การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการประเมินผลการเรียนรู้ สำหรับครูประถมศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

Main Article Content

รวงทอง ถาพันธุ์
อังคณา อ่อนธานี
วารีรัตน์ แก้วอุไร
สายฝน วิบูลรังสรรค์

Abstract

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการประเมินผลการเรียนรู้สำหรับครูประถมศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ดำเนินการวิจัยโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสมรรถนะการประเมินผลการเรียนรู้ของครูประถมศึกษา จำนวน 28 คน ขั้นตอนที่ 2 สร้างและตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการประเมินผลการเรียนรู้ ด้วยการมีส่วนร่วมในการสร้างหลักสูตรของผู้วิจัยคณะครู ผู้บริหารโรงเรียน และโดยผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสม จำนวน 5 คน ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการประเมินผลการเรียนรู้ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนระดับประถมศึกษา จำนวน 22 คน ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการประเมินผลการเรียนรู้ ด้วยการสนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหาร ครูวิชาการ และครูผู้เข้ารับการพัฒนา จำนวน 12 คน รวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจสภาพจริง สอบถาม ผู้บริหารและครูผู้เข้ารับการพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ คือ แบบแบบสอบถาม และแบบบันทึกข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที

        ผลการวิจัยพบว่า

        1. ผลการศึกษาสมรรถนะการประเมินผลการเรียนรู้ของครูประถมศึกษา พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายสมรรถนะพบว่า สมรรถนะด้านคุณลักษณะอยู่ในระดับมาก สมรรถนะด้านความรู้ และสมรรถนะด้านทักษะอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งทั้งสองสมรรถนะนี้จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาจึงใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการสร้างและพัฒนาหลักสูตร

        2. ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร พบประเด็นสำคัญๆ ที่ทำให้เกิดความสำเร็จดังนี้ องค์ประกอบหลักสูตร ประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 8 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการและเหตุผลของหลักสูตร 2) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 3) สมรรถนะที่มุ่งเน้นของหลักสูตร 4) โครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตร 5) กระบวนการพัฒนาสมรรถนะ 6) สื่อแหล่งเรียนรู้ในการพัฒนา 7) การวัดผลและประเมินผล 8) คุณสมบัติของผู้พัฒนาและผู้รับการพัฒนา กระบวนการพัฒนาของหลักสูตรมี 5 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมการพัฒนา 2) ขั้นการพัฒนา 3) ขั้นตรวจสอบ 4 ขั้นสะท้อนคิด และ 5) ขั้นการปรับปรุง เนื้อหาโครงสร้างของหลักสูตรประกอบไปด้วย 4 หน่วย ได้แก่ หน่วยที่ 1 วางรากฐานการประเมินผลการเรียนรู้ หน่วยที่ 2 มุ่งสู่การสร้างเครื่องมือวัดและประเมิน หน่วยที่ 3 เพลิดเพลินกับการออกแบบประเมินผล หน่วยที่ 4 ค้นหาข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์แต่ละองค์ประกอบมีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

        3. ผลการทดลองใช้หลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการประเมินผลการเรียนรู้สำหรับครูประถมศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน พบดังนี้

           3.1 ผลการศึกษาสมรรถนะการประเมินผลการเรียนรู้ พบว่า สมรรถนะด้านความรู้การประเมินผลการเรียนรู้ มีผลโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 19.09 คิดเป็นร้อยละ 76.36 คะแนนเฉลี่ยสมรรถนะด้านทักษะการประเมินผลการเรียนรู้ของเท่ากับ 12.75 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 84.98

           3.2 ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะการประเมินผลการเรียนรู้สำหรับครูประถมศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน พบว่า ผู้เข้ารับการพัฒนามีสมรรถนะการประเมินผลการเรียนรู้เท่ากับ 31.92 คิดเป็นร้อยละ 79.79 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 65 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

        4. ผลการประเมินผลด้านความเป็นประโยชน์ของหลักสูตร พบว่าหลักสูตรมีความเป็นประโยชน์ใน 4 ประเด็น คือ การนำไปใช้ประโยชน์ วิธีการของหลักสูตร การยอมรับทางการศึกษา และผลที่เกิดแก่องค์กรและหน่วยงานเป็น

คำสำคัญ: การพัฒนาหลักสูตร/ สมรรถนะการประเมินผลการเรียนรู้/ ครูประถมศึกษา/ แนวคิดโรงเรียนเป็นฐาน

 

Abstract

        The aim of research was to develop school-based training curriculum to enhance learning assessment competency for elementary teachers. This study was conducted through 4 steps of research and development methodology. Step one: Studied the competency of learning assessment by 28 elementary teachers. Step two: Constructing curriculum and verifying curriculum quality by participating of 5 people who were teachers, administrators, and experts, to check its appropriateness. Step three: Implementing the curriculum by the samples who were the elementary teachers, 22 people and it took 30 hours for developing. Step four: Evaluating curriculum was discussed by focus group discussion, 12 people; qualified people, administrators, academic teachers, and developed teachers. The information was gathered by authentic observation and investigated the administrators and the teachers involved in developing. The tools used in this research were a questionnaire and a record. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and t-test.

        The results of the research were as following:

        1. The studying competency for elementary was a moderate level.

        2. The results of constructing and verifying the quality of curriculum were as follow. Curriculum elements which comprises of 8 elements, 1) rationale, 2) the objectives of curriculum, 3) the core competency of curriculum, 4) the content of structure of curriculum, 5) the procedure for competency development, 6) media for learning sources, 7) measurement and assessment, 8) qualifications looks of developed people and developers. The 5 processes of curriculum development 1) preparing, 2) developing, 3) verifying, 4) reflecting and 5) improving. Content structure of curriculum consists of 4 units 1) Fundamental learning assessment 2) Constructing assessment tools 3) Pleasing with assessment designing 4) Searching for useful information. Curriculum quality was appropriate at the highest level.

        3. The result of testing a school-based training curriculum to enhance learning assessment competency for elementary teachers were as following.

           3.1 Knowledge competency was at high level with average score at 19.09 (76.36%) out of 25 and skill competency was at 12.75 (84.98%) out of 15.

           3.2 The result of learning assessment competency comparison for elementary teachers school base found that average score of the participant was at 31.92 (79.79%) out of 40 which was 65% higher than standard at 0.05 level significant.

        4. The result of benefits evaluating of curriculum found that the curriculum can benefits in 4 parts: application, curriculum methods, academic recognition, and the better outcome for the organization and the institution.

Key words: Curriculum Development/ Learning Assessment/ Competency/ Elementary Teacher/ School - based Training Approach

Article Details

How to Cite
ถาพันธุ์ ร., อ่อนธานี อ., แก้วอุไร ว., & วิบูลรังสรรค์ ส. (2015). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการประเมินผลการเรียนรู้ สำหรับครูประถมศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. Journal of Education and Innovation, 17(2), 27–39. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/33343
Section
Research Articles