ผลการจัดกิจกรรมเกมแบบร่วมมือที่ส่งผลต่อพฤติกรรมด้านความซื่อสัตย์สำหรับเด็กปฐมวัย

Main Article Content

วรรณา อินทรัมพรรย์
เนติ เฉลยวาเรศ
กิรณา เกี๋ยสกุล

Abstract

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบพฤติกรรมด้านความซื่อสัตย์ของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมแบบร่วมมือกับเกณฑ์ร้อยละ 60
2) ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมแบบร่วมมือ ของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เด็กชั้นปฐมวัยปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนอนุบาลวัดนางใน (ละเอียดอุปถัมภ์) อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) ด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเกมแบบร่วมมือเพื่อพัฒนาความซื่อสัตย์ ของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 2 2) แบบประเมินพฤติกรรมด้านความซื่อสัตย์ ของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 2 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมแบบร่วมมือ ของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบที

        ผลการวิจัยพบว่า

        1. พฤติกรรมด้านความซื่อสัตย์ของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมแบบร่วมมือสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

        2. เด็กปฐมวัยมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยการจัดกิจกรรมเกมแบบร่วมมือ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ : กิจกรรมเกม/ เกมแบบร่วมมือ/ ความซื่อสัตย์

 

Abstract

        The purposes of this research were: 1) to compare the honest behavior of children in grade 2 have been organized cooperative game activities with the criteria of 60%, 2) to examine the satisfaction on the study organized by collaborative game activities for children in grade 2. The samples used in the research were 30 preschool children in grade 2, first semester, academic year 2013 at Anuban Watnangnai School (La Eart Oup-patham) in Wiset Chai Chan District, Ang Thong Province under Ang Thong Primary Educational Service Area Office, selected by simple random sampling with the lottery method. The instruments used in this research were: 1) Learning experiences plan using collaborative game activities to improve honest behavior of preschool children in grade 2, 2) evaluation forms of developing honest  behavior of preschool children in grade 2, and 3) satisfaction questionnaires towards learning organized by cooperative game actions for children in grade 2. The data were analyzed by using mean, standard deviation, and t-test.

        The results showed that:

        1. The honest behavior of preschool children in grade 2 obtaining form organized cooperative game activities, were higher than the 60% criterion with statistical significance at the .01 level.

        2. Preschool children were satisfied with learning organized by collaborative game activities, as a whole it at high level.

Key words: Game Activities/ Cooperative Game/ Honest behavior

Article Details

How to Cite
อินทรัมพรรย์ ว., เฉลยวาเรศ เ., & เกี๋ยสกุล ก. (2015). ผลการจัดกิจกรรมเกมแบบร่วมมือที่ส่งผลต่อพฤติกรรมด้านความซื่อสัตย์สำหรับเด็กปฐมวัย. Journal of Education and Innovation, 17(1), 130–137. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/29713
Section
Research Articles