รูปแบบการพัฒนาแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการประเมินตามสภาพจริง รายวิชาโครงงานนักศึกษาด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดีย สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบรูปแบบการพัฒนาแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการประเมินตามสภาพจริง รายวิชาโครงงานนักศึกษาด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดีย สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ การพัฒนาแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ฯ โดยมีขั้นตอนการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) การออกแบบรูปแบบการพัฒนาแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ฯ 2) การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนา แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ
ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการสอน ด้านการวัดผลทางการศึกษา ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จำนวน 5 ท่าน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ รูปแบบการพัฒนาแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ฯ และแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ฯ วิเคราะห์ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ โดยใช้ IOC ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการพัฒนาแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ฯ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1.1) การเตรียมความพร้อม 1.2) การเตรียมการก่อนการพัฒนาแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ฯ 1.3) กระบวนการพัฒนาแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ฯ 1.4) การวัดและประเมินผล 2) กระบวนการพัฒนาแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ฯ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 2.1) กำหนดจุดมุ่งหมายและเนื้อหาของแฟ้มสะสมงาน 2.2) เก็บรวบรวมผลงานในแฟ้มสะสมงานชั่วคราว 2.3) คัดเลือกผลงานและจัดระบบ 2.4) สะท้อนความคิดที่มีต่อผลงาน 2.5) ประเมินตนเอง 2.6) นำเสนอแฟ้มสะสมงานฉบับสมบูรณ์ 3) ผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ประเมินรูปแบบการพัฒนาแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ฯ แล้วมีความคิดเห็นว่าเหมาะสมที่จะใช้ในการประเมินตามสภาพจริง โครงสร้างของแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์แสดงให้เห็นศักยภาพ ความสามารถ สะท้อนความคิด ความก้าวหน้า และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
คำสำคัญ : แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์/ การประเมินตามสภาพจริง
Abstract
The purposes of the research study were 1) to design electronic portfolio development model for authentic assessment for the course, Student Project in Multimedia Technology, for undergraduate students in the department of information technology at Nakhon Pathom Rajabhat University, 2) to evaluate electronic portfolio development model. The research methodology could be divided into two steps. The first step was to design electronic portfolio development model, and the second step was to evaluate electronic portfolio development model. The samples in the research study consisted of five experts. These samples got experiences in curriculum and instruction, educational measurement and information and communication technology. The purposive selection method was used in the research study. The research instruments included the electronic portfolio development model and the evaluation form of electronic portfolio development model. Data were analyzed by IOC. The results of the research study were concluded as follows: 1) the electronic portfolio development model consisted of four components as follows: 1.1) readiness preparation, 1.2) pre-portfolio production preparation, 1.3) development process and 1.4) measurement and assessment. 2) electronic portfolio development process consisted of six steps as follows: 2.1) identify electronic portfolio goals and contents, 2.2) collect works in the working portfolio, 2.3) select and organize works for the final portfolio, 2.4) self-reflection on works, 2.5) self-assessment and 2.6) present the final portfolio. 3) The samples perceived that an electronic portfolio model was appropriate for authentic assessment. The electronic portfolio‘s structure showed potential, ability, idea, progress and achievement of learners.
Keywords : Electronic Portfolio/ Authentic AssessmentArticle Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.