การศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้แท็บเล็ตในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของครูผู้สอนภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1

Main Article Content

วิวรรษา ภาวะไพบูลย์
สุดสรวง ยุทธนา

Abstract

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้แท็บเล็ตในการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนภาษาอังกฤษระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 จำนวน 123 คน โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามที่พัฒนามาจากแบบสอบถามการยอมรับการใช้เทคโนโลยีของ Davis และคณะ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูผู้สอนมีความเห็นว่าการใช้แท็บเล็ตในการจัดการเรียนการสอนมีประโยชน์และมีความง่ายในการใช้งาน ส่งผลให้ครูผู้สอนมีทัศนคติทางบวกต่อการใช้งานแท็บเล็ตและจะนำแท็บเล็ตไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนของตนเองต่อไป นอกจากนี้ ครูผู้สอนได้แสดงความคิดเห็นว่าปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อการใช้งานแท็บเล็ตของตนเอง คือ ความซับซ้อนในการใช้เทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งานและอิทธิพลทางสังคม และ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับในการใช้แท็บเล็ตของครูภาษาอังกฤษ คือ การรับรู้ถึงประโยชน์ที่เกิดจากการใช้งาน การรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน ทัศนคติในการใช้งาน ความตั้งใจในการใช้งาน และปัจจัยภายนอก โดยมีความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ ปัจจัยภายนอกส่งผลกระทบโดยตรงต่อการรับรู้ถึงประโยชน์ที่เกิดจากการใช้งานและการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน โดยการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน ส่งผลโดยตรงต่อการรับรู้ประโยชน์ที่เกิดจากการใช้งาน ทัศนคติในการใช้งาน และความตั้งใจในการใช้งาน ซึ่งทัศนคติในการใช้งานและความตั้งใจในการงานส่งผลโดยตรงต่อการใช้งานแท็บเล็ตของครูผู้สอน

คำสำคัญ : การยอมรับเทคโนโลยี/ แท็บเล็ต/ ผู้สอนภาษาอังกฤษ

 

Abstract

        The purpose of this study was to investigate the factors influencing English language teachers’ actual use of tablets. The participants were 123 English language teachers teaching first graders in primary schools under the Phitsanulok Primary Educational Service Area Office 1 and selected by using simple random sampling. The data were collected by using the questionnaire, and analyzed by using arithmetic mean, standard deviation and path analysis. The findings of this study were 1) The participants perceived usefulness and ease of using tablets. Moreover, they had positive attitudes toward tablet utilization and they indicated that they would use tablets with their instructions. Additionally, they accepted that external factors including technological complexity, facilitating conditions and social influences affected their actual use of tablets, and 2) There were five factors influencing English language teachers’ actual use of tablets including perceived usefulness, perceived ease of use, attitudes toward tablet use, behavioral intention to use and external factors. The relationships of each factor showed as perceived usefulness and perceived ease of use were directly influenced by external factors including technological technology complexity, facilitating conditions and social influences. However, perceived usefulness did not affect other factors. Additionally, perceived ease of use had a direct positive effect on attitudes toward tablet utilization and behavioral intention to use. Moreover, attitudes toward tablet use and behavioral intention to use continued to have a direct effect to actual use. In brief, perceived ease of use was obviously seen as the most important factor influencing English language teachers’ actual use of tablets.

Keywords : Technology Acceptance Model/ Tablet/ English Language Teacher

Article Details

How to Cite
ภาวะไพบูลย์ ว., & ยุทธนา ส. (2015). การศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้แท็บเล็ตในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของครูผู้สอนภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. Journal of Education and Innovation, 17(1), 138–149. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/29714
Section
Research Articles