหม่ในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้: A COMPETENCIES DEVELOPMENT MODEL OF NOVICE TEACHER IN 21ST CENTURY BASED ON SCHOOL AS LEARNING ORGANIZATION. Journal of Education and Innovation, 23(2), 169–180. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/221050
บท
บทความวิจัย

References

Hiatt-Michael, D. (2001). Promising practices for family involvement in school. Greenwich, CT: Information Age Publishing.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Manabu, S. (2019). Concept school reform a learning community and practical application of theory (2nd ed.). Bangkok: Pico (Thailand). [in Thai]

Ministry of Education. (2017). Summary of His Majesty's orders King Rama 9 and King Rama 10, the subject of education. Bangkok: Office of the Basic Education Commission. [in Thai]

Munkejkit, C., Chanbanchong, C., Jansila, V., & Mejang, S. (2008). The development of teacher induction model in basic education school. Journal of Education Naresuan University, 10(Special), 41-56. [in Thai]

National Institute of Education (NIE). (2009). A teacher education model for the 21st century. Retrieved from https://www.nie.edu.sg/docs/default-source/te21_docs/te21-online-version---updated.pdf?sfvrsn=2

Nongyao, A., Worain, C., & Kanpong, A. (2017). Model of school administration for developing students learning skill in the 21st century. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), 10(1), 132-143. [in Thai]

Office of the Teacher Civil Service and Educational Personnel Commission (OTEPC). (2018). Criteria and methods for preparing and developing intensively assistant teacher position. Retrieved from https://otepc.go.th/images/00_YEAR2561/07_PS/261061.pdf [in Thai]

Padjad, S., Chanbanchong, C., Sometip, T., & Kornpuang, A. (2011). The Model of management to enhance the performance competency of new teacher under municipal school. Journal of Education Naresuan University, 13(3), 57-77. [in Thai]

Saavedra, A. R., & Darleen, O. V. (2012). Learning 21st-century skills requires 21st-century teaching. Phi Delta Kappan, 94(2), 8-13. DOI: 10.2307/41763587

Senge, P. M. (1990). The fifth discipline: The art and practice of the learning organization. New York: Doubleday.

The Secretariat of the Senate. (2017). Production system and teacher development. Retrieved from https://www.senate.go.th/document/mSubject/Ext83/83534_0001.PDF [in Thai]