วิเคราะห์ความขัดแย้งในการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาแรกเข้า

Main Article Content

สุธีรา นิมิตรนิวัฒน์

Abstract

บทคัดย่อ     

        การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความขัดแย้งในการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาแรกเข้า กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จากมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 12 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเป็นหลัก

        ผลการวิจัยพบว่า 1) สาเหตุสำคัญของความขัดแย้งในการทำงานเป็นทีม คือ ลักษณะนิสัยส่วนบุคคล ความคิดเห็นไม่ตรงกัน การบริหารงานของทีมขาดประสิทธิภาพ ขาดการสื่อสารและการมีส่วนร่วม และจำนวนสมาชิกในทีม 2) การเปลี่ยนแปลงของคู่กรณีเมื่อเกิดความขัดแย้ง มี 2 ลักษณะ คือ การเปลี่ยนแปลงที่ตัวนักศึกษา และการเปลี่ยนแปลงของเพื่อนในทีม 3) วิธีการจัดการความขัดแย้งในการทำงานเป็นทีม คือ ขอให้คนกลางช่วยตัดสินปัญหา แบ่งงานเป็นส่วนย่อยรับผิดชอบงานคนละส่วน พูดคุยและวางแผนร่วมกัน การยอมต่อผู้มีอำนาจสูงกว่า การปรับความเข้าใจกับอีกฝ่าย การยึดถือเป้าหมายของงานเป็นหลัก และการยอมให้โดยไม่มีข้อแม้ 4) ผลกระทบภายหลังความขัดแย้ง ด้านอารมณ์ความรู้สึก คือ มีอารมณ์ลบ อยากทำร้ายผู้อื่นทั้งทางร่างกายและวาจา ด้านการเรียนและการทำงาน คือ การคิดหมกมุ่น คำนึงถึงผลประโยชน์ที่ได้รับ บรรยากาศในการเรียนและการทำงานไม่ดี ด้านสัมพันธภาพ คือ ไม่อยากมองหน้าหรือพูดคุยกัน 5) ลักษณะส่วนบุคคลที่กระตุ้นหรือลดความขัดแย้ง คือ ลักษณะนิสัย และบุคลิกภาพและความสามารถ 6) การบริหารความขัดแย้งในการทำงานเป็นทีมของนักศึกษา มี 3 รูปแบบ คือ แบบการร่วมมือร่วมใจ การยอมให้ และแบบประนีประนอม

คำสำคัญ: ความขัดแย้ง/ การทำงานเป็นทีม/ นักศึกษาแรกเข้า

 

Abstract     

        This research was a qualitative research aimed to analyze the conflicts in teamwork of freshmen students. The sample was 12 first year students at a private university in Bangkok. The data were collected using in-depth interview and analyzed using content analysis.                       

        The findings showed that 1) the important causes of the conflicts in teamwork were a personal traits, different opinions, inefficiency management, insufficiency communication and participation, and group size; 2) the changes of two parties after conflict situations were the change of students and team members; 3) the students’ conflict-handling was to use third-party negotiations, divide work for each individual responsibility, discuss and plan together, surrender to higher authorities, negotiate for mutual understanding, commitment to goals, and consent without objection; 4) the effects of conflict on emotions were negative emotions including feelings of physical and verbal abuse, on learning and working were obsessive thinking, concern about own benefits, and unpleasant learning and work atmosphere, and on relationship were no desire to meet and communicate; 5) The personal traits, stimulating or decreasing the conflict situations, were characteristics, personalities and abilities; and 6) the conflict management in teamwork of students were the collaborating, accommodating, and compromising style.

Key words: Conflict/ Teamwork/ Freshmen students

Article Details

How to Cite
นิมิตรนิวัฒน์ ส. (2015). วิเคราะห์ความขัดแย้งในการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาแรกเข้า. Journal of Education and Innovation, 17(2), 52–60. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/33345
Section
Research Articles