การพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

พันธ์นิภา เมฆสินธุ์
สมชัย วงษ์นายะ
สุณี บุญพิทักษ์

Abstract

บทคัดย่อ

        การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร 2) พัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร 3) ประเมินกลยุทธ์การดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตจังหวัดกำแพงเพชรดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างการประชุมเชิงปฏิบัติการ การสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญและใช้แบบประเมินกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

        ผลการวิจัยพบว่า

        1. สภาพการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร ที่สำรวจได้ คือ ด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้านบุคลากร ด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ด้านการมีส่วนร่วมและสนับสนุนทุกภาคส่วน และด้านส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัย

        2. ปัญหาการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร พบว่า มีปัญหาดังนี้ ด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีแผนพัฒนาการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีที่ไม่สอดคล้องกับหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย ด้านบุคลากรครูผู้ดูแลเด็กได้รับการอบรมความรู้เพิ่มเติมไม่เพียงพอ ด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ห้องเรียนมีขนาดไม่เหมาะสมกับจำนวนเด็กตามเกณฑ์ ด้านวิชาการ และกิจกรรมตามหลักสูตร ครูผู้ดูแลเด็กมีความเข้าใจการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน ไม่เพียงพอ ด้านการมีส่วนร่วมและสนับสนุนทุกภาคส่วน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีนโยบายและแผนงานการสร้างความร่วมมือกับครอบครัว ชุมชน และองค์กรต่างๆ ในการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กน้อย และด้านส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัยพบว่า ผู้ปกครอง ชุมชน มีส่วนร่วมในการตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ยังไม่เพียงพอ

        3. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร พบว่า ปัจจัยภายในส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนปัจจัยภายนอกส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก

        4. กลยุทธ์การดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นกลยุทธ์ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ มาตรการ และตัวชี้วัด

        5. การประเมินกลยุทธ์การพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดกำแพงเพชร พบว่า กลยุทธ์ส่วนใหญ่มีความสอดคล้องในระดับมาก โดยมีความเหมาะสม และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ส่วนความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

คำสำคัญ : กลยุทธ์/ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/ องค์การบริหารส่วนตำบล

 

Abstract

        The purposes of this research were 1) to explore the usual conditions, problems and factors concerning the operational strategies of child development centers in sub-district Administrative Organization (SAO) in Kamphaengphet province, 2) to develop strategic management of child development center of SAO, and 3) to evaluate the operational strategies of child development center of SAO. Data were collected by a constructed questionnaire, a structured interview, workshop and seminar of experts in strategic management. The statistical analysis employed percentage, means, standard deviations and content analysis.

        The findings of the research were as follows:

        1. The actual conditions of child development center of SAO were management, staff personnel, building facilities and environment, the stake holders’ participation, the promotion of network development.

        2. The problems of child development center management of SAO were as follows : the development plan and the annual plan were not congruent with childhood education principle, insufficient training of the child care teachers, classroom – size does not fit the set criterion of children number; in academics and curricular activities, the child care teachers still need to learn more about classroom action research ,and in participation and support from external sectors, the child centers scarcely set the policy and action plan to cooperate with families, communities and other organizations and insufficiency of stakeholders, having a low level of participation in monitoring and evaluating the management.

        3. The internal factors affecting the management of child development center of SAO were at a moderate level but the external factors were at a high level.

        4. The proposed strategies of child development center of SAO consisted of vision, mission, strategic plan, objectives, strategies, measure and indicators.

        5. The evaluation of the strategies of SAO resulted that the suitability and the feasibility were rated at a high level, while the utility was at the highest level.

Keywords: Strategy/ Child Development Center/ Sub-district Administrative Organization (SAO)

Article Details

How to Cite
เมฆสินธุ์ พ., วงษ์นายะ ส., & บุญพิทักษ์ ส. (2015). การพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดกำแพงเพชร. Journal of Education and Innovation, 17(1), 79–90. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/29159
Section
Research Articles