การพัฒนากลยุทธ์การจัดการความรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และ 2

Main Article Content

ณัฐกรณ์ สารปรัง
ทวนทอง เชาวกีรติพงศ์
ปาจรีย์ ผลประเสริฐ

Abstract

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร 2) พัฒนากลยุทธ์การจัดการความรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร 3) ประเมินกลยุทธ์การจัดการความรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร วิธีดำเนินการวิจัย มี 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรโดยศึกษาจากกลุ่มประชากรของสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร จำนวน 208 แห่งและ 194 แห่งตามลำดับ รวมทั้งสิ้น 402 แห่ง ได้ใช้แบบสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง 392 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูวิชาการ และการสนทนากลุ่ม 2 กลุ่ม รวมทั้งสิ้น 22 คน 2) การพัฒนากลยุทธ์การจัดการความรู้ของสถานศึกษา ด้วยวิธีการสัมภาษณ์โรงเรียนที่ประสบความสำเร็จ จำนวน 2 โรงเรียน และประชุมเชิงปฏิบัติการ 2 ครั้ง จำนวน 44 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูวิชาการ เพื่อการจัดทำ SWOT Analysis ของสถานศึกษาและจัดทำร่างกลยุทธ์ และให้ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 10 คน ทำการวิพากษ์กลยุทธ์ด้วยวิธีการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาสภาพปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร สรุปผลได้ดังนี้ 1.1) สภาพการจัดการความรู้ของสถานศึกษา พบว่า สถานศึกษามีการวางแผนเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกันการดำเนินการเริ่มจากการกำหนดความรู้และการค้นหาความรู้ที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานสำรวจความรู้ความสามารถของบุคลากร และเปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วมในการกำหนดประเด็นการแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน บูรณาการความรู้เดิมให้เข้ากับความรู้ใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาและบริบทของสถานศึกษาและส่งเสริมให้บุคลากรในสถานศึกษามีการจัดกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง 1.2) ปัญหาการจัดการความรู้ของสถานศึกษาพบว่าสถานศึกษาขาดการสร้างความตระหนักให้กับทุกฝ่ายในสถานศึกษาเห็นความสำคัญของการวางแผน สถานศึกษาขาดการส่งเสริมให้บุคลากรประยุกต์ผลการวิจัยมาใช้ในการพัฒนางาน สถานศึกษาขาดสื่อหลากหลายที่ส่งเสริมให้บุคลากรสร้างความรู้หรือนวัตกรรมใหม่ๆบุคลากรมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความรู้กับสถานศึกษาอื่นน้อย สถานศึกษาขาดการเตรียมทีมผู้ชำนาญการและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง สถานศึกษาขาดการส่งเสริม ให้บุคลากรได้รับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญเพื่อแก้ไขปัญหาในการทำงาน 1.3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ของสถานศึกษา พบว่า ปัจจัยภายในอยู่ในระดับมากทั้ง 6 ด้าน และปัจจัยภายนอก พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก มีเพียงด้านเดียวอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ เทคโนโลยี 2) กลยุทธ์การพัฒนากลยุทธ์การจัดการความรู้ของสถานศึกษาที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นกลยุทธ์ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ 10 กลยุทธ์ 18 ตัวชี้วัด และ 57 แนวดำเนินการ 3) ผลการประเมินกลยุทธ์การจัดการความรู้สถานศึกษา พบว่า กลยุทธ์ส่วนใหญ่มีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในระดับมากและมากที่สุด

คำสำคัญ: กลยุทธ์/ การพัฒนา/ การจัดการความรู้

 

Abstract

        The purposes of the study were 1) to study the status, problems and the relating factors for knowledge management of primary schools under Kamphaeng Phet Primary Educational Service Areas Offices, 2) to develop the strategy for knowledge management of primary schools under Kamphaeng Phet Primary Educational Service Areas Offices, 3) to evaluate the development of knowledge management strategies of primary schools under Kamphaeng Phet Primary Educational Service Areas Offices. This research was conducted by 3 steps; 1) to study the status and problems of knowledge management and the factors from questionnaire which surveyed the opinions from 392 administrators and academy teachers, and 2 groups for focus group discussion from 22 administrators and teachers, 2) to develop strategy by structured interview from 4 administrators and teachers and workshops 2 time from 44 administrators and academy teachers. The connoisseurship from 10 experts using SWOT Analysis method, 3) to assess the development of knowledge management strategies of primary school by 19 experts. The findings revealed that; 1) The status, problems and the relating factors for knowledge management of primary schools under Kamphaeng Phet Primary Educational Service Areas Offices were 1.1) For the status of knowledge management of primary schools under Kamphaeng Phet Primary Educational Service Areas Offices, teachers shared to establish the school vision, the schools explored the wisdom of teachers, schools encouraged teachers to participate in determining the issues in knowledge sharing, teachers integrated prior knowledge to the new knowledge appropriated to context of schools. The continuously joined the activities. 1.2) The problems for development of knowledge management strategy of primary schools under Kamphaeng Phet Primary Educational Service Areas Offices showed that the schools, lack awareness to the importance of planning, the lack of teachers applied research results to develop, schools lacked different sources to promoted teachers to create their knowledge and innovation, teachers lacked opportunity to shared knowledge with other schools. And lack of schools prepared the specialized team of experts. The schools lacked of teachers to gain knowledge and solved problems in performance from the experts. 1.3) The relating factors regarding knowledge management of primary schools under Kamphaeng Phet Primary Educational Service Areas Offices found that the internal factor was at high level in all 6 aspects and the external factor found that most was at high level but there was just one aspect at a middle level which was technology. 2) The improved strategies for development of knowledge management of primary schools under Kamphaeng Phet Primary Educational Service Areas Offices consisted of vision, mission, strategies issues, goal, 10 strategies, 18 standards and 57 measures. 3) The evaluation for development of knowledge management strategies of primary schools under Kamphaeng Phet Primary Educational Service Areas Offices showed that the majority of strategies were considered, appropriateness, passible and benefit at high level.

Key words: Strategy/ Development/ Knowledge Management

Article Details

How to Cite
สารปรัง ณ., เชาวกีรติพงศ์ ท., & ผลประเสริฐ ป. (2015). การพัฒนากลยุทธ์การจัดการความรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และ 2. Journal of Education and Innovation, 17(2), 13–26. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/33342
Section
Research Articles