รูปแบบการบริหารการนิเทศการศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

Main Article Content

เดชณ์ภรัชน์ เนียมสวรรค์
อนุชา กอนพ่วง
ปกรณ์ ประจันบาน
ฉลอง ชาตรูประชีวิน

Abstract

บทคัดย่อ

   การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารการนิเทศการศึกษา ของสำนักงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาโดยมีวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาองค์ประกอบการบริหารการนิเทศการศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยแบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ส่วน 1.1) การศึกษาข้อมูลสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่วิธีการปฏิบัติที่ดี (Good Practice) เกี่ยวกับการบริหารการนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ 1.2) การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน 2) ยกร่างรูปแบบการบริหารการนิเทศการศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยนำข้อมูลจาก ขั้นตอนที่ 1 และตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ ด้วยการสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และ 3) การประเมินความเป็นไปได้รูปแบบการบริหารการนิเทศการศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จากกลุ่มตัวอย่างผู้ที่เกี่ยวข้อง 17 คน

        ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการบริหารการนิเทศการศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ที่สร้างขึ้นประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) คณะกรรมการนิเทศการศึกษา 2) ขอบข่ายภารกิจการนิเทศการศึกษา และ 3) กระบวนการการนิเทศการศึกษา และเงื่อนไขความสำเร็จ โดยผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่ารูปแบบการบริหารการนิเทศการศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามีความเหมาะสม และผู้บริหารการศึกษา องค์คณะบุคคล ศึกษานิเทศก์ ประธานเครือข่าย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน มีความเห็นว่า การนำรูปแบบการบริหารการนิเทศการศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาไปใช้มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ: การบริหารการนิเทศการศึกษา/ สำนักงานเขตพื้นที่กาศึกษาประถมศึกษา

 

Abstract

        This research study aimed at developing a model of educational supervision administration of Primary Educational Service Area Offices. The research procedure was conducted into 3 steps: 1) to Study the elements of educational supervision administration by means of 1.1) a Survey of supervision administration data of Primary Educational Service Area Offices, 1.2) the interview of 9 qualified experts in educational supervision. 2) the construct of a draft model for educational supervision administration of Primary Educational Service Area Offices. The draft model was verified by a group discussion of qualified supervision experts.3) to evaluate the feasibility of the proposed model by 17 samples involving in educational supervision.

        The finding of the research revealed that the proposed model for educational supervision administration of Primary Educational Service Area Offices was consisted of 3 principles. 1) Educational supervision administrative committee should be established. 2) the scope of educational supervision administration functions was to be indentified.3) the process of educational supervision administration should also be clarified. The educational supervision experts evaluated the model as suitable and the selected 17 samples involving in educational supervision evaluated the model as feasible at the high level.

Keywords: Educational supervision administration/ Primary Educational Service Area Offices

Article Details

How to Cite
เนียมสวรรค์ เ., กอนพ่วง อ., ประจันบาน ป., & ชาตรูประชีวิน ฉ. (2015). รูปแบบการบริหารการนิเทศการศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. Journal of Education and Innovation, 17(1), 49–58. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/29180
Section
Research Articles