การศึกษาภาพตัวแทนความรักชาติของศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบนำตนเอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพตัวแทนความรักชาติของศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบนำตนเอง โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีและแนวคิด ดังนี้ 1) ทฤษฎีการประกอบสร้างความเป็นจริงทางสังคมกับการรับรู้ความหมาย 2) แนวคิดภาพตัวแทน 3) แนวคิดแหล่งการเรียนรู้ และ 4) แนวคิดการเรียนรู้แบบนำตนเอง ประกอบกับบริบททั่วไปของศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์ เป็นกรอบหลักในการทำวิจัย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร ในภาคการเรียน 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 36 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการสอนการรู้ภาพตัวแทนความรักชาติของศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์ 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินการเรียนรู้แบบนำตนเอง และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อการเรียนจากการศึกษาภาพตัวแทนความรักชาติของศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติทดสอบ t-test dependent ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบระหว่างคะแนนหลังเรียนกับเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 85.02 คะแนนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นิสิตมีการเรียนรู้แบบนำตนเองจากการศึกษาภาพตัวแทนความรักชาติของศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.56, S.D. = 0.34) 3) ความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อการเรียนจากการศึกษาภาพตัวแทนความรักชาติของศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยแบบนำตนเอง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (
= 4.17, S.D. = 0.48)
Article Details
เจ้าของบทความมิได้คัดลอก หรือละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใด หากเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าวิธีใด หรือการฟ้องร้องไม่ว่ากรณีใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ กองบรรณาธิการวารสารศึกษาศาสตร์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ให้เป็นสิทธิ์ของเจ้าของบทความที่จะดำเนินการ
References
Branch, R. M. (2009). Instructional design: The ADDIE approach. New York: Routledge.
Charungkaittikul, S. (2015). Philosophies and Concepts of Learning Society. Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]
Chotudomphan, S. (2008). Discourse and Representation. Journal of Arts, 37(1), 1-15. [in Thai]
Department of Education. (2001). National Education Act B.E. 2542 (1999) and Amendments (Second National Education Act B.E. 2545 (2002). Bangkok: Ministry of Education. [in Thai]
Gumjudpai, T. (2014). Creating cultural meaning through the exhibit of the Thawee Folk Museum, Phitsanulok Province. Journal of Communication Arts Rungsit University, 17(2), 121-131. [in Thai]
Gumjudpai, T., & Sittiwong T. (2019). The study of cultural construction of meaning through museum exhibition to promote self-directed learning. Journal of Education Naresuan University, 21(4), 121-131. [in Thai]
Hophaisarn, S. (2001). Innovation and education technology application in the new millennium:
Web based instruction. Sripatum Review of Science and Technology, 1(2), 93-104. [in Thai]
Kaewthep, K. (2010). Stream of thinkers of the theory: Political economy and communication study (2nd ed). Bangkok: Graphic Arts. [in Thai]
Knowles, S. M. (1975). Self-directed learning: A guide for learners and teachers. New York: Follett.
Mingsiritham, K. (2009). Self-directed learning on web-based learning. Journal of Education Khon Kaen University, 32(1), 6-13. [in Thai]
Phaktaranikon, S. (2014). The Procedure to Construct Thai Nationalism Ideology by Linguistic Strategies in Wimol Siripaiboon’s Historical Novels. Journal of Humanities and Social Sciences Review, 2(1), 109-140. [in Thai]
Procter, J. (2004). Stuart hall. London and New York: Routledge.
Roonkaseam, N. (2006). Communication and practices of representation through the museums as texts in Thailand (Doctoral dissertation). Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]