การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีการสอนและเทคโนโลยี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และ 2) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสว่างแดนดิน อำเภอสว่างแดนดิน
จังหวัดสกลนคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีการสอนและเทคโนโลยี 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าทีแบบกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เจ้าของบทความมิได้คัดลอก หรือละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใด หากเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าวิธีใด หรือการฟ้องร้องไม่ว่ากรณีใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ กองบรรณาธิการวารสารศึกษาศาสตร์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ให้เป็นสิทธิ์ของเจ้าของบทความที่จะดำเนินการ
References
Angganapattarakajorn, V. (2012). All you need to know for mathematics teachers: Teaching curriculum and research. Bangkok: Charan Sanit Wong.
Buaraphan, K., & Roadrangka, V. (2005). Guideline for science teacher development: Developing pedagogical content knowledge. Kasetsart Educational Review, 20(2), 31-48.
Chaphithak, R., & Chaipichit, D. (2021). The development of grade 3 students’ scientific process skill and learning achievement through problem-based learning activities. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(6), 215-232.
Jai-on, K. (2018). Handbook of technology pedagogical content knowledge (TPCK) for education. Journal of Education Khonkaen University, 41(3), 119-122.
Kheawnamchoom, K. (2020). The Development of Learning Skill in Science Using Problem-Based Learning (PBL) for Prathom Suksa 2 in Ban Dong Noi School Under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 2. Journal of Curriculum and Instruction Sakon Nakhon Rajabhat University, 12(33), 19-26.
Ministry of Education. (2008). Basic Education Core Curriculum A.D. 2008. Bangkok: The agricultural Co-operative Federation of Thailand.
Roadrangka, V. (2001). Science teaching that emphasizes process skills. Bangkok: The Master Group Management Company Limited.
Thammaprateep, J. (2016). Developing technological pedagogical content knowledge in science teaching. Journal of Research and Curriculum Develipment, 6(2), 1-13.
Thongjiao, J. (2018). Causal factors affecting integrated science process skills of Mathayomsuksa 3 Nakhon Ratchasima Provincial Administrative Organization. Journal of Nakhon Ratchasima College, 12(3), 1-12.
Waraput, S., Khamhaengpol, A., & Pansuppawat, T. (2021). Development of science process skills and learning achievement on the unit of food and addictive substance of Mathayomsuksa 2 students by using problem-based learning and the principles of sufficiency economy philosophy. Journal of Curriculum and Instruction Sakon Nakhon Rajabhat University, 13(37), 119-129.