หลักสูตรเสริมสร้างจิตสาธารณะตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมร่วมกับการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

วัฒนา ไตต่อผล
ภูฟ้า เสวกพันธ์
วารีรัตน์ แก้วอุไร
อมรรัตน์ วัฒนาธร

Abstract

บทคัดย่อ

        การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะด้านจิตสาธารณะสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ของหลักสูตรเสริมสร้างจิตสาธารณะตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมร่วมกับการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคมสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) พัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างจิตสาธารณะตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมร่วมกับการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ 3) ศึกษาผลการทดลองใช้หลักสูตรเสริมสร้างจิตสาธารณะตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมร่วมกับการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยศึกษาผลดังนี้ 3.1) เปรียบเทียบคุณลักษณะด้านจิตสาธารณะของนักเรียนก่อนและหลังการใช้หลักสูตรเสริมสร้างจิตสาธารณะตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม ร่วมกับการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ 3.2) ศึกษาพฤติกรรมด้านการมีจิตสาธารณะของนักเรียนก่อนและหลังการใช้หลักสูตรเสริมสร้างจิตสาธารณะตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม ร่วมกับการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ดำเนินการโดยประยุกต์ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการสุ่มนักเรียนแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 1 ห้อง ที่คละความสามารถ เก่ง ปานกลาง อ่อน โรงเรียนพิชัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตรเสริมสร้างจิตสาธารณะตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมร่วมกับการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น แบบประเมินความเหมาะสมของโครงร่างหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร แบบวัดจิตสาธารณะและแบบประเมินพฤติกรรมด้านการมีจิตสาธารณะ

        ผลการวิจัยพบว่า

        1. คุณลักษณะด้านจิตสาธารณะสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของหลักสูตรเสริมสร้างจิตสาธารณะตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมร่วมกับการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคมที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 คน เยาวชนดีเด่น จำนวน 6 คน มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านการดูแลรักษา 2) ด้านการบริการ และ 3) ด้านการพัฒนา และแนวทางการเสริมสร้างจิตสาธารณะสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น คือการใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมความพร้อม 2) ขั้นวิเคราะห์วางแผน 3) ขั้นลงมือปฏิบัติ และ 4) ขั้นสะท้อนความคิด

        2. หลักสูตรเสริมสร้างจิตสาธารณะตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมร่วมกับการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ผลการประเมินความเหมาะสม พบว่าหลักสูตรประกอบด้วย 1) หลักการของหลักสูตร 2) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 3) โครงสร้างหลักสูตร 4) คำอธิบายรายวิชา 5) สาระการเรียนรู้ 6) คำอธิบายหน่วยการเรียนรู้ 7) จุดประสงค์การเรียนรู้ 8) กระบวนการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนมีแนวทางในการเลียนแบบจากการสังเกตตัวแบบและนำไปสู่การวางแผนเพื่อดำเนินกิจกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติในสถานการณ์จริงโดยมุ่งเน้นให้เกิดคุณลักษณะด้านจิตสาธารณะ 9) สื่อและแหล่งเรียนรู้ 10) การวัดและประเมินผล และผลการตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร และเอกสารประกอบหลักสูตร โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการทดลองนำร่อง (Pilot Study) พบว่า หลักสูตรมีความเหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้จริง

        3. ผลการทดลองใช้หลักสูตรเสริมสร้างจิตสาธารณะตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมร่วมกับการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า

           3.1 นักเรียนมีคุณลักษณะด้านจิตสาธารณะหลังการใช้หลักสูตร สูงกว่าก่อนการใช้หลักสูตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

           3.2 นักเรียนมีพฤติกรรมการมีจิตสาธารณะหลังการใช้หลักสูตร สูงกว่าก่อนการใช้หลักสูตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ : หลักสูตรเสริม/ ทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม/ การรับใช้สังคม/ คุณลักษณะด้านจิตสาธารณะ

 

Abstract

        The purposes of this research were 1) to study the characteristics of public mind of lower secondary school students learning through the enrichment curriculum following the social cognitive theory and service learning 2) to construct and evaluate the effectiveness of the enrichment curriculum. and 3) to use the enrichment curriculum to 3.1) compare the characteristics of public mind of lower secondary school students before and after learning through the enrichment curriculum and 3.2) study the students’ behaviors before and after learning through the enrichment curriculum. The research was implemented through the 3 – step research process. The cluster random sampling was used to draw 40 Mattayom Suksa1 students at Phichai School, Uttaradit Province enrolling in the academic year 2013 who were used as a target group. The research tools consisted of: 1) the enrichment curriculum to enhance public mind 2) the measurement form of the characteristics of public mind and 3) the self- measurement form on public mind.       

        The results of the study were as follows:

        1. The characteristics of public mind of lower secondary school students comprised 3 aspects: protection of public assets, service mind and improvement by joining the activity.

        2. The enrichment curriculum to enhance public mind consisted of 10 components: 1) rationale 2) goals 3) curriculum structure 4) course description 5) contents 6) description of learning units 7) learning objectives 8) learning activities 9) media and learning resources and10) evaluation. After being used, it was found that the quality of the enrichment curriculum to enhance public mind was at a highest level, while the result of the pilot study revealed that the curriculum was appropriate to be used.

        3. The results of the use of the enrichment curriculum to enhance public mind were That;

           3.1 Students’3 characteristics of public mind were higher at the level of significance of .05

           3.2 Student’s behavior reflecting possession of public mind were better at the level of

significance of .05

Keywords : The Enrichment Curriculum/ To Enhance Public Mind/ Social Cognitive Theory/ Service Learning

Article Details

How to Cite
ไตต่อผล ว., เสวกพันธ์ ภ., แก้วอุไร ว., & วัฒนาธร อ. (2015). หลักสูตรเสริมสร้างจิตสาธารณะตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมร่วมกับการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. Journal of Education and Innovation, 17(2), 1–12. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/33341
Section
Research Articles