การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

สุพรทิพย์ ธนภัทรโชติวัต
อมรรัตน์ วัฒนาธร
เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย
ปกรณ์ ประจันบาน

Abstract

บทคัดย่อ

        การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 21 ดำเนินการวิจัยโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา 3 ขั้นตอน โดยผู้วิจัยให้ความสำคัญกับการวิจัยเอกสารใน ขั้นตอนที่ 1 คือ ศึกษาคุณลักษณะของครูในศตวรรษที่ 21 และการจัดประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อนำมาเป็นสารสนเทศสำคัญประกอบการตัดสินใจในการยกร่างรูปแบบการจัดประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 21 ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาและตรวจสอบรูปแบบการจัดประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 21 ในเบื้องต้นดำเนินการประเมินความเหมาะสมและความครอบคลุมด้านกรอบแนวคิด ทฤษฎี และคุณลักษณะครูที่พึงประสงค์ โดยนักวิชาการและผู้บริหาร จำนวน 3 ท่าน จากนั้นนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 8 ท่าน ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ ก่อนนำไปให้คณาจารย์สังกัดครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ที่รับผิดชอบการจัดประสบการณ์วิชาชีพครู จาก 6 มหาวิทยาลัย จำนวน 122 คน ในจังหวัดเขตภาคเหนือตอนล่าง ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบก่อนการนำไปทดลองใช้ ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้กิจกรรมปฐมนิเทศในรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 21 ในกิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โดยไปทดลองใช้กับนิสิตชั้นปีที่ 5 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ออกฝึกสอน ในปีการศึกษา 2556 จำนวน 160 คน กิจกรรมที่นำมาทดลองใช้ได้แก่ กิจกรรมส่งเสริมจิตวิญญาณความเป็นครูโดยใช้กระบวนการตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ผลการวิจัย พบว่า

        1. คุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 21 แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านความรู้ความสามารถในสาขาวิชา ประกอบด้วย 6 คุณลักษณะย่อย ได้แก่ 1) มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในเนื้อหาวิชา 2) มีเทคนิค วิธีการถ่ายทอดความรู้ที่หลากหลาย 3) มีทักษะการคำนวณ 4) มีความสามารถในการวัดและประเมินผลที่หลากหลาย 5) รู้จักและเข้าใจผู้เรียน 6) มีความสามารถในการพัฒนาหลักสูตร จัดทำแผนการสอน กิจกรรม และการประเมินผล ที่สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างผู้เรียน ด้านที่ 2 ด้านการปฏิบัติตนและเห็นคุณค่าวิชาชีพครู ประกอบด้วย 7 คุณลักษณะย่อย ได้แก่ 1) เป็นผู้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ 2) มีสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคล ทำงานเป็นทีมได้ 3) เป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ 4) เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ และใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ  5) รักและศรัทธาในวิชาชีพครู 6) เป็นผู้มีภาวะผู้นำทางวิชาการ 7) ปฏิบัติตามนโยบาย ของหน่วยงาน และด้านที่ 3 ด้านสังคมพหุวัฒนธรรม ประกอบด้วย 5 คุณลักษณะย่อย ได้แก่ 1) มีความสามารถด้านการใช้ภาษา/การสื่อสาร 2) เป็นผู้เลือกใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม 3) เป็นผู้รอบรู้ เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง ทันสมัยทันเหตุการณ์ 4) มีความคิด และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 5) มีความสามารถในการบริหารจัดการ

        2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 21  ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ความเป็นมาของรูปแบบ แนวคิดทฤษฎีพื้นฐาน หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ และการจัดประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 21 ในองค์ประกอบด้านการจัดประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ ขั้นตอน เป้าหมาย โครงการ/กิจกรรม และการประเมินผล ผลประเมินความเหมาะสมและความครอบคลุมด้านกรอบแนวคิด ทฤษฎี และคุณลักษณะครูที่พึงประสงค์ โดยนักวิชาการและผู้บริหาร จำนวน 3 ท่าน มีความเห็นสอดคล้องกันว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและครอบคลุม ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดประสบการณ์โดยผู้เชี่ยวชาญ 8 คน ในภาพรวมผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกันว่ารูปแบบ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (Md. = 4.54) สำหรับผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ โดยคณาจารย์สังกัดคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ที่รับผิดชอบการจัดประสบการณ์วิชาชีพครู ผลการประเมินพบว่ารูปแบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (\bar{x}= 4.35, S.D. = 0.71)

        3. ผลการทดลองใช้กิจกรรมในโครงการปฐมนิเทศนิสิตก่อนออกฝึกประสบการณ์ด้วยการนำแนวจิตตปัญญาศึกษามาประยุกต์ใช้เพื่อปลุกจิตวิญญาณความเป็นครู มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้นิสิตมีความพร้อมก่อนออกฝึกประสบการณ์ การสังเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้จากการที่นิสิตสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ (Reflection) และ การเขียนอิสระ (Free Writing) พบว่าจิตวิญญาณความเป็นครูของนิสิตถูกปลุกกระตุ้น นิสิตเกิดความตระหนักในบทบาท และหน้าที่ของการเป็นครูดี นิสิตประเมินตนเองว่ามีความพร้อมมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการเข้าร่วมโครงการ ในภาพรวมนิสิตมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่จัดในระดับมาก (\bar{x} = 4.31)

คำสำคัญ: การจัดประสบการณ์วิชาชีพ/ คุณลักษณะครู/ ศตวรรษที่ 21

 

Abstract

        The research aimed at developing a teaching profession experience model for enhancing the required characteristics of teacher in the 21st Century. The research was conducted through research and development methodology which consisted of three steps as follows: The first step was a documentary research aimed to synthesis the required characteristics of teacher in the 21st Century and the practicum process of Teacher Education. The information from the first step was used as a guideline for drafting the teaching profession experience model for enhancing the required characteristics of teacher in the 21st Century. The first draft of the model was considered the coverage of theory, concept, and required characteristics of teacher in the 21st Century by the three experts in the field of Teacher Education. The second step was constructing model and verifying model quality by two groups of specialists; the first group consisted of eight specialists who fully with experience on administration in Faculty of Education and practicum process management for student teachers in universities. Then, the model was re-evaluated by the second group which consisted of 122 instructors who have responsible for teaching profession experience arrangement of six universities located in the lower northern provinces of Thailand. The third step was the implementation, one activity in the model was applied to be used in order to prepare 160 fifth year student teaches of Faculty of Education, Naresuan University before they getting into the field experience in academic year 2013. The findings from the study revealed as follows:

        1. the required characteristics of teacher in the 21st Century and the practicum process of Teacher Education, the study found that there were three dimensions of required characteristics of teacher in the 21st. The 1st dimension was Competence in Disciplines, consisting of 6 characteristics as the followings: having with knowledge and expertise in subject content, having various of teaching techniques, having numeracy skill, having various techniques of measurement and evaluation, having good understanding about students, and having ability to develop curriculum, lesson plans and evaluations corresponding to the difference between the students. The 2nd dimension was Performance and Recognition of Values, consisting of 7 characteristics as the following: being as a good role model for students, having inter personnel relationship and team working, maintaining moral and code of ethics, being a learning person and pursuing to learn, recognizing in teaching profession, having academic leadership, following the rules and regulations of an organization. The 3rd dimension was Concerns for Multicultural Context, consisting of 5 characteristics as the followings: having language ability and communicative skill, having ability to select an appropriate technology usage, having an intellectually for the rapid change, being a good thinker for creatively problem solving, and having ability on management.

        2. the teaching profession experience model for enhancing the required characteristics of teacher in the 21st Century comprises of five elements, including background of the model, the fundamental of theories and concepts, rational of model, objectives, and the process of teaching profession experience for enhancing the required characteristics of teacher in the 21st Century. Within the process of teaching profession experience also consisted of four parts; steps, objectives, projects/activities, and assessments. The difference level of complication on professional experience will increased each year pass. The first draft of the model was considered the coverage of theory, concept, and required characteristics of teacher in the 21st Century by the three experts in the field of Teacher Education. The result found the correlation on the consideration from the experts towards the suitability and coverage all aspects of the developed model. The result of model evaluation on suitability from eight specialists revealed in the highest level in overall (Md. = 4.54). Moreover, the suitability evaluation result from instructors found that the suitability in overall was rated in high level (\bar{x}= 4.35, S.D. = 0.71).

        3. the implementation on the orientation project which applying the contemplative education concept into the preparation activity process in order to foster the mentally readiness of student teachers before they go into the field experience, the finding from qualitative data from reflection and free writing revealed that the spiritual profession of student teachers was awakened, they recognized a good teacher roles and responsibilities, they evaluated themselves in high level when comparing the self-readiness evaluation before and after. In overall, student teachers were satisfied by the activity provided at high level (\bar{x}= 4.31).

Keywords: Teaching Profession Experience/ Characteristics of Teacher/ 21st Century

Article Details

How to Cite
ธนภัทรโชติวัต ส., วัฒนาธร อ., พานิชย์ผลินไชย เ., & ประจันบาน ป. (2015). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 21. Journal of Education and Innovation, 17(1), 33–48. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/29179
Section
Research Articles