รูปแบบการจัดการกีฬากอล์ฟเชิงท่องเที่ยว
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบที่ใช้วิธีผสมผสานในการรวบรวมข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการการจัดการกีฬากอล์ฟเชิงท่องเที่ยว วิธีดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเล่นกีฬากอล์ฟเชิงท่องเที่ยว จากแนวคิดกลยุทธการตลาดสำหรับธุรกิจการบริการ ตามแนวคิดของ Bitner, M. J. and Booms, H. (1981) ดำเนินการสอบถามนักกอล์ฟทั่วประเทศจำนวน 634 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม 5 ตอน จำนวน 95 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) และ 2) การศึกษารูปแบบการจัดการกีฬากอล์ฟเชิงท่องเที่ยว โดยการศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์ ผู้จัดการบริษัทออร์แกไนซ์เซอร์ ผู้จัดการโรงแรม รีสอร์ท และที่พัก ผู้จัดการสนามกอล์ฟ และผู้จัดการบริษัททัวร์กอล์ฟ จำนวน 12 คน ตามกรอบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และนำมาวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วสรุปเป็นรูปแบบการจัดการกีฬากอล์ฟเชิงท่องเที่ยว
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเล่นกีฬากอล์ฟเชิงท่องเที่ยว พบว่า
ตัวแปรพยากรณ์ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเล่นกีฬากอล์ฟเชิงท่องเที่ยวมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านราคา
2. รูปแบบจัดการกีฬากอล์ฟเชิงท่องเที่ยวมีอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการกีฬากอล์ฟเชิงท่องเทียวแบบเน้นการท่องเที่ยว พบว่า ผู้จัดงานเป็นบริษัทเอกชนร่วมกับผู้จัดร่วมจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จุดมุ่งหมายเพื่อการกระตุ้นการท่องเที่ยวในรูปแบบต่างๆ กลุ่มเป้าหมายคือบุคคลทั่วไปและผู้สนใจในการท่องเที่ยว วิธีการจัดการดำเนินการโดยผู้จัดงานเป็นผู้เช่าพื้นที่ในการจัดงานใช้ชื่อว่า "ไทยเที่ยวไทย" จะจัดขึ้นปีละ 4 ครั้ง เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ ราคา และการจัดโปรโมชั่น ผลที่ได้รับคือผลตอบแทนจากธุรกิจการท่องเที่ยวในรูปแบบต่างๆ และความพึงพอใจจากบุคคลทั่วไปและผู้สนใจในการท่องเที่ยว 2) รูปแบบการจัดการกีฬากอล์ฟเชิงท่องเที่ยวแบบเน้นกีฬากอล์ฟ พบว่า ผู้จัดงานเป็นบริษัทเอกชนหรือออร์แกไนซ์เซอร์ที่จัดกิจกรรมการแข่งขันกอล์ฟแบบทัวร์นาเมนต์ร่วมกับผู้จัดร่วมจากบริษัทสื่อสิ่งพิมพ์ทางกีฬาหรือโทรทัศน์ช่องกีฬา และบริษัทที่ให้การสนับสนุนหรือสปอนเซอร์อีกหลายบริษัท จุดมุ่งหมายเพื่อผลตอบแทนทางธุรกิจกีฬากอล์ฟ กลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มนักกอล์ฟสมัครเล่น วิธีการจัดการดำเนินการโดยผู้จัดงานจัดการแข่งขันในลักษณะใกล้เคียงกับการแข่งขันของนักกอล์ฟอาชีพ ผลที่ได้รับคือผลตอบแทนทางธุรกิจที่มีผลการต่อการใช้สินค้าของสปอนเซอร์ และความพึงพอใจจากนักกอล์ฟสมัครเล่น
คำสำคัญ: การจัดการกีฬา/ กีฬากอล์ฟเชิงท่องเที่ยว
Abstract
This study is a combination between qualitative and qualitative research. Its major aim was to develop golf management in sports tourism. Research methodology consisted of two main steps, 1) an investigation in marketing mix factors which had an impact on the golf players’ decision in sports tourism, based on Bitner, M.J. and Booms, H. (1981)’s the strategic concepts for service business. Consisting of 5 parts and 95 question, questionnaires were distributed to 634 golf players across the country. Then, the data was analyzed by Multiple Regression Analysis, 2) an investigation into the conditions of golf management and tourism management. It was done by interviews and literature research. The focus was placed on organizer’s managers, hotel and resort managers, golf club managers, and 12 golf tour company managers. The researcher analyzed marketing mix factors, content analysis, and then summarized the sport management model for golf tourism.
The results of the research were as follows:
1. Three marketing mix factors that had a significant impact on golf player’s decision in sports tourism were products, marketing supports, and the price.
2. It was found that there were two types of golf management and tourism management. 1) Model of sports tourism management with the tourism emphasis. The private organizers and Tourism Authority of Thailand (TAT) held tournaments together. The main objective was to motivate all types of tourism. Their target group was people interested in golf and the general public. Their management was to have private organizers rent the areas to hold the fair or tournament under the name of “Thai people always travel in Thailand”. They held this fair 4 times a year and sold their products and gave related coupons to the products and services. The outcomes were not only the business benefits in different types of tourism business, but also customer’s satisfaction. 2) Model of golf management for tourism with golf sport emphasis. Private organizers held the fairs or tournaments with print media companies, TV channels, or other private companies. The objective was for golf business benefits. Their target group was golf amateur. Their tournament management was very similar to that of professional tournaments. The outcomes were the business benefits in different types of tourism business, and golf amateurs’ satisfaction.
Key words: Sport Management/ Golf Tourism
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.